อ่วม 'รถไฟไทย-จีน' งานโยธาช่วงลำตะคองเจอปัญหาอีกส่อล่าช้า-เพิ่มงบก่อสร้าง

อ่วมรถไฟไทย-จีน งานโยธาเจอปัญหาอีก สัญญา 3-3 สร้างยกระดับกลางอ่างลำตะคองยาว ระยะทาง 6 กม. ฉุดงานล่าช้า 4% รฟท.เร่งหารือทางออกปรับแบบ หรือสร้างแนวเดิมแต่เพิ่มงบก่อสร้า

1 พ.ย. 2564 แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญา 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง รวม 26.10 กิโลเมตร(กม.) วงเงินประมาณ 9,838 ล้านบาทซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟ ลักษณะเป็นเป็นคันทางระดับดิน 1.15 กม. และโครงสร้างทางยกระดับ 24.95 กม. ช่วงนี้มีสถานีรถไฟความเร็วสูงปากช่องแห่งใหม่ และไฮไลท์คือทางรถไฟยกระดับบนอ่างลำตะคองยาว ระยะทาง 6 กม. ปัจจุบันสัญญาดังกล่าวมีความล่าช้ากว่าแผนงานประมาณ 4%

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สัญญา 3-3 ตัวแบบแนวก่อสร้างจะผ่านกลางลำตะคอง ระยะทาง 6 กม.แม้ว่าจะใช้เวลาและเทคนิคก่อสร้างแบบพิเศษนั้น แต่จะมีการหารือกันอีกครั้งหากมีการเปลี่ยนแนวเส้นทาง ซึ่งจะต้องมีการออกแบบและเวนคืนใหม่ หรืออาจจะมีการเพิ่มงบประมาณในการดำเนินงาน โดยปัญหาดังกล่าวคาดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการหารือกันภายในเดือนนี้”แหล่งข่าวกล่าว

“ขณะที่ช่วงบริเวณที่มีการก่อสร้างยังติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่การรื้อย้ายสาธารณูปโภค  รวมถึงปัญหาเรื่องเขตป่าไม้ทำให้เกิดความล่าช้ากว่าแผน ส่วนกรณีผู้บุกรุกการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะลงพื้นที่ในสัปดาห์นี้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้เสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ เนื่องจากโครงการล่าช้าแล้ว 4% หากยังปล่อยไว้ก็จะทำให้เกิดความล่าช้ามากกว่านี้ โดยขณะนี้ รฟท. ได้ส่งเรื่อง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ไปยังสำนักงบประมาณแล้ว หากได้รับการพิจารณาแล้วหลังจากนั้นจะเสนอไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้ ครม.เห็นชอบในการออก พ.ร.ฎ.เวนคืนต่อไป”แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับความคืบหน้าสัญญา 4-7  ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทางประมาณ 13กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท โดยมี บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ก่อสร้าง ลักษณะเป็นทางยกระดับทั้งหมด ในสัญญานี้มีสถานีรถไฟความเร็วสูงสระบุรี งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้าด้วย มีความคืบหน้า 4.84% เร็วกว่าแผนงาน เนื่องจากขณะนี้ผู้รับเหมาสามารถเข้าพื้นที่ได้และเริ่มเคลียร์ระบบสาธารณูปโภคเพื่อเริ่มวางฐานรากแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่าส่วนหนึ่งที่เกิดจากความล่าช้าของสัญญา เนื่องจากผู้รับเหมาได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ก่อนหน้านี้สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ ความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างอยู่ที่ 74.03 % โดยได้มีการขยายสัญญา ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ พ.ค.2565 โดยสัญญาดังกล่าวรวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุงทางโคกสะอาด ซึ่งได้มีก่อสร้างเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเบาและอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ โดยงานอาคารมีความก้าวหน้ากว่า 73%

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เต้ ทวิวงศ์' โร่เคลียร์ดรามา! ค้านรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

'เต้ ทวิวงศ์' โต้ดรามาค้าน 'รถไฟความเร็วสูง' ผ่านอยุธยา ยันบริสุทธิ์ใจ ขออย่ามัดมือชกชาวบ้าน บี้ 'สุริยะ-สุรพงษ์' แจง 5 ข้อ ลั่นโดนถอดพ้นมรดกโลกใครรับผิดชอบ

'สุริยะ' ไล่บี้ผู้รับเหมาติดสปีด 'ถนนเจ็ดชั่วโคตร' ลุยตรวจเอง 4 มี.ค.

‘สุริยะ’ เรียกผู้รับเหมาเร่ง 'ถนนพระราม 2' ขู่ลงโทษสูงสุดไม่ให้ประมูลงาน ขืนล่าช้าเกินกำหนดปี 68 ลงพื้นที่ตรวจเอง 4 มี.ค.นี้

'จุลพันธ์' รับ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ล่าช้า ไม่ทันเดือน พ.ค. แน่นอน

“จุลพันธ์” ยืนยันเดินหน้าแจกประชาชนหัวละหมื่นบาทตามเดิม แจงเตรียมความพร้อมตอบคำถาม ป.ป.ช. เต็มสูบ รับโครงการดีเลย์กระทบแรงส่งเศรษฐกิจโตแผ่ว ระบุรัฐบาลมีอำนาจเต็มฟันธงเศรษฐกิจ “วิกฤต” หลังพบหนี้ครัวเรือน-หนี้ประชาชน-หนี้เอกชนบวมเป่ง

'จุฬา' เร่งเครื่องอีอีซีเข็นไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินตอกเสาเข็ม ม.ค.67

“บอร์ดเร่งรัดลงทุน อีอีซี” ไฟเขียวจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มนักลงทุนสัมพันธ์เชื่อมร่วมมือ “บีโอไอ-กนอ.” ดึงลงทุนเข้าประเทศ พร้อมอัปเดต 4 โปรเจกต์หลัก เร่งเคลียร์ส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน ลุ้นอัยการตีความบัตรส่งเสริมการลงทุน คาดเริ่มสร้างปีหน้า เสร็จตามแผนในปี 71 ส่วน “เมืองการบิน-แหลมฉบังเฟส 3-ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด” เปิดใช้ปี 70

รฟท. จ่อลงนามไฮสปีด ไทย-จีน สัญญา 4-5 ยันเปิดใช้ปี 71

“การรถไฟฯ” เล็งลงนามไฮสปีดไทย-จีน สัญญา 4-5 งานโยธา “บ้านโพ-พระแก้ว” มูลค่า 1.03 หมื่นล้านภายในเดือนนี้ ส่วนสัญญา 4-1 พื้นที่ทับซ้อนเชื่อมสามสนามบิน เร่งถกเอกชน ปูแนวทาง รฟท. ลงทุนสร้างเอง คาดสรุปจบสิ้นปีนี้ ยันเปิดใช้ไฮสปีดเส้นแรกของไทยตามแผนในปี 71

สบพ.เร่งศึกษาศูนย์ฝึกอบรบการบินอู่ตะเภา

“ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินฯ” อู่ตะเภา ดีเลย์ไปอีก 2 ปี เตรียมชงบอร์ด สบพ. เคาะงบ 40 ล้าน ลุยออกแบบรายละเอียด คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.ปีหน้า หั่นวงเงินโครงการฯ เหลือ 1,200 ล้าน ลดขนาดพื้นที่เหลือ 50 ไร่ พร้อมเปิดการเรียนการสอนปี 72 ปั้นช่างซ่อมเครื่องบิน-บุคลากรด้านการบินมาตรฐานเอียซ่า