
23 พ.ค.2566 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาส 4/2565 มูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% ขยายตัวในอัตราชะลอลง ไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 4 %หนี้ครัวเรือนมีสัดส่วน 86.9 %ของจีดีพี สินเชื่อยานยนต์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษ เพราะได้เพิ่มขึ้นจาก 13.1 %ไตรมาส 2/2565เพิ่มเป็น 13.6 %ในไตรมาส 3 เพิ่มเป็น 13.7 %ในปี 2565
“ปัญหาหนี้เสีย (NPL) จากปัญหาโควิด-19 นับว่ายังทรงตัว โดยสินเชื่อบุคคลคลยังสูง7.6 %สินเชื่ออยู่อาศัย 4.6 %ประชาชนยังเป็นหนี้บัตรเครดิตระดับสูง จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจฉุดรั้งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จึงต้องเร่งแก้ปัญหาจากทุกหน่วยงาน เพราะหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ อาจเป็นระเบิดเวลาของสังคมไทย หากพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก นับว่ายากต่อการทำให้ลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ประชาชนต้องลด ละ เลิก การใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก่อนสร้างภาระหนี้ใหม่”นายดนุชา กล่าว
ทั้งนี้หากเข้าไปดูหนี้เสียตามรายวัตถุประสงค์ จะเห็นว่าหนี้บัตรเครดิตนั้น ลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียขยายตัวขึ้นมา ขณะที่ช่วงอายุอื่น ๆ ปรับตัวลดลงมากขณะที่สินเชื่อบุคคล ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีเอ็นพีแอลขยายตัวค่อนข้างสูง และ หนี้เสียต่อบัญชีประมาณ 77,000 บาท วนสินเชื่อยานยนต์ หนี้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี หรือวัยทำงาน มีปัญหาการชำระ มูลค่าหนี้เสียสัดส่วน 59.2% เทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งต้องมาช่วยกันดู เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นกำลังแรงงาน พยายามสร้างเนื้อสร้างตัว ซึ่งต้องให้ความรู้ทางการเงินและสร้างความตระหนักในการก่อหนี้
“ประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดนัดชำระ โดยเฉพาะสถาบันการเงินคงต้องช่วยกัน ถ้าลูกหนี้เริ่มมีสัญญาณ เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ ก็ต้องเข้ามาช่วยกันปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วขึ้น ส่วนที่เป็นหนี้เสียอยู่แล้วก็คงต้องมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นมาตรการทั่วไป”นายดนุชา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สศช. เผยจ้างงานขยายตัว 2.4% จับตาหนี้สินเชื่อยานยนต์พุ่ง
‘สภาพัฒน์’ เผยไตรมาส1/66 จ้างงานขยายตัว 2.4% รับท่องเที่ยวขยายตัว รับห่วงหนี้สิ้นครัวเรือน สั่งจับตาหนี้สินเชื่อยานยนต์ยังพุ่งไม่หยุด ลุยปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระ พร้อมเปิดข้อมูลสาย ‘มูเตลู’มาแรง หนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว
‘สภาพัฒน์‘ แนะรัฐบาลใหม่เร่งแก้ส่งออก-ปากท้อง โชว์จีดีพีไตรมาสแรกโต 2.7%
‘สภาพัฒน์' เผยจีดีพีไตรมาส1/66 ขยายตัว 2.7% คาดทั้งปีเศรษฐกิจโต 2.7% - 3.7% หลังเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดีขึ้น แนะรัฐบาลใหม่เร่งแก้ปัญหาการส่งออกและปากท้องประชาชน
SAM ปรับเงื่อนไขใหม่ ชวนคนที่มีหนี้เสียค้างเกิน 120 วัน เข้าร่วมคลินิกแก้หนี้
“คลินิกแก้หนี้ by SAM” ปรับเงื่อนไขใหม่ ช่วยคนเป็นหนี้เสียค้างชำระเกิน 120 วัน เข้าร่วมโครงการได้ หวังช่วยลดภาระหนี้ให้ประชาชน พร้อม 3 ทางเลือกผ่อนชำระหนี้ตามความสามารถ ดอกเบี้ยต่ำ 3-5% และผ่อนนานสูงสุดถึง 10 ปี
เริ่มวันแรก! ปรับเกณฑ์คลินิกแก้หนี้ เช็กเงื่อนไขได้เลย
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือประชาชนแก้ไขปัญหาหนี้สิน
ปชป. เปิดนโยบาย 'กระตุ้นเศรษฐกิจ' ล็อตใหม่
ปชป. ชูนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่เพิ่มหนี้สาธารณะ ขยายฐานภาษีให้ใหญ่ขึ้น เพิ่มสวัสดิการช่วยกลุ่มฐานราก เปิดทาง SME แสนรายเข้าตลาดหุ้น ตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แก้หนี้เสียเกษตรกร
หนี้ครัวเรือน - หนี้ที่ท้าทายให้ติดตาม
เป็นที่น่ายินดีรัฐบาลได้ นำเสนอกฎหมาย พระราชบัญญัติ.กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ( กยศ ) (ฉบับที่ 2 ) ผ่านรัฐสภาเป็นที่เรียบร้อยโดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 สาระสำคัญคือการคิดดอกเบี้ยผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษาใน อัตราเพียงไม่เกินร้อยละ 1 กรณีผิดนัดให้คิด เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ไม่เกินร้อยละ 0.5 (จากเดิมร้อยละ 7.5 ) ที่สำคัญอย่างยิ่ง ไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน