
ศปก.พล.แจ้งจับผู้ครอบครองที่ดินที่ทิ้งกากของเสีย จ.ฉะเชิงเทรา ลั่นนอกจากเอาผิดอาญา ต้องรับผิดชอบขจัดมลพิษให้คืนสภาพเดิมด้วย
7 ธ.ค.2564 – นายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (ศปก.พล.) กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ได้มาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรสนามชัยเขต เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้ครอบครองที่ดินเขตพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (สปก.) ซึ่งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 6 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ฐานปล่อยให้มีกากของเสียอยู่ในพื้นที่ที่ครอบครอง โดยกากของเสียดังกล่าว เข้าข่ายเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งการมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามนัยมาตรา 23 ประกอบกับมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัตวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ ที่ดินแปลงดังกล่าว (ระวาง 5336 8016 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้จัดให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์
นายพิทยา กล่าวว่า นอกจากผู้ครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวจะมีความผิดในทางอาญาแล้ว ยังมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในการขจัดมลพิษในพื้นที่ดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมอีกด้วย ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 96 และมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

กรณีการลักลอบทิ้งกากของเสียในเขตพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา (สปก.) นั้น นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้ตรวจสอบอย่างเร่งด่วน และจากการตรวจสอบของ คพ. โดยศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม (ศปก.พล.) ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ พบว่า ของเสียดังกล่าวมีลักษณะเป็นน้ำเสียและน้ำมันใช้แล้ว มีกลิ่นสารเคมีรุนแรง มีน้ำเสียรั่วซึมออกลงสู่ร่องน้ำเข้าสู่สวนปาล์มใกล้เคียง
ในเบื้องต้นจากการตรวจวัดการปนเปื้อนของโลหะหนักในตัวอย่างกากของเสียด้วยเครื่องวิเคราะห์โลหะหนักแบบพกพา XRF (X-Ray Fluorescence) ตรวจพบทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และปรอท (Hg) ในระดับสูงกว่าปริมาณความเข้มข้นที่กำหนดขององค์ประกอบสิ่งเจือปน (ค่า Total Threshold Limit Concentration (TTLC) นอกจากนี้ กากของเสียที่มีการลักลอบทิ้งในบ่อดินดังกล่าวอาจเป็นกากของเสียผสมจากหลายแหล่งที่มา เนื่องจากมีการตรวจพบไอระเหยสารอินทรีย์ (VOCs) ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถอดบทเรียนแก้ PM2.5 เอลนีโยเพิ่มฝุ่นปี 67
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ปี 2567 มีนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคาดว่า คนในพื้นที่กรุงเทพฯ และพื้นที่ภาคเหนือของไทย จะเผชิญสภาพอากาศเลวร้าย มีหมอกควันฝุ่นพิษปกคลุมรุนแรงมากขึ้น ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะทำให้ฝนน้อย
‘อ่าวลันตา’ผลักดันแก้มลพิษไมโครพลาสติก
ไทยเป็นประเทศที่มีขยะรั่วไหลลงทะเลติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ปัจจุบันขยะทะเลที่ตกค้างในระบบนิเวศป็นประเด็นที่ถูกให้ความสำคัญมาก รัฐบาลกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ขณะที่ ครม. ไฟเขียวแผนปฏิบัติการภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล พ.ศ. 2564 – 2568
นับถอยหลังค่าเฉลี่ยใหม่ PM 2.5 คุมฝุ่นพิษ
ช่วงสองเดือนมานี้หลายคนเจ็บป่วยด้วยอาการภูมิแพ้กำเริบ อักเสบบวมในช่องจมูก น้ำมูกไหลมากกว่าปกติ เพราะมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่หายใจเข้าไปในวันที่สภาพอากาศย่ำแย่ เมืองห่มคลุมด้วยหมอกควันและมลพิษอากาศ ปัญหาฝุ่นพิษบั่นทอนสุขภาพคนไทยเป็นประจำทุกปี
แยกขยะพิษจากชุมชน ลดวิกฤตสิ่งแวดล้อม
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตามบ้านเรือนจะมีถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่หมดอายุ โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ตที่ไม่ใช้แล้ว ถูกทิ้งเป็น”ขยะอันตราย” ในบ้าน ไม่นำไปทิ้งจุดทิ้งของเสียอันตราย บางบ้านนำขยะอันตรายทิ้งปะปนกับมูลฝอยทั่วไป เกิดการรั่วไหลของสารพิษส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำร้ายสุขภาพของผู้คน
คลีนิครถ ลดฝุ่น PM2.5 แก้ควันดำ
16 ธ.ค.2565 - นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการ “คลินิกรถ ลดฝุ่น PM2.5” ปี 2566 กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้มีสภาพอากาศปิดและเพดานการลอยตัวอากาศมีแนวโน้มลดต่ำลง ทำให้การกระจายตัวของฝุ่นละอองไม่ดี โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองที่มีการจราจรหนาแน่น
เติมเต็ม’ซาเล้ง’ หวังช่วยลดขยะเมือง
ในเมืองใหญ่มีซาเล้งขับตามตรอกซอกซอยเก็บเศษขยะที่กระจัดกระจายและร้านรับซื้อของเก่าตั้งอยู่ให้เห็นจนชินตา ซึ่งมีความสำคัญต่อการนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ตอกย้ำข้อเท็จจริงว่า ขยะเป็นทอง อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า เหล่าซาเล้งยังมีความรู้ในการคัดแยกขยะแต่ละประเภทไม่เพียงพอ รวมถึงการทำงานที่ไม่เหมาะสม ขาดความระวังต่อวัตถุอันตรายที่ทำให้