ความโหดร้ายรุนแรงที่เราและสังคมต้องร่วมกันขจัด!

เมื่อ 2-3 วันก่อนได้ติดตามการถ่ายทอดงานพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้เสียชีวิต จากเหตุเศร้าสลดที่ศูนย์เด็กเล็กอุทัยสวรรค์ จังหวัดหนองบัวลำภู บทเรียนร่วมของสังคมไทยที่สร้างความทุกข์โศก-เศร้าสลดจนโด่งดังไปทั่วโลก! กรณีนี้คงปล่อยผ่านเลย-เพิกเฉยไม่ได้ น่าจะต้องสร้างมุมมอง-สร้างความเข้าใจ-ร่วมกัน เพื่อให้เหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาเช่นนี้หมดไปจากสังคม อย่าให้มันเกิดซ้ำอีก!

คนแต่ละคน : มีตัวตนดำรงอยู่ในสังคมเช่นไร? อย่างไร? คือคำถามสำคัญที่จะไขความลี้ลับและแรงขับเคลื่อนที่ส่งผลให้คนแต่ละคนขับเคลื่อนตัวเองหรือกระทำการใดๆ ในสังคมที่ล้อมรอบตัวอยู่! ปมออดิปัส-จิตวิเคราะห์ของ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ชี้ว่าปมนี้ก่อรูปความคิด-ตัวตนมาตั้งแต่วัยเยาว์ ฟอร์มตัวตนเองและปฏิสัมพันธ์กับโลกแวดล้อม-สร้างความเข้าใจโลกแวดล้อมรอบตัว หมายถึงคนแต่ละคนมีพฤติกรรมเช่นไรก็จะโยงกับการได้รับการเลี้ยงดูมาแต่เยาว์วัยด้วย จากนั้นก็เคลื่อนเข้าสู่การศึกษา จนเข้าสู่การหล่อหลอมกล่อมเกลาจากการทำงาน-การอยู่ร่วมในสังคม ซึ่งปฏิสัมพันธ์ที่สร้างการเติบโต-เปลี่ยนแปลงของแต่ละคน จะมีผลต่อตัวเองและสังคมรอบข้างอย่างมีนัยสำคัญ!

ที่สำคัญคือ ต้องไม่คิดว่ามนุษย์เก่งหรือยิ่งใหญ่ได้ด้วยตัวเพียงตัวคนเดียวแต่ลำพัง! มนุษย์แต่ละคนดำรงอยู่อย่างมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมรอบข้างหลากหลายสถานะ โดยทั่วไป-ไม่เป็นเหยื่อ-ก็เป็นผู้ล่าที่แต่ละคนวนอยู่ในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละปฏิสัมพันธ์ที่มีกับเหตุการณ์หรือสังคมในแต่ละช่วงของการกระทำการนั้นๆ! 

การสร้างโศกนาฏกรรมที่รุนแรงเลวร้ายนั้น ในทางจิตวิเคราะห์มองว่ามาจากสมมติฐานเรื่อง ความคับข้องใจ ที่เป็นเชื้อลุกลามสู่ความก้าวร้าว ซึ่งความคับข้องใจจะถูกนำมาระบายกับเป้าหมายเพื่อปลดปล่อยความคับข้องใจ รวมถึงความขาดแคลนทางสังคมเศรษฐกิจ ที่เชื่อมโยงกับความขัดแย้งที่ตนเองมีต่อสังคม-หรือได้รับปฏิกิริยาจากสังคมในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้คนผู้นั้นๆ ระบายความคับข้องใจใส่บุคคลอื่นๆ ด้วยความโกรธแค้น-ความเก็บกด! ซึ่งการสั่งสมความรู้สึกดังกล่าวเป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิบัติการต่างๆ ขึ้นมา!

ความรู้สึกที่ไม่ปกติหรือสภาพเบี่ยงเบนทางจิตใจ-ทางความรู้สึกนึกคิดที่เกิดจากการเหนี่ยวนำสร้างการรับรู้ทางสังคมที่ผิดพลาดแตกต่าง-นำสู่การแสดงพฤติกรรมเชิงลบนั้น จะสั่งสมสร้าง “ความรู้คิด” ที่เอนเอียงผิดพลาดมาเรื่อยๆ เป็นแรงขับของเจตคติและอคติที่เอื้อต่อการสร้างความก้าวร้าวของคนบางคนที่จะสร้างปฏิกิริยาต่อสังคม! ซึ่งจะทำให้เกิดทั้งผลลัพธ์ที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนาขึ้นได้! ดังนั้นการช่วยสังเกตดูแลคนรอบตัวไม่ให้มีสภาพเบี่ยงเบนทางความรู้สึกนึกคิดและการกระทำ จึงเป็นเรื่องที่สังคมต้องช่วยดูแลเอาใจใส่ ร่วมกันระมัดระวัง! การดำรงอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม-หมู่คณะ-หมู่บ้าน-หรือเพื่อนร่วมอาชีพ จำเป็นต้องช่วยสร้างเจตคติที่มีศักยภาพในการเข้าใจโลกแวดล้อมและตัวตนแบบที่ไม่เบี่ยงเบน!

มิติของสิ่งแวดล้อมในการทำงานอาชีพ เป็นปัจจัยที่มีผลมีอิทธิพลต่อผู้คนอย่างมาก มันจะเลื่อนไหลไปตามปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน เช่น ถ้าเป็นคนในระบบราชการ ก็จะเต็มไปด้วยกติกา-ระเบียบที่ไม่ค่อยจะเหลือความอิสระ-ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ยิ่งหากหัวหน้าหน่วยงานเป็นพวกตาดูดาว-เท้าไม่ติดดิน-ขาลอย-ฟังแต่คนใกล้ชิด-เอาตัวเองเป็นหลัก รับรองระยะยาวไปไม่รอดแน่! หลายหน่วยงานถึงกำหนดวาระการบริหารงานไว้-ไม่ให้ผู้บริหารรากงอก! ส่วนหากเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง-ก็จะมีการโยกย้ายถ่ายโอน-ปรับช่วงเวลาการบริหาร-โดยหลักการยึดความสามารถ+หลักอาวุโส (แต่ในความจริงมักยึดพวกพ้อง-ผลประโยชน์-ความเลวร้ายจึงปรากฏสู่สังคมในหลายรูปแบบ!) อย่างไรก็ตาม การปรับเจตคติต่อคนทุกคนในหน่วยงานด้วยวิธีใดก็ตามเป็นเรื่องสำคัญ-ต้องปรับกันทุกมิติเพื่อการอยู่ร่วม-การทำงานร่วมกัน ทั้งจากบนลงล่าง-จากล่างขึ้นบน-และการปรับสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันในแนวราบ ปรับจากการใช้อำนาจตามตำแหน่งหน้าที่-สู่การสร้างองค์กรที่มีความรู้-ความเข้าใจ-ความร่วมมือเพื่อก้าวสู่เป้าหมายของงาน นี่คือความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการทำงานที่สำคัญและมีความหมายยิ่ง

ในทางจิตวิทยานั้น คนแต่ละคนมีการหล่อหลอมกล่อมเกลาก่อความคิด-ความเป็นตัวตนจากการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกแวดล้อม จนเกิดความเข้าใจตัวตนและโลกแวดล้อมรอบตัว หากสังคมการทำงานมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนต่อภาระหน้าที่-ความรับผิดชอบ-เป้าหมายได้ ก็จะส่งผลให้ทุกคนเข้าใจและรับความแตกต่างในความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานได้ ซึ่งจะลดความก้าวร้าวรุนแรงลงได้ หรืออย่างน้อยก็ช่วยให้มีการประนีประนอม-มีความร่วมมือได้ไม่ยาก

การส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบุคคลและกลุ่มในการงาน-อาชีพ เป็นพลังสำคัญที่ส่งสร้างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์-เป็นพลังบวกในการทำงาน การสร้างปฏิสัมพันธ์ของบุคคล-กลุ่ม-สังคมโดยรวมได้ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในภาระความรับผิดชอบในงานของแต่ละคน-แต่ละฝ่าย! การเคลื่อนไหวอยู่บนฐานคิดของความเอื้อเฟื้อ-เอื้ออาทร-การให้และการรับที่มีเหตุผลเป็นปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหมุดหมายและตัวช่วยสำคัญในการทำให้บุคคลและกลุ่มบรรลุความสำเร็จในการงาน-การดำรงชีวิต-และลดความรุนแรงในสังคมลงได้ เราต้องร่วมช่วยกันลดความรุนแรงทุกมิติลงด้วย!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต

บนเส้นทางมหาปรินิพพาน “มัชฌิมาปฏิปทา สู่ อัปปมาทธรรม”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา.. บนเส้นทางมหาปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมสมัย มีปรากฏร่องรอยธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

มาฆบูชาโลก ณ เวฬุวันมหาวิหาร ชมพูทวีป (พ.ศ.๒๕๖๗)

เจริญพรศรัทธาสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาระหว่าง ๒๒-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปประกอบศาสนกิจอันสำคัญยิ่งในชมพูทวีป บนแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา เนื่องใน วันมาฆบูชาโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็น “วันมาฆบูชาปูรณมี”

“มายาสาไถย..” ..ในสังคมปัจจุบัน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีประโยชน์ ๓ ระดับ ได้แก่