สงครามป่วน “เศรษฐกิจ”

สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังคงดำเนินต่อไป ปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ และหลายฝ่ายต่างจับตาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยที่เห็นได้ชัดเจนก็เป็นเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 “ภาคการส่งออก” ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายฝ่ายต่างจับตามอง เนื่องจากที่ผ่านมาภาคการส่งออกเริ่มมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และกลับมามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย หลังแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้หลายฝ่ายต่างจับตาและแสดงความเป็นห่วงว่าสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศจะส่งผลกระทบกับภาคการส่งออกอย่างไร

 “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์” ได้ประเมินภาพรวมการส่งออกของไทยว่า จะเริ่มเห็นผลกระทบจากปัญหาสงครามในยูเครนในเดือน มี.ค.-เม.ย.2565 โดยเฉพาะการส่งออกไปยุโรป ขณะที่การส่งออกในเดือน ก.พ.2565 นั้นยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามในยูเครน โดยยังขยายตัวได้ราว 16.2% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 8% ขณะที่การนำเข้าสินค้า ขยายตัว 16.8% ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า

 “การส่งออกในเดือน ก.พ.2565 ที่ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามในยูเครนนั้น เนื่องจากสงครามเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายเดือน ก.พ. โดยการส่งออกในเดือนดังกล่าวยังมีทิศทางการขยายตัว หากพิจารณาเทียบกับเดือน ม.ค. (ปรับผลของฤดูกาล) การส่งออกจะขยายตัวที่ 4.4% สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกของประเทศสำคัญหลายประเทศทั่วโลก และดัชนีชี้นำกิจกรรมการผลิตทั้ง Global Manufacturing PMI-Export Orders และ Manufacturing PMI ที่กลับมาเร่งตัวได้อีกครั้งในเดือน ก.พ. หลังจากชะลอตัวลงจากผลกระทบของโอมิครอนในเดือน ม.ค.”

ขณะที่ “ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด” มองว่า วิกฤตรัสเซีย-ยูเครนจะส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยใน 3 ด้านสำคัญ คือ อำนาจการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ลดลง, การส่งออกลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ซึมลง และการชะลอตัวด้านการท่องเที่ยว

 “เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ประเมินว่า ปัจจัยรัสเซีย-ยูเครนกระทบต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นมูลค่าราว 8 หมื่นล้านบาท โดยผลกระทบส่วนใหญ่ตกอยู่กับภาคธุรกิจ ซึ่งจะถูกกระทบแตกต่างกันไปตามสัดส่วนการใช้วัตถุดิบและความสามารถในการปรับตัว ขณะที่ผลกระทบบางส่วนก็จะตกอยู่กับ “ผู้บริโภค” ด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบผ่านการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซีย-ยุโรป แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยในปีนี้อาจแตะ 4 ล้านคน แต่การใช้จ่ายจะลดลงราว 5 หมื่นล้านบาทจากกรณีที่ไม่มีสงคราม

ส่วนภาคเอกชนเองต่างก็กังวลเกี่ยวกับผลกระทบของปัญหาสงครามรัสเซียและยูเครน โดย “พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย” ระบุว่า ผลกระทบทางตรงจากปัญหาสงครามดังกล่าวที่มีต่อไทยที่น่าห่วงคือ สถานการณ์ที่ไม่นิ่ง และความสับสนในเรื่องของห่วงโซ่การผลิตและการขนส่ง เพราะมีสินค้าทุนบางรายการที่ 2 ประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่

ขณะที่การส่งออกอาจจะชะงัก เช่น ปุ๋ย ทำให้เกิดภาวะขาดแคลน อีกทั้งยังมีการปิดท่าเรือบางแห่งของยูเครน และต้องการเปลี่ยนท่าเรือขนส่งสินค้า ซึ่งทำให้ห่วงโซ่การผลิตสินค้า การขนส่งปั่นป่วน ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก ส่วนสถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีสงคราม แต่เกิดมาระยะหนึ่งแล้ว เพียงแค่สงครามเร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้กำลังซื้อประชาชนทั่วโลกลด เพราะสินค้าราคาแพงขึ้นแต่รายได้เพิ่มตามไม่ทัน ซึ่งท้ายที่สุดปัญหานี้ก็อาจกระทบต่อ “การส่งออก” ได้

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาภาพรวมเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทยเริ่มมีทิศทางการฟื้นตัวที่ดีขึ้น หลังจากถูกกดดันอย่างหนักจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 มาเป็นเวลานาน หากต้องมาถูกซ้ำเติมจากปัญหาความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง คงเป็นเรื่องที่น่าหนักใจอย่างยิ่ง โดยหลายส่วนหวังว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งหาข้อยุติของปัญหานี้ได้โดยเร็ว เพื่อบรรเทาความเสียหายและผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้น.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ลุ้นแจ้งเกิดให้บริการซีเพลน

จากนโยบาย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งทางอากาศ ผลักดันการปฏิบัติการบินอากาศยานทางทะเล หรือ Seaplane Operations เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนะSME“ปรับเปลี่ยน”เพื่อ“ไปต่อ”

สถานการณ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก โดย แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ระบุว่า ภาพรวมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขณะนี้ยังน่ากังวล เพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท