ตุลาคม The Associated Press-NORC Center for Public Affairs Research (AP-NORC) รายงานผลโพลล่าสุดสะท้อนความเชื่อมั่นต่อระบอบประชาธิปไตยของคนอเมริกันก่อนเลือกตั้งกลางเทอมในวันที่ 8 พฤศจิกายนที่กำลังจะถึง สรุปสาระสำคัญดังนี้
1.ในภาพรวม คนอเมริกัน 74% คิดว่าประเทศกำลังไปผิดทิศผิดทาง 25% เท่านั้นที่เห็นว่าประเทศกำลังไปในทางที่ถูกต้อง
- 56% ให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน สอบตก (disapprove) 42% ให้สอบผ่าน เฉพาะด้านเศรษฐกิจ 63% ให้สอบตก มีเพียง 36% เท่านั้นที่ให้สอบผ่าน

เครดิตภาพ: https://apnorc.org/projects/few-think-our-democracy-is-working-well-these-days/.
3.เมื่อถามถึงการทำงานของรัฐสภา (ส.ส.กับ ส.ว.) 78% ให้สอบตก 21% ให้สอบผ่าน
- 76% เห็นว่าเศรษฐกิจแย่ 23% เห็นว่าเศรษฐกิจดี เมื่อจำแนกรายละเอียด 28% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าเศรษฐกิจแย่มาก (Very poor) 36% เห็นว่าเศรษฐกิจแย่ในระดับหนึ่ง (Somewhat poor)
5.ด้านฐานะการเงินครอบครัว 54% ตอบว่าดีหรือค่อนข้างดี 46% ตอบว่าแย่หรือค่อนข้างแย่
- 67% ไม่พอใจกับสิ่งที่กำลังเกิดในประเทศ มีเพียง 17% ตอบว่าพอใจ และเมื่อถามคำถามเดียวกันนี้ในระดับรัฐที่อาศัยอยู่ 44% ไม่พอใจ 32% พอใจ 24% เฉยๆ ถามระดับชุมชนที่อาศัยอยู่พบว่า 33% ไม่พอใจ 37% พอใจ 30% เฉยๆ
7.ในประเด็นสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลที่ได้จากประเทศ 42% ไม่พอใจ 34% พอใจ 23% เฉยๆ
8.ถามคนอเมริกันตรงๆ ประชาธิปไตยอเมริกันกำลังทำงานอย่างดีหรือไม่ 52% ตอบว่าไม่ (ในเชิงแย่) 47% ตอบว่าดี
9.เลือกตั้งกลางเทอมนี้ 41% อยากให้พรรคเดโมแครต (ฝ่ายรัฐบาล) ครองสภาล่าง 34% อยากให้พรรครีพับลิกันครองสภาล่าง และเป็นตัวเลขเดียวกันเมื่อถามว่าอยากให้พรรคใดครองสภาบน ที่เหลืออีก 24% ยังไม่ตัดสินใจ
- 77% เห็นว่าเลือกตั้งกลางเทอมสำคัญมาก (Extremely/Very important) มีผลต่ออนาคตประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ กฎหมายการทำแท้ง
11.สอบถามสภาพหรือลักษณะการเมืองภายในประเทศ 60% ตอบว่าแย่ (มองแง่ลบต่อการเมือง) 15% ตอบว่าดี (มองแง่บวก) 24% เฉยๆ
- 37% คิดว่าพรรครีพับลิกันบริหารเศรษฐกิจได้ดี 27% ตอบว่าพรรคเดโมแครต และอีก 12% เห็นว่าทั้ง 2 พรรคบริหารเศรษฐกิจได้ดี
- 33% เชื่อมือรีพับลิกันในด้านนโยบายต่างประเทศ 31% ให้คะแนนพรรคเดโมแครต และ 16% เห็นว่าทั้ง 2 พรรคล้วนทำได้ดี
14.เมื่อถามว่าสินค้าแพงเกิดจากนโยบายรัฐบาลไบเดนหรือจากปัจจัยนอก 44% ตอบว่ามาจากรัฐบาล 55% เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล
15.คิดว่าเลือกตั้งกลางเทอมปีนี้จะนับคะแนนอย่างถูกต้องหรือไม่ 47% ตอบว่ามั่นใจ 24% มั่นใจพอควร (moderate) 28% ไม่มั่นใจ
16.ถามว่าเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบถัดไป (2024) อยากให้ใครลงสมัคร ปรากฏว่าชื่อโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ได้คะแนนเท่ากัน คือ 29%
ในการหาเสียงเลือกตั้งกลางเทอม ประธานาธิบดีไบเดนอ้างว่าตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย พร้อมกับชี้ว่าทรัมป์เป็นฝ่ายตรงข้าม ผลโพล AP-NORC สามารถตีความใน 2 กรอบ คือ กรอบการแข่งขันระหว่าง 2 พรรคการเมือง กับกรอบการเมืองภาพรวม ดังนี้
ฝ่ายประชาธิปไตยไบเดนแพ้?
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวว่า อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับ MAGA Republicans (พวกที่สนับสนุนทรัมป์อย่างเข้มข้น) เป็นพวกสุดโต่ง (an extremism-ไม่ใช่พวกประชาธิปไตย) เป็นพวกนิยมความรุนแรง จงเกลียดจงชัง สร้างความแตกแยก ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ไม่เชื่อหลักนิติธรรม ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง สนับสนุนพวกที่ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง รวมความแล้วประธานาธิบดีไบเดนตีตราว่าเป็นพวกกึ่งเผด็จการ (semi-fascism) คุกคามบั่นทอนประชาธิปไตย
ไบเดนพยายามชี้ว่าตน (พรรคเดโมแครต) เป็นฝ่ายประชาธิปไตย ส่วนทรัมป์อยู่ฝ่ายตรงข้าม เชิญชวนให้คนอเมริกันเข้าคูหา ถ้าต้องการปกป้องประชาธิปไตยขอให้เลือกพรรคเดโมแครต
ผลโพล AP-NORC มองลบต่อการบริหารของรัฐบาลไบเดน แต่ไม่ได้ชี้ว่าเดโมแครตจะแพ้เลือกตั้งหมดรูป อีกทั้งการเลือกตั้ง ส.ส.กับ ส.ว.ขึ้นกับปัจจัยของรัฐนั้นด้วย (ควรแยกให้ชัดระหว่างเลือกประธานาธิบดี, ส.ส., ส.ว.) นักวิเคราะห์บางคนคาดว่าเดโมแครตน่าจะเสียที่นั่งไปบ้าง
ถ้ายึดความคิดแบบไบเดน หากพรรครีพับลิกันชนะเลือกตั้งได้ ส.ส., ส.ว.มากขึ้น จะตีความว่าคนอเมริกันส่วนใหญ่อยู่ “ฝ่ายตรงข้ามประชาธิปไตย” ใช่หรือไม่ ซึ่งไม่น่าจะใช่ เพราะหลายคนอาจเลือกเพราะไม่พอใจสภาพเศรษฐกิจ เห็นว่ารัฐบาลไบเดนไม่เก่ง รีพับลิกันที่เป็นฝ่ายค้านเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่ ประวัติศาสตร์การเมืองอเมริการะยะหลังให้ข้อสรุปว่า เลือกตั้งอเมริกาแค่สลับขั้วการเมืองไปมาเท่านั้นเอง
ประชาธิปไตยอเมริกากำลังแพ้:
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฉบับล่าสุด 2022 ย้ำความสำคัญของการปกป้องประชาธิปไตยทั้งในประเทศกับระดับโลก ประชาธิปไตยอยู่คู่กับอเมริกา สหรัฐเป็นผู้นำโลกกำลังสร้างพันธมิตรแนวร่วมประชาธิปไตยแข่งกับพวกเผด็จการ (Autocrats)
สหรัฐจะร่วมมือกับทุกประเทศที่เป็นชาติประชาธิปไตย มีผลประโยชน์และยึดถือคุณค่าเดียวกัน และจะร่วมมือกับประเทศที่สนับสนุนระเบียบโลกที่ตั้งบนกฎเกณฑ์ จะกดดันให้ทุกชาติเคารพและพัฒนาประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ให้ประชาธิปไตยของพวกเขาเข้มแข็งขึ้น
นโยบายเศรษฐกิจใหม่เน้นร่วมมือกับชาติพันธมิตรหุ้นส่วน กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework) เป็นตัวอย่าง ตั้งโครงการ Partnership for Global Investment and Infrastructure (PGII) ที่มุ่งลงทุนในเหล่าประเทศกำลังพัฒนา รวมความแล้วสหรัฐจะร่วมมือกับชาติประชาธิปไตยลึกซึ้งขึ้น
กันยายน 2021 CNN รายงานผลโพล SSRS ระบุว่า ชาวอเมริกัน 56% เห็นว่าประชาธิปไตยของประเทศกำลังถูกทำลาย 51% คิดว่ากรรมการเลือกตั้งสามารถเปลี่ยนผลเลือกตั้งให้ออกมาอย่างที่พวกเขาต้องการ เมื่อเจาะผู้ตอบแบบสอบถาม 75% ของพวก รีพับลิกัน จะสรุปว่าประชาธิปไตยประเทศกำลังถูกทำลาย เทียบกับ 46% ของพวกเดโมแครตที่คิดเช่นนั้น ต้นเหตุเรื่องนี้ส่วนหนึ่งมาจากการที่ทรัมป์อ้างว่าเขาแพ้เลือกตั้ง (ประธานาธิบดีสมัยที่ 2) เพราะโดนโกงเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ
ผลโพลล่าสุดของ AP-NORC เรื่องการนับคะแนนตอกย้ำคนอเมริกันจำนวนไม่น้อยไม่เชื่อถือกระบวนการเลือกตั้ง
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐมักโทษประเทศนั้นประเทศนี้ว่าเลือกตั้งไม่โปร่งใส ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยอมรับรัฐบาลของประเทศที่โกงเลือกตั้ง บัดนี้คนอเมริกันชี้ว่าประเทศสหรัฐนี่แหละที่เลือกตั้งไม่โปร่งใส
หลักฐานประชาธิปไตยสหรัฐถดถอยมีมากมาย ข้อมูลของหลายสถาบันชี้ว่าประชาธิปไตยอเมริกาถดถอยตามลำดับไม่ว่าพรรคใดจะเป็นรัฐบาล
ไม่มีประเทศใดเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ความเป็นประชาธิปไตยของอเมริกาเหนือกว่าหลายประเทศ แต่ประชาธิปไตยอเมริกานับวันจะถดถอย การจะอ้างว่าเป็นผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตยนับวันมีข้อสงสัยว่าสมเหมาะแค่ไหน คำกล่าวอ้างดังกล่าวหมายถึงอย่างไรกันแน่ ดูเหมือนว่าฝ่ายประชาธิปไตยกำลังเข้าใกล้ฝ่ายอำนาจนิยมมากขึ้นทุกที ประชาธิปไตยอเมริกากำลังแพ้ใช่หรือไม่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Global Risk Report 2023:มหันตภัยโลก
ความเป็นไปของธรรมชาติสัมพันธ์กับความมั่นคงแห่งชาติ การหยุดโลกร้อนกับการอยู่เย็นเป็นสุขเป็นเรื่องเดียวกัน
Oxfam: ทางรอดของอภิมหาเศรษฐี
หากไม่แก้ความเหลื่อมล้ำจะนำสู่หายนะทางเศรษฐกิจสังคม ร้ายแรงที่สุดคือล้มล้างการทางเมือง ทางออกที่ควรจะเป็นคือเก็บภาษีพวกเศรษฐีพันล้าน ไม่ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ
'มาร์กอส จูเนียร์'ฟื้นสัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีน
สัมพันธ์ฟิลิปปินส์-จีนภายใต้รัฐบาลชุดนี้จะเป็นไปด้วยดีแต่ไม่ทิ้งสหรัฐ เพียงแต่รัฐบาลสหรัฐไม่อาจแทรกแซงข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยยืมมือมาร์กอส จูเนียร์
รัฐบาลเนทันยาฮูล่าสุดกับประเด็นอ่อนไหว
เนทันยาฮูเป็นนายกฯ มาแล้วหลายสมัย แต่รอบนี้แตกต่างเพราะพรรคร่วมเป็นขวาจัด ส่อแววขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน และดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดใหม่วางแผนล่วงหน้า
สัมพันธ์จีน-ซาอุฯหน้าใหม่สู่โลกพหุภาคี
จีนไม่ใช่ผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่แต่กำลังเข้าไปมีส่วนร่วมกิจการด้านพลังงานของซาอุฯ โดยที่รัฐบาลซาอุฯ เปิดทางให้อุตสาหกรรมพลังงาน ซาอุฯ จึงร่วมมือกับชาติตะวันตกและจีนพร้อมกัน
ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างซาอุฯ กับจีน
ข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ครอบคลุมทุกด้าน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตั้งแต่ระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค สะท้อนระเบียบโลกใหม่ที่กำลังเปลี่ยนไป