จีนมองกรณี ‘กบฏวากเนอร์’ ต่างจากตะวันตกอย่างไร?

เมื่อเกิดเรื่องก่อกบฏที่รัสเซีย ตะวันตกมองทันทีว่าอำนาจทางการเมืองของประธานาธิบดีปูตินต้องอ่อนแรงลงแน่นอน แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นคือจีนคิดอย่างไรกับเหตุการณ์ครั้งนี้

แน่นอนว่าโดยทางการแล้ว ปักกิ่งต้องแสดงท่าทีสนับสนุนปูตินอย่างปราศจากความสงสัย โดยเฉพาะเมื่อความวุ่นวายสงบลงอย่างรวดเร็ว

แต่ลึกๆ แล้วประธานาธิบดีสี จิ้นผิง คงจะต้องมีความกังวลต่ออนาคตทางการเมืองของ “สหายรัก” คนนี้อย่างมากแน่นอน

ความจริงความเป็นห่วงเพื่อนที่มอสโกของสี จิ้นผิง มีตั้งแต่ปูตินส่งทหารเข้าบุกยูเครนแล้ว

เพราะจีนไม่ได้เห็นด้วยกับปฏิบัติการทางทหารที่สุ่มเสี่ยงอย่างนี้ทั้งหมด แม้จะต่อต้านตะวันตก แต่ปักกิ่งก็ระมัดระวังในการวางตัวที่จะไม่ถูกดึงเข้าไปกอดรัดฟัดเหวี่ยงรัสเซียจนหลุดออกมาไม่ได้

ยิ่งเมื่อสงครามยืดเยื้อก็ยิ่งทำให้สี จิ้นผิง ต้องคิดหนักมากขึ้น

จนต้องแสดงบทเป็น “คนกลาง” เพื่อประสานให้ทุกฝ่ายในข้อพิพาทนี้หาทางลงอย่างสันติ

สำหรับจีนแล้ว สงครามยูเครนไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรที่ถาวรกับจีน

นอกจากจะเป็นการทำให้รัสเซียต้องมาพึ่งพาจีนมากขึ้น และปักกิ่งอาจจะได้ประโยชน์จากการที่รัสเซียขายพลังงานให้ในราคามิตรภาพเท่านั้น

แต่ในภาพรวมแล้ว ความตึงเครียดในระดับโลกอันเกิดจากสงครามครั้งนี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจทั่วโลกแน่นอน

โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนออกมายืนข้างรัสเซียเต็มที่ในนามของรัฐบาล

คือให้การสนับสนุนรัฐบาลปูตินด้วยภาษากว้างๆ ว่า การรักษาเสถียรภาพของประเทศที่ถูกต้องแล้ว

แต่ก็ย้ำว่าเป็น “เรื่องภายใน” ของรัสเซีย

สื่อทางการของจีนก็ออกมาเสนอแนวการวิเคราะห์ที่แปลกแยกไปจากทางตะวันตก

หนังสือพิมพ์ Global Times ภาษาอังกฤษออกมาสำทับว่า แม้ตะวันตกจะพยายามวาดภาพว่าหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ สถานภาพทางการเมืองของปูตินจะอ่อนแอลง แต่สื่อจีนอ้างผู้เชี่ยวชาญว่าตะวันตกมองอะไรผิดเสมอ

บางตอนของบทวิเคราะห์ในสื่อจีนบอกว่า

แม้สื่อตะวันตกจะกล่าวว่า การจลาจลของทหารรับจ้างวากเนอร์เป็นการเปิดโปงความอ่อนแอของรัฐบาลปูติน

แต่ความวุ่นวายนั้นก็สงบลงในเวลาอันสั้น หลังจากที่ปูตินประกาศจะดำเนินการขั้นเด็ดขาด

ในสายตาของสื่อจีนนั่นแสดงให้เห็นว่า เครมลินยังคงรักษาความสามารถในการป้องปรามไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง

แถมยังแสดงว่าปูตินมีอำนาจเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ

สื่อจีนบอกว่าแม้วากเนอร์จะถอนตัวออกไป แต่สื่อตะวันตกบางสำนัก เช่น CNN และ The New Yorker ก็วิเคราะห์ว่า

"ปูตินกำลังเสี่ยงที่จะสูญเสียอำนาจที่กุมเอาไว้"

และ "เผยให้เห็นความอ่อนแอของปูติน"

ซีเอ็นเอ็นกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่ครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลินี้ที่เราเห็นว่ามอสโกดูอ่อนแอ การโจมตีด้วยโดรนในเครมลินในเดือนพฤษภาคมต้องทำให้ชนชั้นนำรอบๆ ปูตินตั้งคำถามว่า การป้องกันเมืองหลวงอ่อนแอขนาดนี้ได้อย่างไร"

แต่สื่อจีนอ้าง Cui Heng ผู้ช่วยนักวิจัยจาก Center for Russian ว่าชาติตะวันตกให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับสถานการณ์

โดยหวังว่าจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกต่อต้านรัสเซีย

ซึ่งเป็นยุทธวิธีทั่วไปและเป็นส่วนหนึ่งของสงครามความรู้ความเข้าใจตั้งแต่เกิดวิกฤตยูเครน

Global Times อ้างผู้เชี่ยวจีนคนนี้ว่า “อย่างไรก็ตาม การปราบปรามการก่อจลาจลในช่วงเวลาสั้นๆ ดังกล่าว เป็นการรวมอำนาจของรัฐบาลปูตินเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยในสนามรบแนวหน้าระหว่างรัสเซียและยูเครน”

ขณะที่เหตุการณ์กำลังคลี่คลาย เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระมัดระวังหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นโดยตรงเกี่ยวกับสิ่งที่บางคนย้ำว่าเป็นสถานการณ์ภายในของรัสเซีย

นักวิเคราะห์ฝั่งจีนมองว่าสหรัฐฯ กำลังพยายามใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ และตอกย้ำว่าวอชิงตันมักจะมีเรื่องเล่าที่พยายามหาประเด็นที่จะอ้างว่ามีผลทำให้ความมั่นคงของรัสเซียอ่อนแอลง

สื่อจีนตั้งข้อสังเกตว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดคุยกับผู้นำฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ ท่ามกลางความกังวลว่าอำนาจควบคุมสถานการณ์ในประเทศของปูตินอาจลดลง

และโจเซป บอร์เรล หัวหน้าฝ่ายกิจการต่างประเทศของสหภาพยุโรป เลี่ยงความเห็นโดยตรงเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเรียกว่าปัญหา "ภายใน" สำหรับรัสเซีย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ฉิน กัง มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้พบกับนายอันเดรย์ รูเดนโก  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียในกรุงปักกิ่ง

โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย และประเด็นข้อกังวลระดับโลกและระดับภูมิภาค อ้างจากกระทรวงการต่างประเทศจีน

Ma Zhaoxu รองรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ได้พบกับรูเดนโกในกรุงปักกิ่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเช่นกัน

โดยกล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อนและรุนแรง จำเป็นต้องปฏิบัติตามฉันทามติสำคัญที่บรรลุโดยประมุขแห่งรัฐทั้งสอง สื่อสารอย่างทันท่วงที

กับตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างจีนกับรัสเซีย และการรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ นักการทูตจีนและรัสเซียยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน และประเด็นข้อวิตกกังวลระหว่างประเทศและภูมิภาคอื่นๆ

“การคิดว่าการก่อจลาจลครั้งนี้มุ่งเป้าไปที่ปูตินนั้นเป็นความคิดที่เพ้อฝัน เนื่องจากนักการเมืองตะวันตกบางคนเคยชินกับการมองการเมืองรัสเซียในจินตนาการของพวกเขา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่เข้าใจเงื่อนไขพื้นฐานของรัสเซีย" ผู้เชี่ยวชาญจีนกล่าว

“นักการเมืองตะวันตกบางคนหวังจะเห็นปูตินสูญเสียการควบคุมประเทศ ในขณะรัสเซียกำลังตกอยู่ในความสับสนวุ่นวาย จนทำให้กองทหารรัสเซียจะล่าถอยจากยูเครน"

“และบางคนหวังว่าจะทำให้รัสเซียอ่อนแอลงหรือแตกแยก ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การก่อจลาจลของวากเนอร์ที่เกินจริง...”

แต่นักวิเคราะห์จีนที่อ้างโดยสื่อจีนนี้ก็ยอมรับว่า เหตุการณ์ที่น่าทึ่งครั้งนี้จะทำให้ปูตินและทางการรัสเซียตระหนักชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนไม่สามารถยืดเยื้อได้

ยิ่งสงครามยืดเยื้อ ปัญหาและความขัดแย้งภายในประเทศก็จะยิ่งสะสมมากขึ้น...” ผู้เชี่ยวชาญย้ำ

 และสรุปได้อย่างน่าสนใจว่า

“เหตุการณ์เหล่านั้นอาจผลักดันให้ปูตินเร่งยุติความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่คล้ายคลึงกัน และกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เบลารุสและคาซัคสถาน”

ท่าทีของจีนจึงน่าวิเคราะห์อย่างยิ่ง...ด้านหนึ่งก็ปกป้องสถานภาพของปูตินอย่างแข็งขัน

อีกด้านหนึ่งก็ยอมรับว่าปูตินจะต้องปรับยุทธศาสตร์เรื่องสงครามยูเครนครั้งสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ได้เกิดจุดอ่อนที่อาจนำไปสู่ปัญหาภายในประเทศของตน!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว