แก้ปมสิ่งแวดล้อมผ่านSME

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก ส่งผลให้ประเทศไทยต้องมีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการเดินหน้าด้านดูแลสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เนื่องจากเป็นแนวทางที่ควรจะเป็น ซึ่งหลายโครงการที่ผ่านมาทำให้ประเทศไทยกำลังเดินหน้าไปในแนวทางนี้ที่ดีมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ บีซีจี โมเดล (BCG Model)

ซึ่งมีหลายหน่วยงานที่สนใจและขานรับนโยบายของประเทศ รวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ที่ออกแนวทางในการสนับสนุน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนบีซีจี โมเดล โดยมุ่งเน้น 4 เป้าหมาย

ได้แก่ 1.การสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ 2.การสร้างความมั่นคงทางสังคม 3.การสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม 4.การตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

โดย ดีพร้อม ได้เร่งพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมตามแนวทางนโยบายดังกล่าว ให้มีโอกาสเติบโตในช่วงที่วิถีชีวิตของคนทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง พร้อมผลักดันโอกาสในด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ ช่องทางการตลาด รวมทั้งนำนวัตกรรมมาต่อยอดของเหลือใช้ หรือธุรกิจที่ลดใช้ทรัพยากร-พลังงาน มีมูลค่าบนช่องทางการค้าที่มากขึ้น โดยดีพร้อมได้ทำการศึกษาตลาดอุตสาหกรรมบีซีจี โมเดล ซึ่งพบว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตสูง

ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้น มีมูลค่ารวม 114,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ซึ่งมีมูลค่า 98,006 ล้านบาท หรือเติบโต 17.21% (ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : BOI) นอกจากนี้ บีซีจี โมเดล ยังเป็นส่วนสนับสนุนให้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น เกษตรและอาหารแปรรูป การท่องเที่ยวและบริการ หรืออุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

โดย “เจตนิพิฐ รอดภัย” รองอธิบดีดีพร้อม กล่าวว่า จากนโยบายเพื่อขานรับกับมาตรการเร่งด่วนดังกล่าว ดีพร้อมจึงได้ดำเนินโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการออกแบบมาใช้ในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และผลักดันการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้าน “อัปไซคลิ่ง (Upcycling)”

ซึ่งเป็นแนวทางการแปรรูป-ผสมผสานการใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ สิ่งเหลือใช้จากการผลิตสินค้าทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว รวมไปถึงวัสดุเหลือใช้จากการอุปโภคและบริโภคในท้องถิ่น และวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ ให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งเพื่อเจาะตลาดธุรกิจและบริการรักษ์โลกที่ขณะนี้ผู้บริโภคตั้งแต่กลุ่ม Baby boomer จนถึงกลุ่ม Gen Z ที่กำลังให้ความสำคัญและมีอัตราการใช้จ่ายสินค้าที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่สูง

โดยโครงการนี้จะคัดเลือกกลุ่มเอสเอ็มอี นิติบุคคล หรือบุคลากร เช่น ทายาทธุรกิจ พนักงานในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อุตสาหกรรมเกษตร-อาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ มาร่วมบ่มเพาะกลยุทธ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการจากของเหลือใช้ ปรับให้เป็นแบรนด์ที่รู้จักในท้องตลาด สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ รวมถึงปั้นผู้นำเทรนด์ในด้านการออกแบบที่คำนึงถึงอรรถประโยชน์และสิ่งแวดล้อมในสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ไม่น้อยกว่า 50 ราย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธ.ค.2564 ผ่านช่องทาง www.diprom.go.th หรือ facebook.com/dipromindustry”

โครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ ดีพร้อม และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC มีความตั้งใจที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมตามบีซีจีให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง และหวังว่าจะสามารถแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และบางประเด็นทางเศรษฐกิจ-สังคมที่กำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤตได้ เช่น ปัญหาของขยะพลาสติก ปัญหาภาวะโลกร้อน ปัญหาของเหลือใช้ที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปั้น‘โปรตีนทางเลือก’เชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน อาหารแพลนต์เบสในประเทศไทยเริ่มมีมากขึ้น เทรนด์ของคนที่หันกลับมากินอาหารเพื่อสุขภาพก็มีเพิ่มขึ้น จึงทำให้เป็นการผลักดันภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อสุขภาพ

อุบัติเหตุหรือละเลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีข่าวเกี่ยวกับการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมไปทิ้งตามสถานที่ต่างๆ หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ชลบุรี ฯลฯ ซึ่งขยะเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปตรวจสอบและแก้ไขปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน