รื้อ ลด ปลด สร้าง ปลายทางต้องประชาชน

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ก็มีมติประกาศทบทวนค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และการเรียกเก็บค่าไฟฟ้างวด ม.ค.-เม.ย.2567 ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย ตามมติ ครม.ที่ประกาศไว้ว่าต้องต่ำกว่า 4.20 บาทต่อหน่วย แต่ยืนยันว่าค่าไฟฟ้าระยะต่อไปไม่น่าจะต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย ตามความต้องการของภาคเอกชน เพราะโครงสร้างปัจจุบันทำให้ต้นทุนไฟฟ้างวดนี้อยู่ที่หน่วยละ 4.30 บาทแล้ว

จากที่ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ปรับปรุงโครงสร้างตามมาตรการปรับราคาก๊าซธรรมชาติเข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ โดยกำหนดให้ต้นทุนค่าก๊าซของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะต้องเข้ามาร่วมคำนวณและรับภาระค่า Pool Gas เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้า ทำให้สามารถประกาศเอฟทีใหม่ของงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2567

ลดลงจาก 89.55 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 39.72 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้รวมไปถึงอีกหลายมาตรการเข้ามาช่วยปรับลดค่าเอฟทีลง เช่น การปรับปรุงราคาประมาณการ Spot LNG ใหม่, กฟผ.รับภาระเงินคงค้างสะสมสำหรับงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.2567 แทนประชาชน และการเรียกเก็บ Shortfall จาก ปตท.จำนวน 4,300 ล้านบาท มาช่วยลดค่าเอฟทีลงด้วย

ค่าไฟเพิ่มขึ้นหรือถูกลง ปัจจัยหลักเกิดจากวิกฤตราคาพลังงานโลกและปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีราคาถูกกว่าลดลง ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาตลาดจร (Spot LNG) ซึ่งมีราคาสูงเข้ามาเสริม โดย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ย้ำว่า ตลอดทั้งปี 2567 จะเดินหน้าเกี่ยวกับนโยบายรื้อ ลด ปลด สร้าง ด้านพลังงานเป็นหลัก เนื่องจากรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันมีการใช้มายาวนาน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ใช้ไฟ

สำหรับค่าไฟในงวดถัดไป ตลอดทั้งปี 2567 ที่หลายคนยังคงอยากรู้กันว่าจะยังคงอยู่ในระดับนี้ต่อไปได้หรือไม่ คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ระบุว่า “ค่าไฟฟ้าที่ทางภาคเอกชนและประชาชนต้องการให้ต่ำกว่า 4 บาทนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากขณะนี้มีการรื้อโครงสร้างก๊าซฯ ทุกแนวทางแล้ว หากพิจารณาจากต้นทุนปัจจุบันจนถึงแนวโน้มตลอดทั้งปี 2567 คาดจะสามารถตรึงค่าไฟฟ้าให้อยู่ที่ 4.20 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ในอัตรา 4.18 บาทต่อหน่วยเล็กน้อย โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนด้วย เนื่องจากงวดหน้าไม่มีชอร์ตฟอลแล้ว และก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณจะสามารถเข้ามาในระบบครบ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตหรือไม่ และก๊าซจากแหล่งพม่ายังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคานำเข้าก๊าซธรรมชาติ (LNG Spot) อยู่ในระดับ 10 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู”

ประเด็นกำลังการผลิตก๊าซในอ่าวไทย โดยเฉพาะแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณที่จะต้องผลิตให้ได้ตามสัญญา 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ทางสำนักงาน กกพ.ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เพราะมีส่วนเข้ามาช่วยต้นทุนค่าไฟอย่างมาก หากสามารถผลิตได้ตามเป้าหมายจะส่งผลให้การนำเข้าก๊าซธรรมชาติลดลงได้ เพราะได้ใช้ทรัพยากรในประเทศในราคาที่ถูกกว่า

ดังนั้น การปรับโครงสร้างราคาและต้นทุนก๊าซทั้งระบบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประกาศรื้อ ลด ปลด สร้าง โครงสร้างพลังงานทั้งระบบ เป็นการทำงานร่วมกับ กกพ., สำนักงาน กกพ. ซึ่งทางเลขาธิการสำนักงาน กกพ.ได้ส่งสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างก๊าซ โดยได้เริ่มมีการศึกษาแล้ว ประกอบกับมติ ครม.ยังระบุชัดเจนว่าโครงสร้างราคาและต้นทุนก๊าซที่ปรับไปในงวด ม.ค.-เม.ย.2567 ให้อิงราคาโครงสร้างเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีผลการศึกษาถึงแนวทางที่เหมาะสมจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงและประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไร สิ่งสำคัญคือต้องยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด