เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ จะทำให้การไหลเวียนและถ่ายเทอากาศไม่ดี ฝุ่นควันจึงสะสมในอากาศ ประกอบกับสภาพอากาศแห้งยังเอื้อต่อการเกิดไฟป่าง่ายอีกด้วย โดยเฉพาะในภาคเหนือ           

และยิ่งไปกว่านั้น ด้วยภูมิประเทศที่เป็นที่ราบล้อมรอบไปด้วยภูเขา ลักษณะเหมือน แอ่งกระทะ การสะสมหมอกควันในอากาศจึงรุนแรงกว่าพื้นที่อื่น รวมถึงฝุ่นควันที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ส่งผลให้ฝุุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จนปัจจุบันหลายๆ จังหวัดในประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะค่า PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐาน จนกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก และหนึ่งในนั้นคือจังหวัดเชียงใหม่ ที่ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากเป็นอันดับ 3 ของโลก ในเดือนมีนาคม 2567 และติดอันดับ 10 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก  

อย่างไรก็ตาม ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 นั้น ส่งผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพของคนไทยและระบบสาธารณสุขภาพรวม สิ่งแวดล้อม และในที่สุดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐบาลได้ตระหนักถึงผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จึงได้ออกมาตรการใหม่เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ แต่ก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และระดับมลพิษก็ยังเพิ่มระดับสูงขึ้นถึงขีดอันตรายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเพิ่มสูงขึ้นบ่อยครั้ง จากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่คือ การจราจร การเผาชีวมวล และกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรม โดยความเข้มข้นผันแปรไปตามฤดูกาล อีกทั้งภาคเหนือก็ประสบปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดจากไฟป่า และการเผาพื้นที่การเกษตร

ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รายงานว่า การเผาไหม้ชีวมวลเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพอากาศเสีย ซึ่งอาจทำให้เกิดโอกาสการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประชาชนหลายแสนคนต่อปี อย่างไรก็ดี การประเมินผลกระทบของการเผาไหม้ต่อระดับ PM 2.5 เป็นเรื่องที่ท้าทาย ด้วยเหตุที่ว่าการเผาไหม้เกิดขึ้นแตกต่างกันตามฤดูกาลและแตกต่างตามพื้นที่ภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ที่ถูกผลกระทบจากการเผาไหม้นั้น ระดับ PM 2.5 อาจพุ่งสูงขึ้นหลายร้อยไมโครกรัม และใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะลดลงมาในระดับปกติได้มากไปกว่านั้น เนื่องด้วย PM 2.5 สามารถเดินทางได้ไกล จึงไม่ใช่เฉพาะพื้นที่ที่เกิดการเผาไหม้เท่านั้น พื้นที่ใกล้เคียงแม้จะห่างจากจุดเกิดเหตุออกไปกว่าหลายร้อยกิโลเมตรก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

และจากการศึกษาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและการใช้ประโยชน์ที่ดิน พบว่า ระหว่างปี 2544-2563 มีการเผาไหม้ในเขตป่าไม้เพิ่มขึ้นมากถึง 240% ในขณะที่ไฟจากการเผาพื้นที่เกษตรลดลง 42% ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ ว่าไฟป่าในประเทศไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าที่มาของ PM 2.5 น่าจะมาจากการเผาไหม้ในเขตป่าไม้มากกว่าจากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ณ ตอนนี้ข้อมูลดาวเทียมยังไม่สามารถแยกเหตุของการเผาไหม้ของป่าได้ว่ามาจากธรรมชาติหรือเผาไหม้ไปทำการเกษตร

ศุูนย์วิจัยกสิกร ยังระบุว่า มิใช่เพียงการเผาในประเทศที่เป็นหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหา PM 2.5 ในไทยเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ส่งผลให้เกิด PM 2.5 ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ ความหนาแน่นของประชากร หรือการจราจร นอกจากนี้การเผาจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีผลกระทบต่อ PM 2.5 ด้วยเช่นกัน โดยปริมาณการเกิดไฟไหม้สูงพบเห็นได้ที่ชายแดนติดกับเมียนมาและกัมพูชา ซึ่งส่งผลให้ภาคเหนือของประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะบริเวณแถวเชียงใหม่

ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลที่จะหันมาให้ความสนใจกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างจริงจัง โดยเฉพาะความท้าทายและข้อจำกัดเชิงสถาบัน เพราะปัจจุบันยังขาดกรอบกฎหมายที่กำหนดเป้าหมายชัดในเรื่องมลพิษทางอากาศ การออกมาตรการทางกฎหมายที่ประสานกับทุกภาคส่วน ที่ปล่อยมลพิศทางอากาศ, การบังคับใช้กฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลที่มีอยู่ และมาตรฐาน NAAQS ก็ยังไม่ทั่วถึง มีช่องว่างสำคัญ คืออำนาจการให้โทษของหน่วยงานติดตามตรวจสอบอย่างกรมควบคุมมลพิษ ที่ปัจจุบันยังขาดอำนาจการบังคับควบคุมและใช้บทลงโทษ

และที่สำคัญหน่วยงานภาครัฐควรเฝ้าระวังและติดตามเพื่อบรรเทาการเกิดไฟป่าและ PM 2.5 ไปพร้อมกันได้ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลเชิงลึกวิเคราะห์และดำเนินนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติอากาศสะอาดและร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เป็นการวางรากฐานในการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่สำคัญต่อไป

อย่าให้ประชาชนต้องคิดว่า ดีแต่ออกมาตรการแก้ฝุ่น แต่กลับไร้ผล.

 

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีมานด์ทองคำยังแกร่งแม้ราคาพุ่ง

จากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำ หรือ Gold Demand Trends จากสภาทองคำโลก (World Gold Council) สำหรับไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ระบุว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสำหรับการลงทุนของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 10%

ปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติมีแต่เสียกับเสีย

ปมความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐาเข้ามาบริหารประเทศ โดยจุดเริ่มต้นต้องเรียกว่าชนวนเหตุนั้น มาจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว