จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

โดยเงินบาทถือว่าอ่อนค่าหนักที่สุดในรอบ 6 เดือน และเงินบาทยังอ่อนค่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาครองจากเงินเยนญี่ปุ่น โดยตั้งแต่ต้นปีมีการปรับลดไปแล้วกว่า 7.7%

ทั้งนี้ ในมุมมองของนักวิเคราะห์เชื่อว่าค่าเงินบาทยังคงปรับลงได้มากกว่านี้อีก ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง และปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่มีแนวโน้มว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยน้อยกว่าที่คาดเอาไว้ ซึ่งยังคงเป็นปัจจัยหนุนให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง

ล่าสุด นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุ การอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งทะลุระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์ เป็นผลมาจากความกังวลของนักลงทุนว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว หนุนให้บอนด์ยีลด์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนหันไปถือดอลลาร์ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น

ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทซึ่งอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่นๆ และคาดว่าจะอ่อนค่าต่อเนื่องถึงเดือน พ.ค.นี้ มาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ จากฤดูกาลจ่ายเงินปันผลของไทย ซึ่งทำให้มีเงินไหลออกนอกประเทศ และมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยซึ่งจะเกินดุลน้อยลง หรือบางช่วงอาจขาดดุล จึงไม่ได้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทกลับมาแข็งค่า รวมถึงการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ซึ่งมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก

โดยในระยะสั้น เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าไปสู่ระดับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ และหากปีนี้เฟดไม่ลดดอกเบี้ยเลย มีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าไปสู่ระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์ เพราะเศรษฐกิจไทยยังไม่กลับมาขยายตัวมากนัก กดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องดำเนินนโยบายการเงินสวนทางกับสหรัฐและสวนทางตลาดโลก ปัจจัยเหล่านี้มีผลให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดลงได้

นายอมรเทพระบุว่า ไม่ได้บอกว่าลดดอกเบี้ยไม่ได้ แต่การลดดอกเบี้ยจะทำให้เสถียรภาพระยะสั้นมีความผันผวนมากขึ้น อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้หากไทยดำเนินนโยบายการเงินสวนทางตลาดโลก ดังนั้นระยะยาวมีโอกาสที่เงินบาทจะอ่อนค่าไปแตะระดับ 40 บาทต่อดอลลาร์ แต่ระยะสั้นมองว่ามีโอกาสอ่อนค่าไปที่ 37.50 บาทต่อดอลลาร์
แม้ว่าบาทอ่อนถึงระดับ 40 บาท/ดอลล์จะมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติทางรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยคงจะไม่ปล่อยให้ค่าเงินบาทไหลขึ้นลงไปตามยถากรรม เพราะบาทอ่อน แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการส่งออกที่จะได้กำไร มากขึ้น และได้เปรียบทางการค้า แต่ในอีกมุมมันก็กระทบต่อการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะราคาพลังงานที่จะต้องควักกระเป๋าแพงขึ้น และราคาพลังงานก็มีผลกระทบต่อต้นทุนหลายๆ ด้าน

ตอนนี้ในมุมมองของเศรษฐกิจมหภาค ไทยเรายังโชคดีที่ได้ตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาประคอง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุล ทำให้บาทยังไม่อ่อนเกินไป

ดังนั้น ตอนนี้ที่ต้องจับตาคือ เศรษฐกิจสหรัฐเป็นอย่างไร และเศรษฐกิจของไทยจะฟื้นตัวได้มากแค่ไหน ถ้าเกิดว่าเศรษฐกิจเราไม่ฟื้นเราอาจได้เห็นบาทอ่อนเข้าใกล้ 40 บาท/ดอลล์ได้.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นโยบายขายฝัน

ไม่นานเกินรอ ได้ใช้แน่รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทุกสายทุกสีก็ 20 บาท ซึ่งเมื่อปลายเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมานั้น รมว.คมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศลั่นว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท

หวังรัฐแก้ปมค้าชายแดน

การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้ดีนั้น จำเป็นต้องมองในทุกมิติและพัฒนาให้ครอบคลุม จะทิ้งใครหรืองานใดงานหนึ่งไว้ข้างหลัง จะเป็นตัวฉุดรั้งให้การเติบโตนั้นไม่ไปไหน

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท