ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 15: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

 

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475)   ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวดูเหมือนจะมิได้เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลชุดใหม่ ในทางตรงกันข้าม พระองค์ดูจะทรงสนับสนุนเสียด้วยซ้ำ  อาจพูดให้ชัดขึ้นได้ว่า ‘พระองค์ทรงเป็นผู้สนับสนุนเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น’  แต่ด้วยพระพลานามัยที่ไม่แข็งแรง จึงต้องบรรทมเกือบทั้งวัน และพระองค์เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในสถานการณ์ โดยที่พระองค์เองอาจจะไม่ทรงตระหนักก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสงฆ์ ซึ่งเป็นอำนาจเดียวที่เข้มแข็งที่สุด ก็อุทิศตนเพื่อพระมหากษัตริย์อย่างเต็มที่ แต่พระองค์ย่อมจะได้รับผลกระทบไม่น้อย หากมีการปฏิวัติครั้งใหม่ และจะต้องยอมจำนนในลักษณะเดียวกัน พระองค์จึงตั้งพระทัยจะถอยห่างออกมาทันทีที่สถานการณ์มั่นคง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน รัฐบาลชุดใหม่ประกาศเรื่อยๆว่า จะมีการเลือกผู้มีสิทธิสืบราชสันตติวงศ์ แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลกลับไม่ได้เร่งรีบกระทำเท่าไรนัก

พระบรมวงศานุวงศ์  การปลดทหารออกจากตำแหน่งการโยกย้ายจำนวนมากทำให้กองทัพเกิดการเปลี่ยนแปลง และไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นนายทหารที่ถูกส่งไปข้างใน (ภาษาฝรั่งเศสใช้ว่า ‘à l’intérieur’ แต่น่าจะเป็น ‘à l’extérieur’ ซึ่งแปลว่า ‘ถูกส่งไปข้างนอกหรือต่างจังหวัด’ มากกว่า เพราะ ‘ถูกส่งไปข้างใน’ จะมีความหมายเดียวกับ ‘ถูกเรียกกลับมาบางกอก/ผู้แปล) และนายทหารที่ถูกเรียกกลับมาบางกอกเพื่อสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ ต้องเข้าใจให้ชัดเจนว่า ในสยาม นายทหารจะมีที่พักประจำตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์ และยึดติดกับสิ่งเหล่านี้มาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ถูกเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากการโยกย้ายโดยที่พวกเขาไม่เห็นด้วย การแก่งแย่งชิงดีกันระหว่างกองทัพบกกับกองทัพเรือ ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะในสยาม เริ่มชัดเจนมากขึ้นอย่างน้อยก็ในกองทัพและในหมู่นายทหารชั้นผู้น้อย บรรดาทหารรู้สึกไม่พอใจมากจากการที่กองทัพเรือเก็บตำแหน่งพลเรือเอกไว้ได้ถึง 3 ตำแหน่ง ในขณะที่กองทัพบกมีตำแหน่งพลเอกเพียงตำแหน่งเดียว ไม่ใช่เรื่องน่าขำ แต่เป็นเรื่องจริงจังมากในที่นี้ ดูเหมือนรัฐบาลชุดใหม่จะเชื่อมั่นในทหารเรือมาก อย่างไรก็ตาม เป็นเวลา 3 วันมาแล้ว ที่มีเฉพาะทหารเรือเหล่าเดียวเป็นทหารยามประจำการบริเวณที่ทำการรัฐบาล

ตามความเห็นของผู้มีอำนาจระดับสูง กำลังสนับสนุนที่แข็งขันที่สุดของรัฐบาลขณะนี้น่าจะมาจากยามเฝ้าพระราชวัง ก่อนหน้านี้ ยามเฝ้าพระราชวังต่างไม่มีความรู้ด้านการทหาร และโดยทั่วไป จะทำหน้าที่เป็นพนักงานซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ แต่ดูเหมือนว่า ตอนนี้ พวกเขาต้องให้ความคุ้มครองด้วยความเสียสละและจงรักภักดีสูงสุด

บทสรุป สถานการณ์ไม่แน่นอนอย่างที่สุด รัฐบาลชุดใหม่ตกอยู่ในสภาวการณ์ที่ยุ่งยาก และตระหนักถึงเรื่องนี้ได้อย่างแน่นอน แต่ไม่ทราบวิธีออกจากสถานการณ์เช่นนี้ จึงพยายามเรียกศรัทธาจากประชาชน โดยพูดถึงความอยู่ดีกินดีในภายภาคหน้า แม้จะเป็นคำสัญญาที่เกิดขึ้นจริงยาก เพราะผลาญเงินไปแล้วถึง 6 ล้านบาท โดยไม่มีแหล่งรายได้ใหม่ทดแทน คณะรัฐบาลมักพูดถึงการพัฒนาการศึกษาเสมอ และเพิ่งตัดสินใจเรียกเก็บภาษีศุลกากรใหม่ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ทั้งๆที่ยังไม่มีปรากฏให้เห็นเลย  จะเห็นว่า สมาชิกรัฐบาล ‘ยึดมั่น’ ใน ‘คู่มือนักปฏิรูปที่สมบูรณ์แบบ’ อย่างไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ได้ประยุกต์ใช้สิ่งที่เหมาะสมกับสยามเพื่อให้ ‘เกิดขึ้นได้จริง’

จนถึงตอนนี้ รัฐบาลของคณะราษฎรยังประนีประนอมอยู่มาก ทว่า การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายใดเลย ไม่ว่าผู้นิยมระบอบกษัตริย์หรือพวกเอียงซ้าย และดูเหมือนว่า ทุกคนจะเห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อย ‘สถานการณ์นี้ต้องเปลี่ยนแปลง’ ไม่มีสมาชิกคนใดของรัฐบาลที่ทรงอำนาจอย่างแท้จริง ที่สามารถกรุยทางให้ผู้มีความทะเยอทะยานจำนวนมากที่อยากเข้ามาเป็นรัฐบาล และล้วนพูดว่า ‘ทำไมจะเป็นฉันไม่ได้’  มีการพูดกันอย่างเปิดเผยว่า ‘มีคนไม่ถึง 50 คนที่สนับสนุนรัฐบาล’

ในช่วงวันแรกๆของรัฐบาลชุดใหม่ ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในรายงานฉบับก่อนๆว่า ข้าราชการทุกคนยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ มีบันทึกเพียงว่า บางตำแหน่งถูกสั่งยุบ ในทางกลับกัน เรากลับเริ่มสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนถึงการสมัครใจลาออก ชนิดที่ทำให้นึกถึงลูกเรือที่กำลังสละเรือ อย่างเช่น ผู้ช่วยอธิบดีกรมสรรพากร ผู้ช่วยผู้อำนวยการกรมที่ดิน เป็นต้น

ส่วนชาวจีนที่มีอยู่ถึง 445,000 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในบางกอก พวกเขาประกาศลงหนังสือพิมพ์ของพวกเขาอย่างไม่เกรงกลัวว่า มาตรการใหม่ของรัฐบาลส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของพวกเขามาก จึงจะประท้วงหยุดงานตามที่ทำงานแห่งต่างๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป และอย่างน้อยเมื่อประสงค์ก่อความวุ่นวาย ชาวจีนก็สามัคคีกันเป็นอย่างดี

ท้ายที่สุด ผ่านไปไม่ถึง 1 เดือน รัฐบาลชุดใหม่ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหม่ ‘ที่อาจนองเลือดยิ่งกว่าครั้งแรก’ มิใช่แค่สิ่งที่เป็นไปได้ แต่น่าจะเกิดด้วยซ้ำ  มีการพูดกันไปไกลถึงขั้นเอ่ยชื่อของ ‘เผด็จการ’ คนใหม่ ซึ่งน่าจะเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระสหายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ต้องยอมรับว่า จนถึงบัดนี้ ยังไม่มีพฤตกรรมใดของพระองค์ที่จะเป็นหลักฐานพิสูจน์ข้อกล่าวหาดังกล่าว”

------------

ข้อสังเกต: คำว่า เผด็จการ ที่ผู้แปลแปลจากภาษาฝรั่งเศส dictateur  นั้น ความหมายในพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศสให้ความหมายไว้ว่า Personne qui, après s'être emparée du pouvoir, l'exerce sans contrôle หมายถึง บุคคลที่ใช้อำนาจโดยไม่มีการควบคุมหลังจากยึดอำนาจได้แล้ว ส่วนความหมายในพจนานุกรมอังกฤษให้ความหมายไว้ว่า ผู้ปกครองที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จครอบคลุมทั้งประเทศ มักจะได้แก่ผู้ปกครองที่ได้อำนาจมาด้วยกำลัง

---------------------

รายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475)

“สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น นับตั้งแต่ข้าพเจ้าส่งรายงายฉบับที่แล้ว (วันที่ 29 กรกฎาคม) และสถานะข้องรัฐบาลชุดใหม่ก็ยังไม่มั่นคง ขณะนี้เกิดการเรียกร้องมากมายจนรัฐบาลต้องหันมาใส่ใจเรื่องนี้โดยเฉพาะ วังปารุสกวัน ที่ทำการของรัฐบาล มีรถถังและรถหุ้มเกราะติดปืนกลเฝ้ารักษาการณ์อยู่ ซึ่งติดตั้งไฟส่องสว่างจำนวนมากในตอนกลางคืนควบคู่ไปด้วย

ความไม่ลงรอยกันภายในคณะรัฐบาลทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับคณะกรรมการราษฎร ซึ่งถูกสภาผู้แทนราษฎรกล่าวหาว่าต้องการใช้อำนาจชี้นำ การวิวาทดังกล่าวเพิ่งเด่นชัดมากขึ้นจากเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่ง คือ เมื่อสัปดาห์ก่อน หนังสือพิมพ์มีชื่อฉบับหนึ่งของสยามถูกสั่งปิดเป็นเวลา 10 วัน (จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม) เนื่องจากตีพิมพ์บทความที่กล่าวถึง ‘อันตราย 3 ประการ’ (อ้างอิงจากรายงานฉบับที่ 1) เมื่อวานี้ เอกสารราชการฉบับหนึ่งแจ้งว่า หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกันนั้นได้รับคำสั่งจากสภาผู้แทนราษฎรให้เปิดได้ หลังจากที่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงยอมรับว่า บทความดังกล่าว ‘เขียนด้วยจิตวิญญาณของความรักชาติ ฉะนั้น จึงมิได้มีเจตนาและมิได้เป็นอันตราย’ ต่อความสงบสุขและระเบียบของบ้านเมือง”

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

(พันโท อองรี รูซ์มีความสามารถทางด้านภาษา สามารถพูดได้หลายภาษา ได้แก่ เยอรมัน สเปน ลาว เวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาไทย.   ข้อความทั้งหมดในส่วนของนายพันโท อองรี รูซ์ ข้างต้น มาจาก การปฏิวัติสยาม ๒๔๗๕ ในทัศนะของพันโท อองรี รูซ์, Henri Roux เขียน พิมพ์พลอย ปากเพรียว แปล, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน: 2564) หน้า 110-112, 119-120).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“อนุทิน” เซ็นประกาศคืนชายหาดเลพัง ปิดตำนานกว่า20ปี หลังกรมที่ดินต่อสู้ยืดเยื้อกับผู้บุกรุก พร้อมคืนพื้นที่สาธารณะให้ชาวภูเก็ต

เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่บริเวณชายหาดเลพัง ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย เปิดกิจกรรม “มหาดไทย มอบความสุข คืนชายหาดเลพัง ให้ชาวภูเก็ต”

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 22: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'โฆษกรัฐบาล' รับถูกทาบทามไปทำงานอื่น ย้ำนายกฯยังไม่ส่งสัญญาณเปลี่ยนตัว

นายชัย​ วัชรงค์​ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี​ ว่า​ ตนไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากยังไม่ได้มีการสื่อสารอะไรมาถึงตน

'รมต.พิชิต' มั่นใจไม่ใช่คนผิด รับชีวิตมีอุบัติเหตุกันได้ พร้อมขอโอกาสพิสูจน์ตัวเอง

นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า วันนี้ตนปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นวันแรก ซึ่งจากการประชุมครม.วันนี้ ได้มีมติมอบหมายงานสำคัญให้กับตนคือ เป็นผู้ตรวจร่างมติคณะรัฐมนตรี

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 9)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'ธนกร' เชื่อครม.ใหม่เดินหน้าทำงานเพื่อประชาชนทันที ปัญหาประเทศรอไม่ได้

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตนเชื่อว่า รัฐมนตรีทุกคนมีศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงาน