เฮลิคอปเตอร์ตก 1 ลำ…เกิดสุญญากาศการเมืองได้

การเสียชีวิตของประธานาธิบดี Ebrahim Raisi ในอิหร่าน ทำให้มีปรากฏการณ์ “สุญญากาศ” ทางการเมืองเกิดขึ้น

Raisi มีอายุเพียง 63 ปี มีแนวความคิดและแนวบริหาร ออกอนุรักษ์ขวาจัด คือขวาจนเกือบครบวงกลมจะชนซ้ายอยู่แล้ว และเป็นคนที่ผู้ใหญ่ในอิหร่านวางตัวให้เป็นผู้นำสูงสุดต่อจากคนปัจจุบัน Supreme Leader Ayatollah Ali Khamenei (อายุ 85 ปี) เพราะ Raisi ถูกไว้วางใจให้ดูแลนโยบายและบริหารประเทศแทนผู้นำสูงสุดในหลายเรื่อง และมีผลงานที่เข้าตา เช่น การ “จัดการ” การประท้วงและการชุมนุมที่เกิดขึ้นตามท้องถนน หลัง Mahsa Amini เสียชีวิตด้วยฝีมือ Morality Police เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เป็นต้น

ถ้าจะย้อนเวลากลับไป ผมเขียนเรื่องการเลือกตั้งทั่วไปในอิหร่าน (“อิหร่านมีการเลือกตั้งด้วย” ลงวันที่ 3 มีนาคม) ดังนั้นใครอยากจะรื้อฟื้นความทรงจำ หรือทบทวนข้อมูลเบื้องต้นการเลือกตั้งในอิหร่านกลับไปดูได้ครับ วันนี้ผมอยากจะพูดถึงเรื่องต่อจากนี้ไป จะหาประธานาธิบดีคนใหม่อย่างไร

ตอนนี้อิหร่านมีรักษาการ ปธ. คือนาย Mohammad Mokhber เคยเป็นรองประธานาธิบดียุค Raisi ซึ่งในฐานะรักษาการ คงไม่ทำอะไรมากกว่าให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ตามกฎหมายเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับตำแหน่งผู้นำอิหร่าน เขาต้องมีการเลือกตั้งภายใน 50 วัน จากวันที่ตำแหน่งว่างเว้นไป (ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นวันที่ 28 มิถุนายน) ผู้สมัครที่อยากลงชิงตำแหน่ง สมัครและลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน และช่วงหาเสียงเป็นช่วง 12-27 มิถุนายน

การเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้คงจะมีลักษณะคล้ายๆ กับการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกไปใช้สิทธิน้อย และไม่คาดหวังอะไร เพราะคิดว่าเลือกไปก็เท่านั้น สังคมคงไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ถึงแม้จะมีผู้สมัครล้านคนก็ตาม และแต่ละคนมีนโยบายสารพัดนโยบายนำความเจริญมาที่ประเทศ ในที่สุด เหนือฟ้ายังมีฟ้าครับ จะออกนโยบายหรือกฎหมายอะไรก็ตาม ผ่านสภาก็ตาม มีคณะกรรมการ Guardian Council ที่มีอำนาจ (เบ็ดเสร็จ) ในการอนุมัติผู้สมัครการเลือกตั้งทุกระดับ และมีอำนาจ คว่ำหรือผ่านกฎหมายทุกฉบับได้ และคณะกรรมการ Guardian Council 12 ท่านนี้ถูกคัดเลือกจาก Supreme Leader โดยตรง

อำนาจเบ็ดเสร็จในอิหร่านอยู่ในมือ Supreme Leader ที่มีอำนาจเหนือฝ่ายตุลาการ นิติบัญญัติ และบริหาร ทุกเรื่องต้องผ่านความเห็นชอบของ Supreme Leader แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า คนปัจจุบันอายุเยอะ และผู้ใหญ่วาง Raisi ให้เป็น “ทายาท” สืบทอดอำนาจต่อ แต่ต่อเมื่อ Raisi ไม่อยู่แล้ว เกิดสุญญากาศทางการเมืองครับ

ตามรัฐธรรมนูญอิหร่านเมื่อสิ้น Supreme Leader คณะ Assembly of Experts จำนวน 88 ท่าน มีอำนาจสรรหาและคัดเลือก Supreme Leader คนใหม่ หน้าที่ Assembly of Experts คือแต่งตั้ง ปลด และตรวจสอบการทำงานของ Supreme Leader แต่ตามความเป็นจริง การเลือก Supreme Leader น่าจะอยู่เพียงวงเล็กๆ ไม่กี่คน

ที่น่าสนใจคือ เรื่องการเสียชีวิตของ Raisi มีคนสงสัยว่าเป็นอุบัติเหตุจริงหรือไม่

บางคนชี้ไปที่ลูกชาย Supreme Leader ชื่อ Mojtaba Khamenei ว่าจะเป็น Supreme Leader คนต่อไป แต่ถ้าเป็นเช่นนั้น อิหร่านจะกลายเป็นประเทศสืบทอดอำนาจระบบครอบครัว ใครจะว่าอะไรอิหร่าน ความเป็น “ประชาธิปไตย” ของเขาคือการมี Supreme Leader ที่ไม่ได้มาจากการสืบทอดผ่านสายเลือด ถึงแม้ระบบจะสร้างความผูกขาดให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เขาไม่ได้สร้างความผูกขาดให้กับตระกูลใคร หรือสายเลือดใคร ให้สืบทอดอำนาจในตำแหน่ง Supreme Leader

แต่ในครั้งนี้ไม่แน่ครับ เพราะข่าวเกือบทุกสำนักที่เขียนเรื่องอิหร่าน เอ่ยถึง Mojtaba Khameni เลยต้องสงสัยและต้องพูดถึงสักหน่อย

ส่วนใครจะเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ สิ่งที่รู้แน่ๆ คือ ถึงแม้ประชาชนลงคะแนนให้ แต่คนเลือกคือ Guardian Council ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเพียงประธานาธิบดี หรือ Supreme Leader ในอนาคต? วันนี้ผมไม่มีคำตอบ แต่เป็นเรื่องน่าสนใจที่เกิดสุญญากาศ ณ เวลานี้ และเป็นเรื่องที่ผู้หลักผู้ใหญ่ในอิหร่านต้องถกต้องเถียงเยอะช่วงนี้ เพียงเพราะเฮลิคอปเตอร์ตกไป 1 ลำ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thank you, Jerry West….the Logo

อีกไม่กี่วันข้างหน้า โลก (ในไทย) น่าจะหยุดหมุนชั่วคราว เรื่องชี้ชะตาอนาคตอดีตนายกฯ นายกฯ ปัจจุบัน และพรรคที่น่าจะมีว่าที่นายกฯ ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

Donald Trump ยังเป็นผู้สมัครได้ไหม?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ข่าวที่โด่งดังทั่วโลกไม่ใช่ข่าวน้องไนซ์เชื่อมจิตนะครับ ถึงแม้สังคมไทยจะติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจังก็ตาม ผมเชื่อว่าอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะมีเรื่องอื่นเข้ามาแทน

ทำไม Pride Month ต้องมีทุกมิถุนายน?

ขออนุญาตสวมหมวกคนขี้บ่นนิดหนึ่งครับ ในฐานะบ้านอยู่เมืองทองธานี เวลาบอกใครว่าอยู่เมืองทองฯ ส่วนใหญ่เขาจะพูดว่า “โห…ไกลจัง!!”

“Life is Short. Have an Affair.”

สารภาพเลยครับ คืนก่อนเขียนคอลัมน์นี้ ผมเปิด Netflix ลองหาเรื่องน่าสนใจดู คราวก่อนผมดู Stand-Up Special ของ Dave Chappelle ล่าสุด (The Dreamer)

“Don’t Have a Cow, Man!!!!”

ความจริงผมตั้งใจเขียนต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เรื่องการชุมนุมและประท้วงสงครามอิสราเอล-ฮามาส ตามมหาวิทยาลัยดังๆ ในสหรัฐ แต่บังเอิญมีเรื่องที่เป็นกระแสใหญ่ในบ้านเราที่ผมอดเขียนไม่ได้ครับ เ

การประท้วงตามมหาวิทยาลัยในสหรัฐ (ตอนที่ 1)

อุณหภูมิบ้านเรามันร้อนเหลือเกินครับ ไปไหนมาไหนมีแต่คนพูดถึงความร้อน ซึ่งมันก็ร้อนจริงๆ แต่ยังโชคดีที่สัปดาห์หน้า อุณหภูมิจะไม่ร้อนระอุเหมือนที่ผ่านมา จากอุณหภูมิร้อนระอุจะกลับสู่ภาวะร้อนธรรมดา ก็ยังดีครับ