ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้ ถือว่าเป็นการริเริ่มฤดูกาลหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาครับ เพราะในวันนั้นจะเป็นการ Debate รอบแรกระหว่าง Joe Biden กับ Donald Trump เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน Debate กับอดีตประธานาธิบดี
จะชอบหรือไม่ชอบ Trump เขาก็เป็นคนดึงเรตติ้ง Debate พุ่งสูงได้ครับ ในตอนที่ Debate กับ Hilary Clinton เป็นรอบประวัติศาสตร์ เพราะมีคนดูสูงสุดในประวัติการ Debate ที่เคยมีมา เขาไม่ค่อยมีเนื้อหาสาระอะไร แต่การพูดของเขาดึงดูดความสนใจทั้งจากฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายไม่เอาเขา คือเขาอ้าปากพูดอะไรปุ๊บ คนรักพร้อมจะปรบมือทันที และคนต้านพร้อมยกนิ้วกลางให้ ไม่ว่าเขาจะพูดอะไรก็ตาม
การ Debate ในครั้งนี้ถือว่ามาเร็วกว่าปกติ และเป็นครั้งแรกในฤดูกาลหาเสียงครั้งนี้ ที่ผู้สมัครทั้งคู่จะขึ้นเวที ซึ่งพองานนี้หมด ผมไม่แน่ใจว่าจะมีผลต่อผลสำรวจหรือไม่ จะมีผลต่อคะแนนนิยมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เพราะสำหรับกรณีของ Trump ผมไม่เชื่อว่าวิสัยทัศน์หรือการพูดของเขา จะทำให้คนที่เป็นกลาง คนที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร จะถูกโน้มน้าวให้เลือกเขา เพราะเขาพูดเอามันส์ พูดให้ฐานเสียงตัวเองปรบมือเสียงดังๆ แต่ไม่ได้พูดสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มอื่น
ส่วน Biden เขาต้องทำแค่สองอย่างคือ Look Presidential และสำคัญกว่านั้น Don’t Look So Old ถ้าทำได้ ไม่ใช่เฉพาะการ Debate ในครั้งนี้ แต่ทำตลอดฤดูหาเสียง ถ้าทำได้และทำได้ดี เขาชนะการเลือกตั้งครั้งนี้แน่นอนครับ
ผมเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า การ Debate ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น เกิดขึ้นตอนไหน และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ถ้าถามคนทั่วไปเขาจะบอกว่าเกิดขึ้นในยุคที่ Richard Nixon (ผู้เป็นประธานาธิบดี) ชิงกับ John F. Kennedy (ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต) ในปี 1960 แต่ความจริงมันเริ่มก่อนหน้านั้นเกือบร้อยปีก่อน เพียงแต่ครั้งของ Nixon-Kennedy ทำให้เป็นที่นิยม และเป็นรูปแบบที่เราคุ้นเคยจนถึงบัดนี้
ในยุคที่ Abraham Lincoln ยังเป็นวุฒิสมาชิกแข่งกับ Stephen Douglas ในปี 1858 นั้น การ Debate ไม่ได้เป็นรูปแบบที่เราคุ้นเคยกัน ในยุคนั้นเป็นการโต้วาทีแบบสดๆ Lincoln จะอภิปราย 3 ชั่วโมง ตามด้วย Douglas อภิปราย 3 ชั่วโมงเท่ากัน ประเด็นอภิปรายกันคือ เรื่องผลกระทบด้านศีลธรรมกับเศรษฐกิจ จาก Slavery เวทีนี้จัดประมาณ 7-8 รอบ
ที่มาคือ ก่อน Douglas จะยอมขึ้นเวทีร่วมกับ Lincoln ทาง Douglas จะตระเวนหาเสียงและปราศรัยตามจุดต่างๆ ในรัฐ Illinois แบบผู้สมัครทั่วไป Lincoln จะตามจี้ไปจุดเดียวกัน เพื่อหาเสียงและปราศรัยทับสิ่งที่ Douglas เพิ่งพูดไปเมื่อไม่กี่วันหรือกี่ชั่วโมงที่ผ่านมา ในทุกเวที Lincoln จะประกาศความพร้อม Debate Douglas แต่ Douglas ไม่พร้อมเพราะมัวแต่หลบหนี (Lincoln กล่าว) จนทำให้ Douglas ต้องยอมขึ้นเวทีปราศรัยร่วมกัน และในที่สุดชนะการเลือกตั้ง (ไม่น่าจะชนะเพราะ Debate อย่างเดียวหรอกครับ น่าจะมีปัจจัยอื่นด้วย) ส่วน Lincoln เองไม่ร่วมเวทีปราศรัยอะไรกับใคร ปีที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี (ปี 1860)
หลังจากนั้นกว่าจะมี Debate อีกรอบต้องผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีก 15 ครั้ง ระหว่างนั้นจะเป็นรูปแบบต่างคนต่างขึ้นเวทีของตนเอง ปราศรัยในเรื่องของตน และพาดพิงฝ่ายตรงข้าม แต่ไม่มีการโต้ตอบแบบสดๆ บนเวทีร่วมกัน
แต่ในปี 1948 เริ่มเห็นโครงความเป็น Debate (ที่เราคุ้นกัน) เพราะมีผู้สมัครพรรครีพับลิกัน 2 ท่าน (Thomas Dewey กับ Harold Stassen) Debate สดๆ ผ่านวิทยุ ซึ่งมีประมาณ 40-80 ล้านคนฟัง ผู้สมัคร 2 ท่านนี้ถกเถียงและโต้ตอบเรื่องปัญหาระบบ Communism ในสหรัฐ
ครั้งแรกที่ Debate ออกทีวี ไม่ใช่ Debate ระหว่าง Nixon-Kennedy ครับ แต่เป็นปี 1952 ที่ผู้สมัครทุกๆ คนขึ้นเวทีพร้อมๆ กัน ในเวทีที่ League of Women Voters (LWV) เป็นผู้จัด (ปีที่ Dwight D. Eisenhower ชนะ Adlai Stevenson)
ถึงแม้ Nixon-Kennedy จุดชนวนให้การ Debate เป็นที่นิยมก็ตาม ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป ผู้สมัครทุกคนที่รู้ตัวว่าขึ้นกล้องไม่ค่อยงามนัก ระแวงการออกทีวี เพราะเห็นกรณีของ Nixon ที่เหมือนฆ่าตัวตายและฆ่าโอกาสของตัวเอง เนื่องจาก Kennedy หล่อกว่าและพูดดีกว่า ผู้สมัครรายอื่นๆ เลยไม่กล้าออกทีวี บนเวทีที่ตัวเองควบคุมอะไรไม่ได้ เขาจะออกทีวีต่อเมื่อควบคุมสถานการณ์ได้ เช่น Lyndon Johnson ปฏิเสธการร่วม Debate ทุกเวทีในปี 1964 ส่วน Nixon เองก็ปฏิเสธร่วม Debate ทุกเวทีเช่นเดียวกันในปี 1968 เมื่อ Nixon เป็นประธานาธิบดีแล้ว เขาใช้อำนาจตำแหน่งประธานาธิบดีคว่ำ Equal Time Provision ในกฎหมาย Communications Act (ปี 1934)
กฎหมายฉบับนี้ระบุว่า ผู้สมัครทุกๆ คน ในการเลือกตั้งระดับชาติ ถ้าจะออกสื่อต้องออกสื่อเวลาเท่ากัน คือไม่ให้ช่องใดช่องหนึ่ง หรือสำนักใดสำนักหนึ่ง ออกแต่ผู้สมัครที่เขาโปรด และไม่ออกคนอื่นเลย ทุกคนต้องออกเท่ากัน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า ตามความจริง สื่อทุกแขนงมีความเห็นว่า ไม่อยากเอาเวลาหรือเนื้อที่ของตนให้ผู้สมัครทุกๆ คนเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ว่าเขาอยากจะเลือกข้าง (แต่ก็คงเลือกข้าง) แต่ไม่อยากให้เนื้อที่ (ที่เป็นเงินเป็นทอง) ให้ผู้สมัครทุกราย ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เลยมีการล็อบบี้สภาคองเกรสให้ปรับเรื่อง Equal Time Provision แต่ในที่สุด Nixon คว่ำความพยายามตรงนี้
เพราะนักการเมืองเก๋าๆ จะใช้ Equal Time Provision เป็นอาวุธแข่งกับคู่ต่อสู้เพื่อเอาเปรียบ
แค่ปฏิเสธร่วมเวที Debate จากผู้สมัครคนเดียว ก็ทำให้ทั้งเวทีต้องล่มครับ และ Nixon ใช้ตรงนี้ชนะการเลือกตั้งครั้งต่อไป ด้วยการปฏิเสธร่วม Debate ทุกครั้ง เลยทำให้ไม่มีการ Debate เกิดขึ้นได้ จนปี 1975 มีการ “สร้าง” ช่องโหว่หลีกเลี่ยงเรื่อง Equal Time Provision ด้วยการให้สมาคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับสื่อเป็นผู้จัด Debate แทน เพราะก่อนหน้านั้น สื่อเป็นเจ้าภาพการจัด Debate ครับ
สมาคมแรกที่ยกมือจัด Debate คือ League of Women Voters ที่ผมกล่าวถึง และเขาจัด Debate เป็นเวลา 8 ปีติดกัน จนกระทั่งปี 1988 ที่ The Commission on Presidential Debates (CPD) เป็นองค์กรจัดเวทีการ Debate ระดับเลือกตั้งประธานาธิบดี เขาจะดูเรื่องโพเดียมสูงเท่าไหร่ อุณหภูมิในห้องควรจะเท่าไหร่ เลือกผู้ดำเนินรายการ และทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ Debate ให้กับทั้งพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต ถือว่าเป็นระบบและเป็นระเบียบ แต่ทำให้เวที Debate ตามสคริปต์และตามรูปแบบครับ
การ Debate ในครั้งนี้ระหว่าง Biden กับ Trump จะเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1988 ที่ CBD ไม่ได้จัด Debate ครับ เจ้าภาพในครั้งนี้คือ CNN
วันนี้ถือเป็นการปูทางให้ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับ Presidential Debate ที่ผมว่าน่าสนใจครับ อย่างน้อยถือว่าเป็นความรู้รอบตัวที่แฟนคอลัมน์เอาไปอวดกับเพื่อนๆ ได้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
President Biden….You’re a Good Dad
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีสารพัดเรื่องที่น่าสนใจและน่าเขียนถึง เรื่องแรกต้องเป็นเรื่องประกาศกฎอัยการศึกในเกาหลีใต้ เพราะเป็นเรื่องไม่มีวี่แววว่าจะเกิดขึ้น และถือว่าเป็นการประกาศฟ้าผ่าทีเดียว
คุยเรื่อง…ที่ไม่ใช่เรื่อง
เผลอแป๊บเดียว วันนี้เราเข้าเดือนสุดท้ายของปีแล้ว ถือว่าเราเข้าฤดูกาลซื้อของขวัญสำหรับคริสต์มาสและปีใหม่อย่างเป็นทางการ ถึงแม้ตามห้างต่างๆ
'ศาลอาญาระหว่างประเทศ….มีไว้ทำไม?'
เมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court หรือ ICC) ได้ออกหมายจับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล Benjamin Netanyahu
'BRO!!!!!'
เกือบ 2 สัปดาห์กับผลการเลือกตั้งในสหรัฐ ที่สร้างความประหลาดใจให้กับคนทั่วไป เว้นบรรดานักวิเคราะห์แม่นๆ….หลังผลออกมา พวกนี้ยังพูดเต็มปากเต็มคำว่า
“ถ้าไม่เลือกเรา...เขามาแน่”...ทำให้เขาชนะขาดลอย
ผมไม่แน่ใจว่ากว่าแฟนคอลัมน์จะได้อ่านบทความนี้ เรื่องที่ผมจะเขียนนั้นมันแห้งเกินไปหรือเปล่า เพราะกว่าจะถึงวันที่ได้อ่านบทความนี้ เรื่องนี้อาจจะเก่าไปแล้วก็ได้
ผมจะไม่แปลกใจถ้าTrumpชนะ….แต่ผมจะแปลกใจถ้าHarrisแพ้
อีกไม่กี่วันข้างหน้าจะได้รู้กันว่าใครจะเป็นผู้นำ “The Free World” ระหว่างอดีตประธานาธิบดี กับอดีตรองประธานาธิบดี