หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการย้ายท่าเรือกรุงเทพ หรือท่าเรือคลองเตย ออกจากคลองเตยโดยเร็ว รวมถึงให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณาจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณท่าเรือคลองเตยของ กทท.ทั้งหมดกว่า 2,353 ไร่ จะสามารถนำพื้นที่มาปรับปรุงพัฒนาใหม่เพื่อใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นอย่างไร
โดยต้องทบทวนและศึกษาการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้มีความเหมาะสม และเป็นไปตามความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งการศึกษาจะต้องพิจารณารายละเอียดอย่างรอบด้านและครบทุกมิติอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อยกระดับการให้บริการ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ต้องเกิดประโยชน์สูงสุด และต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ เช่น ลดปัญหาความแออัดของชุมชน, แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด, แก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร ซึ่งรวมถึงการย้ายคลังและโรงเก็บน้ำมันที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย
ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งในการพัฒนานั้นจะต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แบบครบวงจร และยังครอบคลุมถึงการย้ายคลังและโรงเก็บน้ำมันที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งเบื้องต้นยังไม่รู้ว่าจะต้องย้ายท่าเรือออกไปทั้งหมดหรือบางส่วน และระยะเวลาในการย้ายจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
ขณะที่สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-30 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนจำนวน 2,500 คน ในเรื่องการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) พบว่า ประชาชนกว่า 70.3% ทราบถึงโครงการการย้ายท่าเรือคลองเตย และมีเพียง 29.7% ที่ไม่ทราบเรื่อง โดยการสำรวจระบุว่า มีประชาชนส่วนใหญ่ 70.7% เห็นด้วยต่อการย้ายท่าเรือกรุงเทพ ขณะที่ไม่เห็นด้วย 16.2% และไม่แสดงความคิดเห็น 13.1%
และจากการสำรวจเมื่อถามคิดเห็นถึงการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) จะทำให้เกิดประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เดิมอย่างไร ผลสำรวจพบว่า ประชาชน 40.2% ระบุว่า จะสามารถผสมผสานการใช้ประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ขณะที่ใช้ในเรื่องอื่นๆ 18.4%, ใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ด้อยโอกาส 16.7%, ใช้เป็นสวนสาธารณะ 11.3%, ใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 10.2% และใช้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 3.2%
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงช่องทางในการทราบโครงการการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) พบว่า ส่วนใหญ่ 34.9% รับทราบจากช่องทางอื่นๆ นอกเหนือจากการรับทราบแผนการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) จากอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ 24% ขณะที่ 14.2% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากแผ่นพับ โปสเตอร์ เอกสารประชาสัมพันธ์ ส่วน 12.4% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากวิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี นอกจากนี้ 9.3% ระบุว่า รับทราบข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และ 5.2% รับทราบข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่จากทางราชการ
จากโพลดังกล่าวนี้ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทย มองว่า จากผลสำนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (นอร์ทกรุงเทพโพล) ได้เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีการย้ายท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ออกจากพื้นที่เดิม ว่า ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 70.7% เห็นด้วยกับการย้ายท่าเรือกรุงเทพ โดย 40.2% มองว่าจะทำให้เกิดประโยชน์จากที่ดินในพื้นที่เดิม โดยการใช้พื้นที่ผสมผสานในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัด พร้อมทั้งช่วยแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จากรถขนส่งที่วิ่งเข้า-ออกในบริเวณดังกล่าว รวมถึงลดปัญหาความแออัดของชุมชนด้วยนั้น
อย่างไรก็ตาม การจะย้ายหรือจะทำอะไรต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ฝึกงาน
ขยี้ตาสิบที... แถลงผลงานในรอบ ๓ เดือนแน่นะ "อิ๊งค์" ไปดูอีกทีกับการแถลงข่าววานนี้ (๑๒ ธันวาคม)
ประชาธิปไตยล้าหลังเพราะ..?
ควรเปลี่ยนแปลงตัวเองก่อนไหม? ผมถามคุณวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรน่ะ เห็น 2-3 วันก่อนท่านให้สัมภาษณ์ว่า..
ใช้ซื้อข้าวมาแล้ว
ตั้งแต่ เศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป เนติบริกร-วิษณุ เครืองาม อดีตที่ปรึกษาของนายกฯ หายไปด้วย
ร่างฯ 'หัวขวด' เพื่อใคร?
"นักการเมือง" คือคนโง่ เพราะทำอะไรก็ยาก มีกฎหมายหลักคือรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกคือ พ.ร.บ.ต่างๆ
บันทึกหน้า 4
ถึงกับว้าว! "อิ๊งค์" ทอล์กโชว์ อลังการงานสร้าง เวทีใหญ่สวยงาม จัดเต็มแสงสีเสียง ยกเว้นเรื่องเดียว "สาระ" เนื้อหาผลงาน 90 วัน รัฐบาลแพทองธาร
ชะตากรรม 'นายกฯ ชินวัตร'
วันนี้ (๑๒ ธันวาคม) นายกฯ อิ๊งค์ แถลงผลงาน อยากรู้ว่าผลงานมีอะไรบ้าง เชิญเฝ้าหน้าจอสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที หรือช่อง ๑๑ นั่นแหละครับ