“ทีทีบี”ตอกย้ำการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน ปักธงภารกิจองค์กรสู่การสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย

การแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน เรื่อง “เทคโนโลยีดิจิทัล” กลายมาเป็นไม้เด็ดของหลากหลายธุรกิจ ด้วยความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำนำสมัย การพัฒนากลยุทธ์ที่อิงกับเทคโนโลยีดิจิทัล จึงเป็นประเด็นสำคัญที่อาจจะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ไม่ว่าจะในธุรกิจใด โดยเฉพาะ “สถาบันการเงิน” ที่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันการแข่งขันกันพัฒนาในแง่ของความทันสมัยในโลกยุคดิจิทัล เพื่อให้มีบริการที่ก้าวล้ำตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เป็นสิ่งที่หลายสถาบันการเงินกำลังขับเคี่ยวกันอยู่ในขณะนี้

หนึ่งในสถาบันการเงินที่น่าจับตามองในแง่ของการพัฒนาบริการต่างๆ ที่ทันยุคทันสมัย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคเทคโนโลยีก้าวล้ำ คงหนีไม่พ้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) เพราะที่ผ่านมาไม่เคยหยุดพัฒนาบริการที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า ซึ่ง เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการทีเอ็มบีธนชาต ได้มาเปิดแผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรปี 2567 โดยปักหลักมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการผ่าน Ecosystem Play ด้วยการมุ่งเน้นการใช้ช่องทางดิจิทัลเป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนาความสัมพันธ์ และดูแลลูกค้าในระดับบุคคลตลอดทุกช่วงเวลา

เอกนิติ กล่าวว่า ผลสำเร็จจากการรวมกิจการทำให้ทีทีบีแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือลูกค้าได้รอบด้าน พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด The Bank of Financial Well-being โดยต่อยอดจากฐานลูกค้าที่มีมากขึ้นและเพิ่มศักยภาพด้านดิจิทัล ผ่านการเปิดตัวเวอร์ชันใหม่ ttb touch ในปี 2565 เพื่อยกระดับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และเพื่อสร้างความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการผ่านกลยุทธ์การทำ Ecosystem Play บนกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารมีความชำนาญและมีฐานลูกค้าเป็นแต้มต่อ เช่น กลุ่มพนักงานเงินเดือน คนมีรถ คนมีบ้าน สอดรับกับกลยุทธ์ระยะกลางถึงระยะยาวที่ธนาคารได้วางเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนธุรกิจบนช่องทางดิจิทัลและเพิ่มประสบการณ์ทางการเงินของลูกค้า เพื่อให้ธนาคารสามารถพัฒนาความสัมพันธ์และดูแลลูกค้าได้ในระดับบุคคลตลอดทุกช่วงเวลาท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวค่อนข้างช้า และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อลูกค้า

“ทีทีบี ในฐานะ D-SIBs Bank ยังคงเดินหน้าดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจหลักในการช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจ โดยธนาคารได้ให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพราะเรื่องหนี้เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ในขณะที่ลูกค้าธุรกิจก็ต้องการความช่วยเหลือในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Transition Finance) เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคตและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ธนาคารจึงได้นำหลักคิดเหล่านี้มาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งเป็นผลดีต่อทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้น และสิ่งแวดล้อม”

เอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนอย่างยั่งยืนและเป็นระบบมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยตั้งแต่ต้นปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เพื่อสานต่อการแก้หนี้ครัวเรือน ยกระดับการบริหารจัดการด้านสินเชื่อให้มีความรับผิดชอบและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมให้ลูกค้าที่มีความจำเป็นก่อหนี้ใหม่อย่างมีคุณภาพ และมีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น

 ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทีทีบีได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับพันธกิจในการช่วยให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น โดยในปี 2566 ธนาคารได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านสินเชื่อสำหรับรวบหนี้/โอนยอดหนี้/สวัสดิการ มากกว่า 17,000 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมกว่า 6.7 พันล้านบาท ช่วยลูกค้าประหยัดดอกเบี้ยไปได้กว่า 1.2 พันล้านบาท       สำหรับความโดดเด่นของทีทีบีในด้าน Responsible Lending คือ การจัดทีม Loan Specialist มากกว่า 900 คนที่สาขา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สินเชื่อแบบครอบคลุม จึงสามารถแนะนำสินเชื่อที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ตรงความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ สินเชื่อส่วนบุคคล หรือโซลูชันรวบหนี้ เป็นต้น และมีโปรแกรมสวัสดิการพิชิตหนี้เพื่อมนุษย์เงินเดือน และเครื่องมือวัดระดับสุขภาพทางการเงินฟรีให้กับลูกค้าที่ใช้บัญชีเงินเดือนทีทีบี

โดย ปัจจุบันมีลูกค้าที่สามารถเข้าถึงสินเชื่ออเนกประสงค์ทีทีบี (ttb welfare loan) ได้มากกว่า 350,000 ราย และสำหรับลูกค้าทีทีบีที่เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้ ธนาคารจะแนะนำให้ลูกค้ามาปรึกษากับทีมงานผู้เชี่ยวชาญของทีทีบี เพื่อปรับเทอมการจ่ายและค่างวดให้เหมาะสมกับความสามารถปัจจุบัน หรือปรับโครงสร้างหนี้ และในอนาคตทีทีบีจะมีทีมโค้ชปลดหนี้ที่จะช่วยให้คำปรึกษากับกลุ่มลูกค้าบัญชีเงินเดือนของธนาคารต่อไป

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้กลายเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนของโลก ซึ่งทีทีบีได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังมานานแล้ว และในปี 2567 คณะกรรมการธนาคารมีมติประกาศเป้าหมายสำคัญ ปักหมุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เพื่อให้สอดรับตามเป้าหมายของประเทศไทย โดยความมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคารสะท้อนผ่านการดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร (Scope 1 and 2) รวมไปถึงการให้สินเชื่อในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Scope 3) และธนาคารเล็งเห็นถึงความรับผิดชอบและความสามารถในการสร้างโซลูชันทางการเงินที่จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน เพราะบทบาทของธนาคารไม่ใช่การนำพาตัวเองไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ผ่านการให้สินเชื่อ ให้คำปรึกษา และสนับสนุนลูกค้าบนเส้นทางการเปลี่ยนผ่านนี้

โดยในส่วนของการให้สินเชื่อ และการให้คำปรึกษาลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ธนาคารได้ตั้งวงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ในปี 2567 สำหรับการปล่อยสินเชื่อเพื่อธุรกิจ หรือโครงการที่ต้องการมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งยังมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่สนับสนุนกลุ่มธุรกิจที่ต้องการปรับตัว และธนาคารยังคงสานต่อโครงการเสริมสร้างความรู้ความสามารถให้กับลูกค้าธุรกิจ ผ่านการจัดสัมมนาที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ในการเผชิญหน้ากับกฎระเบียบใหม่ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมช่วยให้คำปรึกษาและวางแผนให้กับธุรกิจที่มีความประสงค์ที่จะมุ่งสู่ Net Zero

“นอกจากความแข็งแกร่งและความพร้อมของธนาคารในการเดินหน้าสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นผ่านกลยุทธ์ Ecosystem Play แล้ว ทีทีบียังได้ผนวกเรื่องความยั่งยืนเป็นเนื้อเดียวกันกับการดำเนินธุรกิจ พร้อมยกระดับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ทั้งด้านธุรกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี ตอกย้ำการเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) และมุ่งสู่ Net-zero Commitment” เอกนิติ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุกเมืองโคโลญจ์ส่องมหาวิหารสูงเสียดฟ้า ตะลุยปราสาทกลางหุบเขาและวังมังกร

ช่วงที่อากาศประเทศไทยร้อนจนต้องร้องขอชีวิตแบบนี้ ไม่ต่างกับการเอาตัวเองไปอยู่ในตู้อบ เพราะอุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียสเกือบทุกวัน หลายคนคงวางแผนหาวิธีดับร้อนกันหลากหลายวิธี

เซ็นแล้ว 'เนต้า' เซ็นเข้าร่วม มาตรการ EV 3.5 กับกรมสรรพสามิต

สรรพสามิตลงนาม MOU กับ “เนต้า ออโต้” ตามมาตรการ EV 3.5 มุ่งเน้นขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญ

‘อ้วยอันโอสถ’ภารกิจปั้นแบรนด์สู่นิวลุกส์ พัฒนาสินค้ารับเทรนด์สมุนไพรมาแรง

สำหรับ บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด นั้น นับเป็นแบรนด์ยาสมุนไพรที่อยู่คู่คนไทยมายาวนาน 77 ปี ที่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรในหลายหมวดและมีมากกว่า 100 รายการ

เปิดประสบการณ์เยือน“แดนมังกร”แบบใจฟู! มนตร์เสน่ห์ครบเครื่องทั้งความอลังการทันสมัยและสถาปัตยกรรมสุดงดงาม

ถ้าพูดถึง “จีน” โดยเฉพาะเวลาไปท่องเที่ยว คนส่วนใหญ่จะยังติดภาพจีนในเวอร์ชันเดิมๆ คนเสียงดังๆ ห้องน้ำที่อาจจะไม่ค่อยสะอาด และเวลาเข้าจะต้องคอยลุ้นเสมอว่าจะเจอแจ็กพอร์ตหรือไม่

รฟท.โชว์ขบวนรถไฟท่องเที่ยวสุดหรู “SRT ROYAL BLOSSOM”ปักหมุดเปิดบริการกลางปีนี้

ได้รับความสนใจไม่น้อย หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดวาร์ปรถไฟท่องเที่ยวขบวนใหม่ SRT ROYAL BLOSSOM ที่ดัดแปลงมาจากขบวนรถญี่ปุ่น Hamanasu

พงศภัค นครศรี GEN 3 ที่สานต่อธุรกิจครอบครัว รับเทรนด์ ESG โต

นับตั้งแต่ปี 2563 พงศภัค นครศรี ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหาร บริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด หรือ BCC ซึ่งนับว่าเป็นผู้นำเทคโนโลยีการผลิตสายไฟฟ้าและสายเคเบิลระดับภูมิภาค