
10 กรกฎาคม 2565 นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 401,106 คน ตายเพิ่ม 568 คน รวมแล้วติดไป 560,112,909 คน เสียชีวิตรวม 6,372,030 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อิตาลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เม็กซิโก และไต้หวัน
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 73.47 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 63.55
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
…Long COVID ในออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียได้เผยแพร่ข้อมูล คาดประมาณว่าขณะนี้ออสเตรเลียประสบปัญหาผู้ป่วย Long COVID สูงถึง 400,000 คน
ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะทุพพลภาพ กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเรียกร้องให้รัฐบาลเตรียมแผนรับมือปัญหา Long COVID อย่างจริงจัง ทั้งเรื่องระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแลรักษา ฟื้นฟูสภาพ รวมถึงระบบสนับสนุนทางสังคมและสวัสดิการต่างๆ
สถิติจาก Worldometer จะพบว่าปัจจุบันประเทศออสเตรเลียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมราว 8.45 ล้านคน และแต่ละวันขณะนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่ราว 37,000 คน
…ตัวเลขสถานการณ์ของไทยนั้น แม้ในระบบรายงานจะมีจำนวนติดเชื้อสะสมที่ 4.54 ล้านคน แต่เป็นตัวเลขที่รายงานเฉพาะ RT-PCR โดยไม่ได้รวมจำนวนคนที่ตรวจพบว่าติดเชื้อจาก ATK เลย
ดังนั้นหากรวม ATK ตั้งแต่ที่มีรายงานเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ตัวเลขสะสมจะเกือบ 7 ล้านคน เฉพาะที่รายงาน ATK ในระบบ (ซึ่งในช่วงหลังที่ผ่านมา เราทราบจากข่าวกันชัดเจนว่า ตัวเลขที่รายงาน ATK นั้นน้อยกว่าความเป็นจริง)
จึงเป็นไปได้สูงว่า สถานการณ์ประเทศไทยนั้นมีจำนวนคนติดเชื้อไปแล้วอาจสูงเทียบเท่ากับออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ อาร์เจนติน่า หรือญี่ปุ่น
และสิ่งที่ควรตระหนักคือ ปัญหา Long COVID ที่จะเกิดขึ้น และส่งผลบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศในระยะยาว
รัฐจึงควรขันน็อตมาตรการควบคุมป้องกันโรค สร้างความตระหนักถึงสถานการณ์จริง ด้วยการนำเสนอข้อมูลจริงอย่างละเอียด เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้อันตรายและความเสี่ยงที่แท้จริงในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่สถานการณ์การระบาดกระจายไปทั่ว และมีการติดเชื้อจริงในแต่ละวันสูงมาก
ที่เป็นห่วงคือ การนำเสนอข้อมูลที่ต่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก รวมถึงการตัดสินใจนโยบายโดยอาศัยกราฟข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ย่อมส่งผลกระทบมากมายตามมา
ทั้งนี้กลไกสนับสนุนต่างๆ ทางการรักษาพยาบาล รวมถึงการเงินและบริการทางสังคมนั้นลดน้อยถอยลงกว่าช่วงก่อนๆ เพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณ หากมีปัญหาผู้ป่วย Long COVID จำนวนมากเกิดขึ้น ระบบที่จะรองรับ ติดตาม ดูแล รักษา ฟื้นฟูสภาพ ทั้งด้านสุขภาพและสังคม อาจไม่สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจะตกอยู่ในสภาพเตี้ยอุ้มค่อม สู้ศึกทั้งหน้าและหลังไปพร้อมกัน โอกาสที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นการนำเสนอภาพจริง กระตุ้นเตือนให้เน้นการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
…ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก…
ขณะเดียวกัน หมอธีระ โพสต์ว่า เลิกสร้างภาพลวงเสียที
ภาวะวิกฤติ ประชาชนควรได้รับรู้สถานการณ์จริง เพื่อจะได้ตระหนัก รู้เท่าทัน และประพฤติปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
อย่าสร้างบาปกรรมมากไปกว่านี้เลยครั
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บทเรียนจากญี่ปุ่นในการรับมือสังคมสูงวัยสำหรับประเทศไทย
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในปี 2035 ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 28% ของประชากรทั้งหมด สถานการณ์นี้คล้ายคลึงกับประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และปัจจุบันมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่า 28% ของประชากรทั้งหมด (World Bank, 2021) อย่างไรก็ดี ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนากลยุทธ์และนโยบายหลายด้านเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้
รัฐบาลโวไทยคว้ารางวัลจุดหมายปลายทางยอดเยี่ยมกลุ่ม LGBTQ
นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยสร้างชื่อเสียงระดับโลกอย่างต่อเนื่อง ด้วยการได้รับรางวัล “Best LGBTQ Destination” จากผลโหวตของผู้อ่าน Spartacus Magazine นิตยสารท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ชื่อดังของเยอรมนีสำหรับกลุ่ม LGBTQ+
'วราวุธ' สรุปผล ร่วมประชุม กมธ.ว่าด้วยสถานภาพสตรี ที่ UN แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลายประเทศชื่นชม พม.-ขอนำตัวอย่างไปขยายผล
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงผลการนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีสมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women) หรือการประชุม CSW 69 ซึ่งปี 2568 เป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาปักกิ่ง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
ดร.เสรี วิจารณ์ 'แพทองธาร' แต่งตัวตามแฟชั่นขาดรสนิยม แนะลด 'อีโก้' พัฒนาทักษะ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา วิจารณ์การแต่งกายของนายกฯแพทองธาร โดยมองว่าแต่งตามสมัยนิยมไม่เหมาะสมกับรูปร่างตัวเอง และเสี่ยงที่จะดูแย่ แนะนำลดอีโก้และพัฒนารสนิยมเพื่อให้ประเทศดูดีขึ้น
ไทยแสดงความยินดี ประกาศหยุดยิงในฉนวนกาซา พร้อมปล่อยตัวประกัน
กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand โพสต์ข้อความระบุว่า ประเทศไทยแสดงความยินดีต่อการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงและการปล่อยตัวประกันในฉนวนกาซา