'ดร.อนันต์' เผยงานวิจัย 'แม่ลูกอ่อน' ถ้าได้รับวัคซีน mRNA มีโอกาสพบวัคซีนปนออกมาจากน้ำนมด้วย

'ดร.อนันต์'เผยงานวิจัยวัคซีนไปได้ไกลกว่าที่คาด แม่ลูกอ่อนที่อยู่ในช่วงให้นมลูก ถ้าได้รับวัคซีน mRNA มีโอกาสพบวัคซีนปนออกมาจากน้ำนมด้วย แนะงดให้นมจากเต้าโดยตรงภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน

28 ก.ย.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า

งานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA พบว่า แม่ลูกอ่อนที่อยู่ในช่วงให้นมลูก ถ้าไปได้รับวัคซีน mRNA ไม่ว่า Moderna หรือ Pfizer มีโอกาสพบวัคซีนปนออกมาจากน้ำนมด้วย โดยการศึกษานี้ให้คุณแม่ที่เพิ่งไปรับวัคซีนมา ภายใน 1 ชั่วโมงถึง 5 วันหลังฉีดวัคซีน แล้วเก็บตัวอย่างน้ำนมมาตรวจหาวัคซีนด้วยวิธี RT-PCR ทีมวิจัยพบว่า ตัวอย่างน้ำนมของคุณแม่หลายท่านสามารถตรวจพบวัคซีนปลดปล่อยออกมาได้ นานสุดที่ 45 ชั่วโมงหลังได้รับวัคซีน หลังจาก 48 ชั่วโมงไปไม่สามารถตรวจพบได้ โดยวัคซีนที่ออกมากับน้ำนมจะอยู่ในส่วนที่เรียกว่า extracellular vesicles คล้ายๆกับถุงเก็บ mRNA ที่ปล่อยออกมานอกเซลล์ในต่อมน้ำนม และ ปนออกมาพร้อมกับน้ำนม

ข้อมูลนี้น่าสนใจตรงที่ว่า หลายๆคนเชื่อว่าวัคซีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้ออาจจะไม่ได้ไปไหนไกล คงเดินทางไปกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวในบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณใกล้ตำแหน่งที่ฉีดวัคซีน และ mRNA อาจจะอยู่ในร่างกายไม่นานเพราะเสื่อมสลายได้ง่ายกว่าวัคซีนชนิดอื่น แต่จากข้อมูลชุดนี้ทำให้เห็นว่า วัคซีนไปได้ไกลกว่าที่คาด จากกล้ามเนื้อแขนสามารถส่งต่อมาที่เซลล์ในต่อมน้ำนมของแม่ได้ ซึ่งอาจจะส่งมาทางกระแสเลือด หรือ น้ำเหลืองผ่านระบบนำส่งของวัคซีน และ อย่างน้อยอยู่ในร่างกายได้เกือบ 48 ชั่วโมง

การศึกษานี้ไม่ได้ระบุอะไรเกี่ยวกับผลของ mRNA vaccine ที่ป้อนให้เด็กทารกผ่านทางน้ำนมในช่วงที่มีการปนของวัคซีนอยู่ แต่ผู้เขียนให้ข้อระมัดระวังไว้ว่า คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมลูกอาจจะงดให้นมจากเต้าโดยตรงภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน เพื่อเป็นการป้องกันผลจากการับวัคซีนที่ปนออกมาต่อเด็กน้อย
https://jamanetwork.com/.../jamape.../fullarticle/2796427...

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

งานวิจัยแดนปลาดิบชี้สารใน 'ชาเขียว-ดำ' ช่วยยับยั้งโอมิครอนได้ดี!

ข่าวดีเล็กๆ นักไวรัสวิทยาเผยมีการวิจัยสัญชาติปลาดิบเพิ่งตีพิมพ์ สารที่อยู่ในชาเขียวและชาดำช่วยยับยั้งไวรัสโอมิครอนได้ดี ลองผลิตเป็นลูกอมทดสอบแล้วแต่ใช้ได้แค่ 15 ปีเมื่อหมดก็สิ้นฤทธิ์