ศูนย์จีโนมฯ แจงโควิด 6 พันธุ์ย่อยกำลังระบาด พบในไทยแล้ว 3 สาย

14 ต.ค. 2565 – ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics” ว่า นักวิจัยทั่วโลกได้ร่วมกันถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 มาตลอด 3 ปี ทำให้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างเป็นต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 (ด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง) เริ่มตั้งแต่ต้นกำเนิดจาก “ไวรัสอู่ฮั่น” ได้มีการวิวัฒนาการกลายพันธุ์เกิดเป็นทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยแตกกิ่งก้านมาทดแทนกันอย่างต่อเนื่อง (phylogenetic tree) จนล่าสุดเกิดเป็นโอมิครอน กลุ่มเพนตากอน อย่างน้อย 6 สายพันธุ์ย่อย BQ.1.1, BF.7, BA.2.3.20, BA.2.75.2, BN.1, และ XBB

จากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมโควิดโลก “GISAID” ในประเทศไทยพบโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BF.7 จำนวน 2 ราย, BN.1 จำนวน 3 ราย, BA.2.75.2 จำนวน 5 ราย (ณ วันที่ 13/10/2565)

แม้จากข้อมูล GISAID จะพบการระบาดของแต่ละสายพันธุ์อยู่ในราว 200 – 2,000 ราย แต่มีการเพิ่มจำนวนมากกว่า 105 % หรือเท่าตัวในทุกๆ สัปดาห์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกคาดว่าจะระบาดมาแทนที่ BA.5 ในสิ้นปีนี้หรือต้นปี 2566.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 480 ราย ดับเพิ่ม 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 19 – 25 พ.ย. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 480 ราย

‘หมอธีระ’ ห่วงผู้ป่วยปอดอักเสบในไทย ปีนี้มากกว่าปี65 ถึง 30%

สถิติผู้ป่วยปอดอักเสบ (Pneumonia) ของไทย จากมกราคม ถึงตุลาคม 2023 พบว่า จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบที่รายงานสู่ระบบรายงาน 506 ของกระทรวงสาธารณสุข

หมอธีระวัฒน์ ย้ำชัดไม่ร่วมมือวิจัยและตัดต่อพันธุกรรมเชื้อไวรัสในค้างคาว หลังพบมีความเสี่ยงสูง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว