นักไวรัสวิทยา เปิดผลวิจัยบูสเตอร์ด้วย 'ไฟเซอร์' ภูมิตกเร็วกว่า 'แอสตร้าเซนเนก้า'

28 ก.ย.64 -  ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่าทีมวิจัยของ มธ กับ ทีมวิจัยของ BIOTEC สวทช เก็บข้อมูลระดับภูมิคุ้มกันของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับ Sinovac 2 เข็ม และ ฉีดเข็มกระตุ้นด้วย AZ และ PZ และ เปรียบเทียบระดับภูมิคุ้มกันใน 2 กลุ่มนี้ครับ

กลุ่มที่ได้เข็มกระตุ้นด้วย PZ มีระดับแอนติบอดีต่อโปรตีนสไปค์สูงกว่า AZ อย่างมีนัยสำคัญ (3500 vs 1500) แต่ ที่น่าสนใจคือ ภูมิจาก AZ ตกช้ากว่าครับ เพราะเมื่อวัดที่45 วันหลังกระตุ้น ระดับแอนติบอดีได้ที่ 1500 เหมือนเดิมกับที่วัดที่ 14 วัน ขณะที่กลุ่ม PZ วัดที่ 30 วันหลังกระตุ้น หรือ 2 อาทิตย์หลังจุด peak ค่าแอนติบอดีตกลงมาจาก 3500 ไปที่ 2800 ซึ่งตกลงมาไวพอสมควร

ถามว่า ภูมิ 1500 ของ AZ ที่กระตุ้นขึ้นมาจะพอหรือไม่ต่อการป้องกันเดลต้า ค่า % inhibition ต่อการยับยั้งการจับกันของสไปค์เดลต้ากับ ACE2 อยู่ที่ 91% ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่รับได้ครับ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับค่า baseline ก่อนกระตุ้น ภูมิที่ได้มาถือว่าช่วยป้องกันเดลต้าได้ดีขึ้นมากครับ ส่วนภูมิจากการกระตุ้น PZ ถือว่าสูงมาก แต่ถ้าตกไว ก็คงต้องดูว่า จะตกลงมาต่ำกว่าค่าที่ AZ ทำได้เมื่อไหร่ครับ

ต้องชื่นชมทีมวิจัยนำโดย คุณหมอสิระ แห่ง มธ และ ดร.พีร์ ดร.อรวรรณ แห่ง BIOTEC สวทช และ ทีมวิจัยคนอื่นๆอีกหลายคน ที่สร้างสรรค์ผลงานนี้ครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ระบายผลพวงวันซีนโควิด 19  โดน AI ปั่นอ้างชื่อหากิน แถมบอกเจอบริษัทยาฟ้อง

หลังจากที่โควิด เริ่มสงบ ก็มีการเอารูปของเรา ไปโฆษณาขายของกันมากมาย อ้างว่าเป็นคนบอกว่ามีสรรพคุณที่ดี เช่นโรคหัวใจ โรคต่างๆมากมาย ทั้งที่เราไม่เชี่ยวชาญเลย และไม่เป็นความจริง

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า