หมอธีระยกผลวิจัยมหาวิทยาลัยโตเกียวแดนปลาดิบเตือนเรื่องสายพันธุ์ XBB.1.5 บอกสามารถแพร่ได้รุนแรงกว่า XBB ทุกสายพันธุ์ ตอกย้ำเรื่องป้องกันตัวเอง เพราะการป่วยไม่ใช่เรื่องชิล
18 ม.ค.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 18 มกราคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 218,691 คน ตายเพิ่ม 715 คน รวมแล้วติดไป 671,780,889 คน เสียชีวิตรวม 6,732,840 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.5 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 93.42
...ข้อมูลการระบาดของจีน
ข้อมูลการตรวจสายพันธุ์จาก GISAID จนถึง 16 มกราคม 2566 จะพบว่า BF.7.2 และ BA.5.2.48 ครองการระบาด แต่มีตัวอื่นๆ หลากหลาย รวมถึง BQ.1.x, CH.1.1, และ XBB.1.5
...อัพเดต XBB.1.5
ทีมงานจากมหาวิทยาลัยโตเกียว เผยแพร่ผลการวิจัยใน bioRxiv เมื่อวานนี้ 17 มกราคม 2566 พบว่า XBB.1.5 นั้นมีสมรรถนะในการแพร่จากคนติดเชื้อไปผู้อื่นได้มากกว่า BQ.1.1 ราว 1.2 เท่า
นอกจากนี้ยังจับกับตัวรับ ACE2 ที่ผิวเซลล์เป้าหมายได้แน่นกว่า 4.3 เท่า รวมถึงสามารถติดเชื้อในเซลล์เป้าหมายได้มากกว่า BQ.1.1 ถึง 3.3 เท่า
ทีมวิจัยประเมินว่า XBB.1.5 นี้เป็นสายพันธุ์ย่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการระบาดได้มากกว่าตัวอื่นที่เคยมีมาของตระกูล XBB เพราะเกิดการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง S:F486P
...สำหรับไทยเรา
การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน พบปะผู้คน สังสรรค์ปาร์ตี้ เดินทางท่องเที่ยว ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง มีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ
คนเยอะ คลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว ระบายอากาศไม่ดี เป็นความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อแน่นอน ไม่สบาย ให้รีบตรวจ หากติดเชื้อ แยกตัวอย่างน้อย 7-10 วันจนอาการดีขึ้นและตรวจได้ผลลบ แล้วค่อยออกมาใช้ชีวิต ป้องกันเคร่งครัดจนครบสองสัปดาห์
ติดแต่ละครั้ง ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
Uriu K et al. Enhanced transmissibility, infectivity and immune resistance of the SARS-CoV-2 Omicron XBB.1.5 variant. bioRxiv. 17 January 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก