'โอไมครอน'จาก'ผู้ร้าย' อาจกลายเป็น'พระเอก'

4 ธ.ค.2564- ศูนย์จีโนมทางการพทย์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี (Center for Medical Genomics ) ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอนว่า

ข่าวดีจากโควิด-19 “โอมิครอน” ที่อาจเกิดขึ้นในอีก 2 อาทิตย์ข้างหน้า จาก “วายร้าย” อาจพลิกกลับมาเป็น “พระเอก” เปลี่ยนจาก “ตระหนก” มาเป็น “ตระหนัก”


เราได้รับข่าวสารอันเป็นการคาดการณ์สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (Worst case scenario) ของ “โอมิครอน” กันมามากพอสมควร ดังนั้น post นี้ขอนำเสนอ การคาดการณ์สถานการณ์ที่ดีที่สุด โชคดีที่สุดที่ควรเป็นไปได้ (Best case scenario) ของ “โอมิครอน” บ้าง

ซึ่งเราน่าจะได้คำตอบภายใน 2-3 อาทิตย์ว่าบทสรุปแนวทางไหน (Worst or Best case scenario) จะถูกต้อง

Dr. John L. Campbell เป็นผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียของอังกฤษได้รับความสนใจในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 สำหรับวิดีโออธิบายและข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับไวรัส ดร. แคมเบล สรุปประเด็นของโรคโควิด-19 ได้ดีมาก โดยมีผู้ติดตามถึง 1.6 ล้านคนผ่านช่องทาง “Youtube” เนื่องจากการบรรยายของท่านจะอ้างอิงจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้เป็นหลัก

โดยท่านได้สรุปประเด็นของ “โอมิครอน” ไว้อย่างน่าสนใจซึ่งตรงกันหลายประเด็นที่ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้คือ


วัคซีนเชื้อตายอาจช่วยปกป้องการติดเชื้อ “โอมิครอน” ได้ดีหรือไม่? เพราะวัคซีนเชื้อตายเป็นการใช้เชื้อไวรัสทั้งตัวเข้ากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งแม้จะกระตุ้นภูมิได้ไม่สูงเมื่อเทียบกับวัคซีนประเภทอื่น แต่จะกระตุ้นให้เกิด “แอนติบอดี” มากมายกว่า 20 ชนิด ต่างจากการใช้วัคซีนที่มีไวรัสเป็นพาหะ หรือวัคซีน mRNA ซึ่งภูมิจะขึ้นสูงกว่าแต่จะจำเพาะเจาะจงเฉพาะส่วน “หนาม” เพราะใช้เพียงส่วนหนามเข้ากระตุ้นภูมิเท่านั้น ดังนั้นหากติดเชื้อ “โอมิครอน” ที่ส่วนหนามเปลี่ยนไป อาจทำให้แอนติบอดีในร่างกายเราที่สร้างจากการกระตุ้นเพียงส่วนหนาม (จากวัคซีนไวรัสพาหะ และวัคซีน mRNA) ลดประสิทธิ์ภาพในการป้องกัน “โอมิครอน” ลงได้ ซึ่งทางผู้ผลิตวัคซีน mRNA ทั้งสองบริษัทใหญ่ก็ออกมายอมรับว่าอาจเป็นไปได้ว่าประสิทธิภาพของวัตซีนต่อ “โอมิครอน” อาจลดลงบ้าง (https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4545758232198588)


และกรณีไวรัสกลายพันธุ์จนสามารถแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว (high transmissibility) ก็มักจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง (mild symptom) โดยไวรัสเองจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน (immune escape) ได้ลดลงเช่นกัน เหตุการลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นมาแล้วกับสายพันธุ์ “บีตา” ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนา 2019 ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี (immune escape) แต่แพร่ติดต่อได้ไม่ดี จนถูก สายพันธุ์“เดลตา” ซึ่งแพร่ติดต่อได้รวดเร็วกว่า (more transmissibility) เข้ามาแทนที่ โดย “เดลตา” เองแม้จะแพร่ติดต่อได้ดีแต่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีนัก


หากคาดการณ์สถานการณ์ที่เป็นไปอย่างดีที่สุด โชคดีที่สุดที่ควรเป็นไปได้ (Best case scenario) “โอมิครอน” ซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปมาก และจากข้อมูลล่าสุดพบว่า สามารถแพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนได้รวดเร็วกว่า “เดลตา” จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาแทนที่เดลตาในที่สุด โดยผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการรุนแรง (mild symptom) ทำให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดภูมิคุ้มกันโดยไม่ล้มเจ็บต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิต


“โอมิครอน” หากเข้ามาแทน”เดลตา” ได้สำเร็จ อาจช่วยลดระดับความรุนแรงของการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ที่มีอาการลดลงในที่สุด


เสมือนกับการให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็น แต่อ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) แก่คนทั่วโลก (โดยธรรมชาติจัดให้) ซึ่งเราน่าจะได้คำตอบภายใน 2-3 อาทิตย์ว่าบทสรุปแนวทางนี้ถูกต้องหรือไม่


ติดตามการบรรยายเต็มประมาณ 19 นาทีได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=Ls7zy6_0Z2s
Omicron, Guess work so far More transmissibility.
Some vaccine escape
Some natural infection escape
Causing reinfections in SA in people that had had infection and vaccination
Mostly mild symptoms in the vaccinated
Effecting younger people
Sinovac recipients may do well
Global within the week
Lateral flow tests still work
Every vaccinated and unvaccinated person will encounter this variant
Tiredness, headache, body aches, scratchy throat, dry cough

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! วัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายเห็นผลชะงัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาฯ บอกข่าวดีวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายจากการติดเชื้อเห็นผลชัดเจน หลังผลวิจัยในอิสราเอลที่ฉีดถึง 6 แสนคนลดอัตรานอน รพ.และตายถึงกว่า 80%

'ศูนย์จีโนมทางการแพทย์' เปิดต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019

ศูนย์จีโนมฯ เผยโอไมครอนสานพันธุ์ลูกผสม XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าทุกสายพันธ์ที่พบมา โชคดียังไม่พบในไทย เผยโลกสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แล้ว

พบในไทยแล้ว 4 ราย! โควิดเจน 3 โอมิครอน 'BA.2.75.2'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics” ว่า โควิดเจเนอเรชัน 3 "โอมิครอน BA.2.75.2" พบแล้วในไทยรวม 4 ราย

ศูนย์จีโนมฯพบในไทยแล้ว 1 ราย โควิดเจเนอเรชัน 3 โอไมครอน 'BA.2.75.2'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เฝ้าติดตามโควิด-19 'เจเนอเรชัน 3' โอไมครอน 'BA.2.75.2' พบแล้วในไทย 1 ราย เตรียมพร้อมการตรวจกรองรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต