'หมอยง' แจงข้อมูลควรฉีดวัคซีนอะไรเป็นตัวกระตุ้นภูมิป้องกันโควิด

12 ธ.ค. 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ โควิด 19 วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3

มีผู้ถามมามากจริงๆ ก็อยากจะตอบรวม และ การตัดสินใจอยู่ที่ตัวเราเอง

การต่อสู้กับสายพันธุ์ โอมิครอน จำเป็นจะต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูง จึงจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเข็ม 3 ให้เร็วขึ้น

หลักการกระตุ้นและการเลือกใช้วัคซีนในการกระตุ้น

จากการที่ได้ทำการศึกษาทางคลินิกมาโดยตลอด มีข้อมูลองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมาสนับสนุน

การต่อสู้กับโควิด 19 ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ยืดเยื้อ เหมือนการวิ่งมาราธอน หรือทำสงครามยาวนาน

การต่อสู้ต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา รู้จักใช้อาวุธ เมื่อไหร่ใช้อาวุธหนัก เมื่อไหร่ใช้อาวุธเบา จึงขอสรุปดังนี้

วัคซีนเชื้อตาย อาการข้างเคียงน้อย ปลอดภัยสูง เป็นตัวเริ่มต้นที่ดี แต่กระตุ้นไม่ดี

วัคซีนไวรัส Vector ถ้าให้หลายๆครั้ง ด้วยตัวเดียวกันร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อ Vector หรือ adenovirus ทำให้การใช้เข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิต้านทานได้ไม่ได้มาก อาการข้างเคียงจะมากในเข็มแรกและจะลดลงไปเรื่อยๆในเข็มที่ 2 หรือถ้ามีการใช้เข็มที่ 3 ก็จะน้อยลงอีก

วัคซีน mRNA กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก อาการข้างเคียงจะเกิดมาก ในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก และมีการพบว่าในเข็มที่ 3 จะพบต่อมน้ำเหลืองโตได้มากกว่าเข็มที่ 1 และ 2 ส่วนการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดมากในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก ส่วนเข็มที่ 3 ยังไม่มีข้อมูลเพราะจำนวนการศึกษาน้อย

ดังนั้นแนวทางการให้วัคซีน ที่ควรจะเป็น

1 ถ้าฉีดเชื้อตาย 2 เข็ม (sinovac or sinopharm)แล้ว เข็ม 3 สามารถกระตุ้นได้ตั้งแต่ virus Vector (AZ) หรือ mRNA ได้ตั้งแต่ 1 เดือนหลังเข็ม 2 และยิ่งห่างยิ่งดี แต่กลัวจะติดโรคเสียก่อน การกระตุ้นด้วย AZ ภูมิขึ้นสูงมากเพียงพอ อย่างน้อยอีก 4-6 เดือน มีข้อมูลการศึกษาจำนวนมาก สามารถเก็บ mRNA ไว้เป็นเข็ม 4 หรือเมื่อมีการระบาดสายพันธุ์ใหม่มากขึ้น (ในกรณีนี้ AZ เข็ม 4 ก็ยังมีทางที่ให้ได้ เพราะ AZ ถ้าให้มากกว่า 2 เข็ม กระตุ้นภูมิต้านทานไม่ดีดังกล่าวมาตอนต้น) การศึกษาในเข็ม 4 ในอนาคตคงต้องรอ ยังไม่มีข้อมูล

2 การฉีดสลับ เชื้อตายตามด้วยไวรัสเวกเตอร์ (SV/ SP – AZ) ในกรณีนี้เข็มสาม สามารถให้ไวรัสเวกเตอร์ ได้ (AZ จะเป็นเข็มที่ 2) หรือจะเป็น mRNA ก็ได้ โดยให้ได้ตั้งแต่ 3 เดือนหลังเข็ม 2 เป็นต้นไป

ในทำนองเดียวกันถ้าได้ AZ เป็นเข็มที่ 3 เข็มที่ 4 ในอนาคตควรเป็น mRNA แน่นอน เหมือนกับว่าเราจะเก็บ mRNA ไว้ใช้เมื่อจำเป็น ในกรณีสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น และถึงเวลานั้นมีข้อมูลการศึกษามากขึ้นอีก เหมือนการต่อสู้ใช้อาวุธจากเบาไปหาหนัก หรือเช่นเดียวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ

3 ผู้ที่ได้รับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ AZ มา 2 เข็ม การกระตุ้นเข็ม 3 ควรเป็น mRNA และให้ได้ตั้งแต่ 3 ถึง 6 เดือนหลังเข็ม 2การให้ AZ เข็ม 3 จะมีผลของ Antivirus เวกเตอร์ ทำให้ภูมิขึ้นได้ไม่ดี เท่า mRNA ถ้าใครจะใช้ AZ เป็นเข็ม 3 อีก จะต้องเว้นช่วง หลังเข็ม 2 ให้นานมากกว่า 6 เดือน เพื่อให้ภูมิต้านไวรัสเวกเตอร์ ลดน้อยที่สุด

4 ผู้ที่ได้รับ mRNA มาแล้ว 2 เข็ม การกระตุ้นเข็ม 3 ก็ควรเป็น mRNA
การพิจารณากระตุ้นเข็ม 3 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโรค ผลที่ได้ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น และอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งวัคซินที่เรามี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ ชี้แบคทีเรียกินเนื้อ ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ

แบคทีเรียกินเนื้อ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ไม่ใช่โรคใหม่ ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

'หมอยง' เผย 'โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส' กำลังระบาด ส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าอาหารเป็นพิษ

นพ.ยง ภู่วรวรรณ เตือน "โรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส" ในเดือนมกราคมถึงมีนาคม จะเป็นฤดูกาลระบาดของโรคอุจจาระร่วงโนโรไวรัส

'หมอยง' เตือน 'โนโรไวรัส' ระบาดหนัก 1-2 เดือนนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โนโรไวรัส

ตอกหน้าพวกบูลลี่! ‘หมอยง’ บอก 'วัคซีน' โควิด-19 กาลเวลาเป็นที่พิสูจน์

เมื่อผ่านมาครบ 4 ปีแล้ว ประชากรส่วนใหญ่หรือมากกว่าร้อยละ 90  ติดเชื้อไปแล้วร่วมกับได้รับวัคซีน ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นของประชากรส่วนใหญ่ จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบลูกผสม เป็นภูมิคุ้มกันที่ค่อนข้างสมบูรณ์

'หมอยง' ชี้ยังไร้ข้อสรุปใช้ 'Montelukast' รักษาผู้ป่วย RSV หลอดลมฝอยอักเสบ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV