
28 ธ.ค. 64 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า 28 ธันวาคม 2564 ทะลุ 281 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 665,907 คน ตายเพิ่ม 4,424 คน รวมแล้วติดไปรวม 281,615,934 คน เสียชีวิตรวม 5,422,009 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา สหราชอาณาจักร สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.82 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 92.13
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 52.12 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 62.88
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
…สำหรับสถานการณ์ไทยเรา
เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 2,437 คน สูงเป็นอันดับ 31 ของโลก
หากรวม ATK อีก 505 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 29 ของโลก
ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 6 ของเอเชีย
…อัพเดต Omicron
ตอนนี้ระบาดกระจายไปแล้ว 119 ประเทศ (BNO Omicron tracker) และมีสัดส่วนของการตรวจพบในผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกทวีป (GISAID)
ประเทศต่างๆ มีสถิติการติดเชื้อใหม่รายวันสูงขึ้นกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศในยุโรปอย่างสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เดนมาร์ก นอร์เวย์ ฟินแลนด์ รวมถึงแถบโอเชียเนีย เช่น ออสเตรเลีย
…มองไปยาวอีก 3-6 เดือนถัดจากนี้ น่าจะมีจุดเปลี่ยนของลักษณะการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงการตอบสนองต่อการระบาดของแต่ละประเทศ
ด้วยความรู้จนถึงปัจจุบัน ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนนั้นจะช่วยในแง่การกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือดและระดับเซลล์ เพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ โดยช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยรุนแรง และลดโอกาสเสียชีวิต
แต่ระยะเวลาผ่านไป ระดับภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด หรือแอนติบอดี้จะลดลง และจำเป็นต้องได้รับการฉีดกระตุ้นเป็นระยะ แต่จะถี่บ่อยแค่ไหนในระยะยาวคงต้องรอผลการติดตามศึกษาต่อไป
ทั้งนี้การระบาดของ Omicron ที่ทั่วโลกรวมถึงไทยเรากำลังเผชิญอยู่นั้น ปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้มีลักษณะการตอบสนองคล้ายกันคือ
หนึ่ง ผู้ใหญ่ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้น
สอง นำเด็กและเยาวชนที่อายุอยู่ในเกณฑ์ที่จะสามารถรับวัคซีนได้ไปฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
สาม ในเด็กเล็ก ช่วงวัยที่ยังไม่มีวัคซีนที่อนุมัติให้ใช้ คงจำเป็นต้องให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองช่วยกันดูแล ป้องกันให้ดี หากโตหน่อยก็ใส่หน้ากาก ล้างมือ ดูแลที่ทางให้ระบายอากาศให้ดี สังเกตอาการหากไม่สบายก็ตรวจรักษาโดยไม่ไปปะปนกับเด็กคนอื่นๆ
สี่ การป้องกันตัวส่วนบุคคลยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เป็นกิจวัตร ให้คุ้นชินจนเป็นนิสัย จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อโควิด-19 และโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการใส่หน้ากาก ล้างมือ อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงที่แออัด ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น
และที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะวัยเรียน วัยทำงาน และวัยสูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง และลูกจ้าง คือ การหมั่นสำรวจตนเอง หากมีอาการไม่สบาย ควรหยุดเรียน หยุดงาน และรีบไปตรวจรักษาให้หายดีก่อนแล้วค่อยปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำวันได้
…สัปดาห์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้เป็นตัวกำหนดความรุนแรงของการระบาดของ Omicron ในไทย
ขอให้ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
อยู่ห่างคนอื่นเกินหนึ่งเมตร
เลี่ยงการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนส่งสาธารณะ
งดตะลอนท่องเที่ยว
งดปาร์ตี้สังสรรค์กันเป็นกลุ่ม ฉลองกับคนในครอบครัวในบ้านจะปลอดภัยกว่า
หากทำได้พร้อมเพรียง จะช่วยลดโอกาสระบาดรุนแรงไปได้ไม่มากก็น้อย
ด้วยรักและห่วงใย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อมรัตน์' เคลื่อนไหวอีกรอบ ขอให้ก้าวไกลตัดสิทธิชิงเก้าอี้บริหารพรรค อ้างรับผิดชอบเหตุคุกคาม
นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล โพสต์จดหมายมีเนื้อหาดังนี้ ดิฉันขอใช้พื้นที่นี้ในการสื่อสารและชี้แจงเกี่ยวกับเหตุการณ์ระหว่างดิฉันกับคุณปีใหม่ ที่สังคมกำลังมีการวิพากษ์วิจารณ์และแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย
'อมรัตน์' ยืนยันมีสติ โต้ยิบคุกคาม 'ปีใหม่-สาวกเพื่อไทย'
นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล อดีตสส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 แถลงกรณีสืบเนื่องจากการโพสต์ ข้อความเดินทางไปที่บ้านของผู้ใช้เฟซบุ๊ก “ปีใหม่ ปีใหม่” ซึ่งเป็น
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)
'หมอยง' ชี้เปิดเทอม - เลือกตั้งปลุกโควิด - 19 ระบาดเพิ่ม
นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสเฟซบุ๊ก ระบุว่า โรคโควิด 19 ได้ปรับตัวเป็นโรคประจำฤดูกาล และสำหรับประเทศไทยจะเริ่มระบาดเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน