ศูนย์จีโนมพบ 'โอมิครอน' 2 สายพันธุ์ย่อยในไทย กลายพันธุ์จากสาย 'อู๋ฮั่น' ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง

25 ม.ค. 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบการกลายพันธุ์ พบว่า
โอมิครอนสายพันธุ์หลัก “BA.1” และสายพันธุ์ย่อย “BA.2 และ BA.3” ในประเทศไทย

นอกจากโอมิครอนจะมีสายพันธุ์หลักเป็น“B.1.1.529” หรือ “BA.1” แล้วยังเริ่มมีการกลายพันธุ์ไปอีก 2 สายพันธุ์ย่อยคือ“BA.2” และ “BA.3”

โอมิครอนสายพันธุ์หลัก “BA.1” ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกทั้งสิ้น 514,417 ราย(8%) พบในประเทศไทย 561 ราย(23%)

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู๋ฮั่น” ประมาณ 60-70 ตำแหน่ง

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย 2 ราย(1%)

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู๋ฮั่น” ประมาณ 70-80 ตำแหน่ง

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีตรวจพบ BA.2 จำนวน 1 ตัวอย่าง ด้วยเทคโนโลยี “Mass array genotyping” ซึ่งกำลังยืนยันผลด้วยเทคนิค “Long read, whole genome sequencing” คาดว่าจะแล้วเสร็จในอาทิตย์นี้

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.3 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกประมาณ 86 ราย(0.5%) ยังไม่พบในประเทศไทย (not detected)

กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู๋ฮั่น” ประมาณ 55-65 ตำแหน่ง

การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นเพื่อแยกสายพันธุ์ “เดลตา” และ “โอมิครอน ออกจากกันมักจะตรวจโดยวิธี RT-PCR 3 ตำแหน่งบน 3 ยีน

โดยเดลตา จะถูกตรวจด้วย RT-PCR ได้ครบทั้ง 3 ยีน ส่วนโอมิครอนสายพันธุ์หลัก “BA.1” ตรวจด้วยชุดตรวจ RT-PCR ได้เพียง 2 ใน 3 ยีน เนื่องจากตรวจไม่พบ S ยีน หรือมี “S target failure (SGTF)” เนื่องจากมีการกลายพันธุเกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 69-70 (del 69-70) บนโปรตีนหนามจนตัวตรวจจับ (PCR primers) จับยีน S ไม่ได้

BA.2 บางครั้งถูกเรียกว่าสายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant)” เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีน ทำให้แยกไม่ออกระหว่าง “เดลตา” กับ “BA.2” เนื่องจากสามารถตรวจยีน S ของ BA.2 ด้วยชุดตรวจ RT-PCR ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปได้

สำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UKHSA) ประกาศให้ BA.2 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องสอบสวน (Variant Under Investigation: VUI) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565

ส่วนที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เนื่องจากใช้เทคโนโลยี “จีโนไทป์” จึงไม่ประสบปัญหา “S target failure (SGTF)” สามารถพัฒนาให้ชุดตรวจตรวจจับทั้ง BA.1, BA.2, และ BA.3 และ เดลตา อัลฟา เบตา แกมมา ไปพร้อมกันได้ในหลอดเดียว (single tube reaction) ภายใน 24-48 ชั่วโมง ด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม

BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู๋ฮั่น” มากที่สุดประมาณ 70-80 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่ามีอาการรุนแรงกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่าอาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่าโอมิครอน BA.1 อยู่บ้าง

BA.2 เคยได้รับความสนใจจากนักวิจัยทั่วโลกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะหมดความสนใจไป เพราะพบการระบาดในวงจำกัด
https://www.facebook.com/CMGrama/posts/4586461878128223

แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีการระบาดแพร่กระจายมากขึ้น โดยนักวิจัยสามารถถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างจากทั่วโลกได้แล้วทั้งสิ้นถึง 10,811 ราย

ส่วน BA.3 ทั่วโลกสามารถถอดรหัสทั้งจีโนมมาได้เพียง 86 ตัวอย่าง กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิม “อู๋ฮั่น” น้อยที่สุดประมาณ 55-65 ตำแหน่ง ไม่มีข้อมูลทางคลินิกมากนัก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)