'นพ.ธีระ' ชี้โควิดมาฆบูชาต้องมีสติไม่ประมาท

'หมอธีระ' ชี้สถานการณ์โควิด-19 ยังน่าห่วง สถิติติดเชื้อใหม่ไทยพุ่งกว่า 51% ดับ 22% แนะวันมาฆบูชาควรใช้สติและไม่ควรประมาท

16 ก.พ.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือหมอธีระ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าทะลุ 415 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,879,487 คน ตายเพิ่ม 9,715 คน รวมแล้วติดไปรวม 415,752,018 คน เสียชีวิตรวม 5,855,012 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย ฝรั่งเศส บราซิล และตุรกี

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 96.94 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 96.61 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.1 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 39.95 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดตสถานการณ์โลกจาก WHO
รายงานล่าสุดเมื่อวานนี้ 15 กุมภาพันธ์ 2565 จาก WHO Weekly Epidemiological Update ทั่วโลกมีจำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ลดลง 19% และจำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 4% การติดเชื้อใหม่มีแนวโน้มลดลงชัดเจนในแทบทุกทวีป ยกเว้นภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก แต่การเสียชีวิตนั้นเพิ่มขึ้นทุกทวีป ยกเว้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อย่างไรก็ตาม หากดูสถิติรายสัปดาห์ของไทยรายสัปดาห์จาก Worldometer จะพบว่าติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง 51% และตายเพิ่มขึ้นถึง 22% บ่งถึงสถานการณ์การระบาดที่ยังรุนแรง

...ข้อมูลเกี่ยวกับ Omicron สายพันธุ์ BA.2
สรุปข้อมูลวิชาการล่าสุด มีสาระสำคัญดังนี้ หนึ่ง BA.2 สามารถแพร่เชื้อได้ไวกว่า Omicron สายพันธุ์เดิม BA.1 ถึง 30% สอง ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรและเดนมาร์ก BA.2 สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในสมาชิกครอบครัวได้มากกว่า Omicron สายพันธุ์เดิม BA.1 ราว 30% (1.3 เท่า) สาม ความรุนแรงของ BA.2 ไม่ได้ต่างจาก BA.1
สี่ เรื่องการดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีนนั้น BA.2 ไม่ได้ต่างจาก BA.1 ห้า การตรวจคัดกรองโรคด้วยวิธีมาตรฐานยังสามารถตรวจการติดเชื้อนี้ได้ ส่วนเรื่องการรักษานั้นยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของการรักษาแต่ละวิธีนั้นจะเหมือนหรือแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น

...วันนี้มาฆบูชา ขอให้เราถือโอกาสใช้ในการประเมินวิถีการดำเนินชีวิตปัจจุบันของเราว่าเป็นไปด้วยความมีสติ ไม่ประมาท ดีเพียงพอแล้วหรือไม่ ระมัดระวังเรื่องกิเลสที่จะนำพาไปสู่พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

สถานการณ์ระบาดในประเทศยังรุนแรงต่อเนื่อง ควรป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตร ใส่หน้ากากเสมอ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงที่แออัดหรือระบายอากาศไม่ดี เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น และหากไม่สบาย ควรหยุดงานหยุดเรียน ตรวจรักษาให้หายดีเสียก่อน ถือเป็นความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)