‘อาจารย์หมอจุฬาฯ’ ห่วงบางจังหวัดจะปวารณาตัว รับโควิดเป็นพื้นที่โรคประจำถิ่น

20 ก.พ.2565-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า มีประชาชนราว 17 ล้านคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน มีราว 20 ล้านคนที่ยังไม่ได้เข็มที่สอง และมีอีก 50 ล้านคนที่ยังไม่ได้เข็มที่สาม ยังไม่นับเรื่องชนิดของวัคซีนที่ได้รับ และวิธีการที่ฉีด ซึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลวิชาการแพทย์สากลว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงใด หากนโยบายควบคุมป้องกันโรคไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ฉากที่อาจต้องเผชิญในอนาคตคือ ติดเชื้อ ป่วย ตาย มีไปอย่างต่อเนื่อง ปัญหาทางสุขภาพ และเศรษฐกิจนั้นจะหนักหนาสำหรับชนชั้นกลางและประชาชนที่ยากจน ช่องว่างทางสังคมจะมากขึ้น ปัญหาทางสังคม รวมถึงอาชญากรรม ยาเสพติด และอื่นๆ มีโอกาสมากขึ้น

“ยิ่งเห็นข่าวบางจังหวัดจะปวารณาตัวเป็นพื้นที่รับเป็นโรคประจำถิ่นด้วยแล้ว ยิ่งต้องบอกว่าน่าเป็นห่วงคนในพื้นที่ยิ่งนัก อัตตาหิ อัตตโน นาโถ…ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คงเป็นหนทางที่เราจะดูแลสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตยามที่ผจญวิกฤติทั้งจากโรคและจากนโยบายที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ปัญหา Long COVID จะเป็นปัญหาหนักหนาสำหรับทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และสังคม แต่เราป้องกันได้…หากเราป้องกัน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระ’ ห่วงผู้ป่วยโควิดรอบสัปดาห์ มีอาการปอดอักเสบเพิ่มขึ้น

สัญญาณที่น่าเป็นห่วง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่กระจอก ไม่ได้เป็นไปตามฤดูกาล

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล