ศาลฯแก้โทษให้ประหารชีวิต 'บรรยิน' กับมืออุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา

1 ก.ค.2565 - ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษาอดีตเจ้าของสำนวนโอนหุ้นเสี่ยชูวงษ์ หมายเลขดำ อท.69/2563 ที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต 3 น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐเป็นโจทก์เเละโจทก์ร่วมยื่นฟ้อง พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรมช.พาณิชย์, นายมานัส ทับทิม , นายณรงค์ศักดิ์ ป้อมจันทร์, นายชาติชาย เมณฑ์กูล, นายประชาวิทย์ หรือตูน ศรีทองสุข และ ด.ต.ธงชัย หรือ ส.จ.อ๊อด วจีสัจจะ ทั้งหมดภูมิลำเนา จ.นครสวรรค์ เป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิด 9 ข้อหา ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา (ป.อ.) มาตรา 289, ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย มาตรา 309, 313, ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มาตรา 310, ฐานร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้ายโดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาตรา 139, 140, ฐานเป็นซ่องโจร โดยสมคบกันเพื่อกระทำผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต มาตรา 210, ฐานร่วมกันพยายามข่มขืนใจผู้อื่น ให้กระทำการใดโดยร่วมกันกระทำผิดตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มาตรา 213, ฐานร่วมกันซ่อนเร้น ทำลายศพเพื่อปิดบังการตายและสาเหตุการตายมาตรา 199, ฐานร่วมกันกระทำการใดๆ แก่ศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นเพื่ออำพรางคดี

คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธ.ค.63 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ผู้อื่นจนถึงแก่ความตายฯ ลงโทษประหารชีวิต, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ ตาม ป.อาญา มาตรา 289(4)(7) ลงโทษประหารชีวิต, ฐานแสดงตัวเป็นเจ้าพนักงานฯจำคุก 1ปี สวมเครื่องแบบเจ้าพนักงานฯ จำคุก 1 ปี, ซ่อนเร้นทำลายศพฯ จำคุก 4 ปี แต่จำเลยที่ 1 ให้การเป็นประโยชน์ลดโทษ 1 ใน 3 ทุกข้อหาคงจำคุกจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นตลอดชีวิตสถานเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานสนับสนุนให้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต แต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุก 33 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 4-6 มีความผิดฐานร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายฯ(เรียกค่าไถ่) ลงโทษประหารชีวิต แต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต โดยจำเลยที่ 1 ให้นับโทษต่อจากคดีโอนหุ้นจำคุก 8 ปี ของศาลอาญากรุงเทพใต้ส่วนจำเลยที่3 กระทำผิดฆ่าโดยไตร่ตรอง (คนลงมือ)พิพากษาประหารชีวิต เเละกักขังหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นถึงเเก่ความตาย พิพากษาประหารชีวิต ให้การเป็นประโยชน์ลดเหลือจำคุกตลอดชีวิต

ต่อมาโจทก์ โจทก์ร่วม จําเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ยื่นอุทธรณ์ จําเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้วพฤติการณ์ ที่มีการเตรียมอุปกรณ์ การเผาทําลายศพในสถานที่ที่ยากแก่การรู้เห็นของบุคคลอื่นไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะมีการลักพาตัวผู้ตาย บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรอง ไว้ก่อนและเพื่อปกปิดการกระทําความผิดอื่นหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทําไว้ ตั้งแต่ต้น จําเลยที่ 1 คาดการณ์ไว้แล้วว่า ผู้ต้องจะต้องขัดขืนไม่ให้มีการนําตัวผู้ตายไปโดยง่าย หากผู้ตายขัดขืนจะตัวมีการใช้กําลังบังคับหรือประทุษร้าย ผู้ร้ายโดยวิธีใดวิธีหนึ่งเพื่อให้ผู้ตายยินยอม ให้จําเลยที่ 1 เอาตัวผู้ตายไป ฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 ใช้กําลังประทุษร้ายผู้ตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล ประกอบกับจําเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้ตายมาตั้งแต่แรก ต่อมาจําเลยท่ี 1 และที่ 3 นําผู้ตายไปเผาในสถานที่ที่เตรียมการไว้ การตายของผู้ตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทําของจําเลยของจําเลยที่ 1 และที่ 3

พยานหลักฐานของโจทก์มีนําหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 1 และท่ี 3 ร่วมกันฆ่าผู้ตาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อนและเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่น ที่ได้กระทําไว้ตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อจําเลยที่ 1 ลักพาตัวผู้ตาย เพื่อจะให้ผู้ตายต่อรองให้โจทก์ร่วมพิพากษายกฟ้อง
ถือได้ว่าจําเลยที่ 1 ลงมือกระทําโดยลักพาผู้ตายโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อจะเรียก ค่าไถ่ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดแล้วจําเลยที่ 2 มีส่วนกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 สะกดรอยติดตาม ความเคลื่อนไหวของโจทก์ร่วมและผู้ตาย ในวันเกิดเหตุจําเลยที่ 2 ยังขับรถยนต์พาจําเลยที่ 1 ที่ 3 กับที่ 5 จากจังหวัดนครสวรรค์ มาที่บ้านเลขที่ 9/13 และขับรถยนต์จากจังหวัดนครสวรรค์ ไปรอจําเลยที่ 1 และที่ 3 กับพวก โดยทราบว่าจําเลยที่ 1 และที่ 3 มีเจตนาจะลักพาตัวผู้ตาย เป็นการสนับสนุนจําเลยที่ 1 กับพวกกระทําความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทําไว้ และเพื่อให้ได้ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรอืกักขังบคุคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูก กักขังถึงแก่ความตาย จําเลยที่ 4 และจําเลยที่ 5 ร่วมกับจําเลยท่ี 1 และท่ี 3 หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ตาย จําเลยท่ี 4 และที่ 5 จึงมีความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จําเลยที่ 4 และที่ 5 มีเจตนาลักพาตัวผู้ตายไปเพื่อหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ

เมื่อจําเลยท่ี 3 ใช้กําลังประทุษร้ายผู้ตายจนถึงแก่ความตาย แม้จําเลยท่ี 4 และท่ี 5 ซึ่งเป็นตัวการร่วม จะไม่มีเจตนาให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จําเลยท่ี 4 และท่ี 5 ต้องรับผิดในผลของความตายนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 63 จําเลยท่ี 6 เข้าใจตั้งแต่ต้นว่าจําเลยที่ 1 ให้ จําเลยท่ี 6 หาคนไปช่วยทวงหนี้แต่ที่จําเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การต่อพนักงานสอบสวนไม่ปรากฏว่าก่อนหน้านั้น จําเลยท่ี 4 และที่ 5 มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญด้านการทวงหนี้ตามกฎหมายมาก่อน จําเลยท่ี 6 ย่อมคาดหมายได้แล้วว่า การทวงหนี้ของจําเลยท่ี 1 จะต้องมีการใช้กําลังบังคับหรือประทุษร้าย หรือหน่วงเหนี่ยวบุคคลหนึ่งให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จําเลยที่ 1 จึงต้องให้จําเลยที่ 6 หาคนไปช่วยดําเนินการให้ ฟังได้ว่าจําเลยที่ 6 ได้ช่วยเหลือโดยอํานวยความสะดวกให้จําเลยท่ี 4 และที่ 5 เดินทางไปกับจําเลยท่ี 1 เมื่อจําเลยที่ 4 และท่ี 5 ร่วมกับจําเลยที่ 1 และที่ 3 นําตัวผู้ตาย ไปหน่วงเหนี่ยวกักขังในรถคันก่อเหตุโดยเจตนาเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ตามที่วินิจฉัยแล้ว การกระทํา ของจําเลยที่ 6 จึงเป็นการสนับสนุนจําเลยที่ 1 ท่ี 3 ถึงที่ 5 กระทําความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังผู้อื่น และฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลอื่นตามคําพิพากษา ศาลชั้นต้น แต่มิใช่เพียงมาตรา 310 วรรคแรก, 313 (3) วรรคแรก ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเห็นสมควรแก้ไขปรับบทให้ถูกต้องเป็นมาตรา310วรรคสอง,313(3)วรรคทา้ย ประกอบ มาตรา 86, 87 วรรคสอง

ปัญหาว่าสมควรลงโทษจําเลยที่ 1 ท่ี 4 และท่ี 5 เบากว่าคําพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ความผิดฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตายและฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดของตนหรือหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนกระทําไว้ ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) (7) และมาตรา 313 (3) วรรคท้าย มีระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว จึงกําหนดโดยจําเลยที่ 1 ท่ี 4 และที่ 5 อย่างอีกไม่ได้ ส่วนความผิดฐานสวมเครื่องแบบและประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานและแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทําการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอํานาจกระทําการนั้น และฐานร่วมกันกระทําการใด ๆ แก่ศพ หรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นในประการที่น่าจะทําให้การชันสูตร พลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่ออําพรางคดีศาลชั้นต้นกําหนดโทษเหมาะสม กับพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข

ปัญหาว่ามีเหตุสมควรลดโทษให้จําเลยทั้งหกหรือไม่ จําเลยที่ 1 กับพวกมีพฤติการณ์สมคบ และร่วมกันวางแผนเพื่อกระทําผิดมาอย่างดีและมีการแบ่งหน้าที่กันทําอย่างเป็นขั้นตอน การที่จําเลยที่ 1 อ้างว่ามีเหตุจูงใจมาจากจําเลยที่ 1 กับพวกไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสํานวน จําเลยที่ 1 เคยรับราชการตํารวจในตําแหน่งพันตํารวจโท เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเคยดํารงตําแหน่งรัฐมนตรี ประกอบกับมีทนายความ

ช่วยแก้ต่างให้ ย่อมทราบถึงขั้นตอนและวิธีพิจารณาความว่ายังสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์และฎีกาคําพิพากษาต่อไปได้การที่จําเลยท่ี 1 กับพวกใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายบังคับข่มขู่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดี เพื่อให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าท่ี และร่วมกระทําผิดในที่สาธารณะอย่างอุกอาจ โดยไม่ยําเกรงต่อกฎหมาย จึงถือว่าเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่เป็นภัยต่อสังคมโดยรวมอย่างร้ายแรง และส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างและเพื่อป้องปรามไม่ให้มีการ กระทําผิดลักษณะนี้อีก จึงไม่สมควรลดโทษให้แก่จําเลยนั้น

เห็นว่า คํารับสารภาพหรือรับข้อเท็จจริง ของจําเลยอันจะถือเป็นเหตุบรรเทาโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา78 ได้นั้น จะต้องเป็น กรณีที่ให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาศาลจึงจะพิจารณาลดโทษที่จะลงให้แก่จําเลยได้การพิจารณาของศาลชั้นตน้นั้นปรากฏว่าโจทก์มีพยานหลักฐานจากกล้องวงจรปดิที่บนัทึกภาพ เหตุการณ์ตั้งแต่จําเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันสะกดรอยติดตามความเคลื่อนไหวของโจทก์ร่วมกับผู้ตาย สถานที่ที่จําเลยที่ 6 ขับรถมาส่งจําเลยที่ 4 และที่ 5 ขึ้นรถยนต์ไปกับจําเลยที่ 1 ตลอดจน การใช้พาหนะสําหรับเดินทางของจําเลยท่ี 1 ถึงที่ 5 จากจังหวัดนครสวรรค์มาจนถึงบริเวณที่จอดรถ รอผู้ตายที่หน้าศาลแพ่งกรุงเทพใต้ กล้องวงจรปิดสามารถบันทึกเหตุการณ์ภายหลังจากที่จําเลยที่ 1 ท่ี 3 ถึงที่ 5 นําตัวผู้ตายขึ้นรถและหลบหนีไปที่บริเวณที่เตรียมอุปกรณ์รอไว้เผาร่างผู้ตาย มีวัตถุพยาน ที่พบอยู่บริเวณที่เผาศพผู้ตายสอดคล้องกับรายงานการตรวจสารพันธุก รรมซึ่งเป็นพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงพยานจากการวิเคราะห์ข้อมูลการให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้กระทําความผิดอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นการเฉพาะกิจ ถึงแม้ว่าโจทก์จะไม่มีประจักษ์พยาน ที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่จําเลยท่ี 1 และที่ 3 แต่ศาลก็อาศัยพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานสําคัญในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงและพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งหกได้ โดยไม่มีความจําเป็นต้องอาศัยคํารับของจําเลยอีก ทั้งจําเลยท่ี 1 ให้การรับสารภาพหลังจากได้ตรวจ พยานหลักฐานของโจทก์แล้วมีเหตุผลให้น่าเชื่อว่า จําเลยท่ี 1 ท่ี 2 และที่ 4 ถึงท่ี 6 ยอมรับข้อเท็จจริง จําเลยท่ี 3 ให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเพราะจํานนต่อพยานหลักฐาน หาใช่รับสารภาพ เพราะสํานึกในความผิด คํารับสารภาพเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันจะเป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 อันจะพึงลดโทษให้ได้

ที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้แก่จําเลยทั้งหกนั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่เห็นพ้องด้วย

พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยที่ 1และที่ 3ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคแรก ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก เป็นเพียง การพยายามกระทําความผิดตาม มาตรา 80จําเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) (7 ) และมาตรา 314 ประกอบมาตรา 86 แต่จําเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 310วรรคสอง, 313(3) วรรคท้าย ประกอบมาตรา 86,87 วรรคสอง

เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิดฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตายซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษจําคุกตลอดชีวิตจําเลยที่ 6มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคสอง, 313 (3) วรรคท้าย ประกอบมาตรา 86,87วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมาย หลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิดฐานเพื่อให้ไดมาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90ลงโทษจําคุกตลอดชีวิต ไม่ลดโทษให้จําเลยทั้งหกในความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทําการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอํานาจกระทําการนั้น ฐานสวมเครื่องแบบตํารวจโดยไม่มีสิทธิ ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือถูกกักขัง ถึงแก่ความตาย ฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย ฐานร่วมกันกระทําการใด ๆ แก่ศพหรือสภาพแวดล้อม ในบริเวณท่ีพบศพ ก่อนชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้นในประการที่น่าจะทําให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปหรือเพื่ออําพรางคดี ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิดฐานเพื่อให้ได้มา ซึ่งค่าไถ่ ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย

เมื่อลงโทษประหารชีวิตจําเลยที่ 1และที่ 3แล้วไม่อาจนําโทษ กระทงอื่นมารวมหรือนับโทษต่อจากโทษคดีอื่นหรือเพิ่มโทษได้อีก ทั้งนี้ จําเลยที่ 1เเละ3 ไม่ปรับบท ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น

จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4)(7) มาตรา 314 ประกอบ มาตรา 86 แต่จำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรค 2313 (3) วรรคท้ายประกอบมาตรา 86,87 วรรคสองเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

จำเลยที่ 6 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคสอง 313 (2)วรรคท้าย ประกอบมาตรา 86,87 วรรคสอง เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือผู้ถูกกักขังถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

ไม่ลดโทษให้จำเลยทั้ง6ในความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน สวมเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิ ฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือถูกกักขังถึงแก่ความตาย ฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือถูกกักขังถึงแก่ความตาย ฐานร่วมกันกระทำการใดๆ แก่ศพ หรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรศพเสร็จสิ้นฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใดเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือถูกกักขังถึงแก่ความตาย

เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1และที่ 3แล้วไม่อาจนำโทษกระทงอื่นมารวมหรือนับต่อจากโทษคดีอื่นหรือเพิ่มโทษได้อีก

ทั้งนี้จำเลยที่ 1และที่ 3ไม่ปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 (3)

นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อช่วงระหว่างระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.2563 จำเลยทั้งหกนำโดย พ.ต.ท.บรรยิน ได้ร่วมกันสมคบคิด วางแผน แบ่งหน้าที่กันทำ ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย เอาตัวนายวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ พี่ชายของ น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนโอนหุ้นของพ.ต.ท.บรรยิน ไปหน่วงเหนี่ยวกักขัง และใช้ความปลอดภัยในชีวิตของนายวีรชัยต่อรองเรียกค่าไถ่ ข่มขืนใจ น.ส.พนิดา ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยให้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก ในคดีอาญาหมายเลขดำ 305/2561 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ พร้อมกับให้มีคำสั่งคืนเงินหุ้นทั้งหมดในคดีแก่จำเลยที่ 1

หลังจากนั้นได้จะฆ่านายวีรชัยแล้วทำลายศพ โดยใช้ไฟเผาด้วยยางรถยนต์ ราดด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง อันเป็นการสมคบกันกระทำผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดของตนแล้วร่วมกันเก็บชิ้นส่วนที่เหลือจากการเผาใส่ถุงพลาสติกหลายถุงทิ้งริมถนนสายนิคม-ห้วยดุก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และทิ้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหมู่บ้านกลางแดด จ.นครสวรรค์ พร้อมนำทรัพย์สินของผู้ตาย เครื่องมือในการกระทำผิดทิ้งลงแม่น้ำปิง บริเวณหน้าวัดไทรใต้ เพื่อทำลายหลักฐาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อช่วงระหว่างระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ.2563 จำเลยทั้งหกนำโดย พ.ต.ท.บรรยิน ได้ร่วมกันสมคบคิด วางแผน แบ่งหน้าที่กันทำ ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้าย เอาตัวนายวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ พี่ชายของ น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐ ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนโอนหุ้นของพ.ต.ท.บรรยิน ไปหน่วงเหนี่ยวกักขัง และใช้ความปลอดภัยในชีวิตของนายวีรชัยต่อรองเรียกค่าไถ่ ข่มขืนใจ น.ส.พนิดา ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติตามหน้าที่โดยให้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก ในคดีอาญาหมายเลขดำ 305/2561 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ พร้อมกับให้มีคำสั่งคืนเงินหุ้นทั้งหมดในคดีแก่จำเลยที่ 1

หลังจากนั้นได้จะฆ่านายวีรชัยแล้วทำลายศพ โดยใช้ไฟเผาด้วยยางรถยนต์ ราดด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง อันเป็นการสมคบกันกระทำผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อปกปิดความผิดของตนแล้วร่วมกันเก็บชิ้นส่วนที่เหลือจากการเผาใส่ถุงพลาสติกหลายถุงทิ้งริมถนนสายนิคม-ห้วยดุก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และทิ้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหมู่บ้านกลางแดด จ.นครสวรรค์ พร้อมนำทรัพย์สินของผู้ตาย เครื่องมือในการกระทำผิดทิ้งลงแม่น้ำปิง บริเวณหน้าวัดไทรใต้ เพื่อทำลายหลักฐาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุกค้นบ้าน 'เจ๊อ้วน' เมียเสี่ยบ่อนไก่ หลังคนร้ายซัดทอดผู้จ้างวานฆ่าฝังดิน

พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ์ เลี่ยมสงวน ผบก.กองบังคับการสืบสวน ภ.8 พร้อมตำรวจกองปราบ ได้เดินทางด่วนมากับเฮลิคอปเตอร์ มาลงที่สนามหน้าสถานีตำรวจภูธรนาสัก อ.สวี จ.ชุมพร จากนั้นได้ร่วมกับชุดสืบสวน ภ.จว.ชุมพร และตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน

'อังคนา' เผยสหประชาชาติจี้ไทยรับผิดชอบการสูญหายของ 'ทนายสมชาย' เมื่อ20ปีก่อน

นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นักเคลื่อนไหวสตรี ภรรยาของนายสมชาย นีละไพจิตร นักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนมุสลิมชาวไทยที่หายสาบสูญ โพสต์ข่าวสารจากเว็บไซต์ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ว่า

เค้นสอบ สาวไทยวัย 22 สมาชิกแก๊งอุ้มฆ่าชาวไต้หวัน หลังโดนจับที่กัมพูชา

ที่สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฝ่ายสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ และฝ่ายสืบสวนของ สภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คุมตัว นางสาว ปียานุช อายุ 22 ปี หญิงไทยที่ตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตนและร่วมกันปิดบังอำพรางซ่อนเร้นศพ

'อดีตผู้พิพากษา' ชี้โทษจำคุกไร้ความหมาย หลังราชทัณฑ์ออกระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ

นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566

อดีตผู้พิพากษา ชี้ปมพิธาโอนหุ้นไอทีวี ถือว่าเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ผู้จัดการทรัพย์มรดก

นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลฎีกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Chuchart Srisaeng ระบุว่า วันนี้วันที่ 12 มิถุนายน 2566 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ได้เปิดหลักฐานการโอนหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

'บิ๊กเด่น' เรียก 'ผบช.สตม.' หารือทบทวนวีซ่า VOA ปมแก๊งมังกรอุ้มฆ่านักศึกษาจีน

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงคดีกลุ่มผู้ต้องหาชาวจีนที่่ร่วมกันก่อเหตุฆาตกรรม นศ.จิน ซ่าน นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ย่านธนบุรีว่า พบว่าเดินทางมาที่ไทยเมื่อวันที่ 8 มี.ค.66