พบคนไทยตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ เสียหายกว่า 40,000 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์ เปิดสถิติหลอกลวงทางออนไลน์ ในรอบ 1 ปี พบยอดแจ้งความเฉียด 3 แสนคดี มูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท ชี้คดีหลอกขายสินค้าสูงที่สุด ตามด้วยหลอกให้โอนเงิน ด้าน เอไอเอส เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พบคนไทยมีความรู้ด้านดิจิทัล แค่พื้นฐาน พบว่า มีกว่า 44% ต้องมีการพัฒนาทักษะให้เท่าทันโลกดิจิทัล

16 มิ.ย. 2566 – พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  (รอง ผบช.สอท.)  เปิดเผยสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์  ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์บน   www.thaipoliceonline.com ยอดสะสม 1 มี.ค. 65 –  31 พ.ค. 2566  พบว่า มียอดสูงถึง 296,243 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท  หรือ คิดเป็นเฉลี่ย  525 คดี/วัน และ แบ่งเป็นความเสียหายเฉลี่ยคิดเป็น 74 ล้านบาทต่อวัน   โดยคดีส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ ทางออนไลน์  ซึ่งมีมากกว่า 1 แสนคดี  หรือ คิดเป็น 37.25% ส่วนอันดับ2 เป็นเรื่องหลอกให้โอนเงิน  จำนวน 36,896 คดี หรือ คิดเป็น  13.65% และอันดับ 3 เป็นการหลอกให้กู้เงิน  จำนวน 33,517 คดี หรือ คิดเป็น 12.40% อันดับ 4 หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 22,740 คดี คิดเป็น 8.41% และอันดับที่ 5 การข่มขู่ทางโทรศัพท์ 20,474 คดี คิดเป็น 7.57% 

พล.ต.ต.นิเวศน์ ระบุว่า สถานการณ์การหลอกลวงทางออนไลน์ ขณะนี้มีการปรับตัวดีขึ้นบ้าง หลังจากภาครัฐ มีการออกกฎหมายเข้มงวด ในการจัดการกลุ่มมิจฉาชีพ ที่หลอกลวงทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น ทั้งการจัดการบัญชีม้า ซิมผี และ SMS ปลอม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีการออกประกาศให้ สถาบันการเงิน ห้ามส่งลิงค์แนบ ไปยังผู้ใช้ รวมถึงการเพิ่มการปรับปรุงระบบการโอนเงิน โดยใช้การสแกนใบหน้า

แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมิจฉาชีพ ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ มีการคิดค้น กลลวงรูปแบบใหม่มากมาย มาใช้หลอกประชาชน ดังนั้นประชาชนต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อให้กับมิจฉาชีพ นำไปสู่การเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตัวเอง 

พล.ต.ต.นิเวศน์ กล่าวอีกว่า คนร้ายในยุคนี้ ใช้เทคโนโลยี และสร้างเรื่องราวใหม่ๆ ขึ้นมาหลอกคน ทั้งการแฮกระบบ ทั้งการสร้างเสาโทรศัพท์จำลอง ส่งSMS รวมถึงการสร้างเนื้อหาและสถานการณ์ต่างๆขึ้นมาหลอกลวง ฉะนั้นประชาชนจะต้องตระหนัก และมีความรู้เท่าทันต่อเทคโนโลยีให้มากขึ้น  และกลุ่มที่โดนหลอกในปัจจุบัน ไม่ใช่ผู้สูงอายุ แต่เป็นกลุ่มคนในวัยทำงาน ซึ่งสะท้อนว่า แม้ว่าจะเป็นวัยที่ใช้เทคโนโลยีเป็นประจำ

ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง  ดังนั้น ทางเอไอเอส จึงได้ร่วมมือกับ หาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล ที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล จัดทำดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI)  ออกมาเผยแพร่ อย่างเป็นทางการ

โดยจากข้อมูลจาก ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล  ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use), ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy), ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration), ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights), ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety), ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) และทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) ที่มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน ซึ่งวันนี้จากผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น”  นายสมชัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวบแก๊งหลอกลงทุนคริปโต ยึดทรัพย์ 125 ล้านบาท เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย

พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1, พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3, พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผ

ตร.ไซเบอร์ ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเหยื่อโอนเงิน 115 ครั้ง สูญ 200 ล้านบาท

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิพล บุญเกิด ผบก.สอท.2 และ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว “ปฏิบัติการ SAVING GOOD MAN ตร.ไซเบอร์ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ตร.ไซเบอร์ บุกรวบเจ้ามือหวยลาวรายใหญ่ เงินสะพัดกว่า 10 ล้าน

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผบก.สอท.5 พ.ต.อ.กฤษดา มานะวงศ์สกุล ผกก.1 บก.สอท.5 และกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวน ได้นำหมายค้นเข้าตรวจค้นที่บ้านหลังหนึ่งใน ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากสืบทราบมาว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่พักของ

'ตร.ไซเบอร์' ขยายผล 'แก๊งอายุน้อยร้อยล้าน' จับสาวดูแลเงินเว็บพนัน

พ.ต.อ.คมสัน มีภักดี ผกก.บก.สอท.4 และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองกำกับการ 4 บก.สอท.4 ได้นำหมายค้นศาลจังหวัดเชียงรายที่ ลงวันที่ 7 เมษายน 2567 เข้าทำการตรวจค้นหอพักแห่งหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

รวบแก๊งอ้างเป็นนายแพทย์ทหาร หลอกอาจารย์สาวมหาลัยดังให้รัก สูญกว่า 3 ล้าน

พ.ต.ท.ราชัญ  ลำใย รอง ผกก.2 บก.สอท.4 พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าจับกุม น.ส.อรนิภา(สงวนนามสกุล)  ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม

'ทนายตั้ม' หอบหลักฐานเส้นเงิน พาตัว 'พิมพ์วิไล' ให้ข้อมูลโยง 'ต่อศักดิ์-ภรรยา'

'ทนายตั้ม' หอบหลักฐานเส้นเงินพร้อมพาตัว 'พิมพ์วิไล' พยาน-สายลับ ให้ข้อมูลเส้นเงินเชื่อมโยง 'ผบ.ต่อศักดิ์'และภรรยา แฉเพิ่มพบมีการโอนเงินให้ตำรวจไซเบอร์เดือนละ 1 ล้าน