
แฉกลโกงโจรออนไลน์สายอ่อย ย้ำประชาชนอย่าเป็นแมงเม่าบินเข้ากองไฟ เผยสถิติแจ้งความคดีออนไลน์ยังคงสูง เชิญชวนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันผ่านแบบทดสอบไซเบอร์วัคซีน
3 ก.ค.2566-พ.ต.ท.หญิงณพวรรณ ปัญญา รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงสถิติอาชญากรรมออนไลน์ในช่วงครึ่งปีแรกและอุบายที่มิจฉาชีพมักใช้ในการหลอกลวงประชานว่า คดีออนไลน์ที่ประชาชนผ่านการแจ้งความออนไลน์ ในช่วงครึ่งปีแรก (1 ม.ค.– 17 มิ.ย.66) มีจำนวนสูงถึง 278,572 คดี ยอดความเสียหายรวมสูงกว่า 38,786 ล้านบาท โดย 5 ลำดับสูงสุด ได้แก่ 1. หลอกซื้อขายสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นขบวนการ 2.หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน 3.หลอกให้กู้เงินฯ 4. หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และ 5. ข่มขู่ทางโทรศัพท์ (Call Center)
ปัจจุบันโจรออนไลน์ได้พัฒนาวิธีการให้ประชาชนเป็นฝ่ายเข้าติดต่อพูดคุยกับมิจฉาชีพเสียเอง โดยใช้ความสนใจและความต้องการต่างๆ ในการดึงดูดความสนใจ เช่น 1. “โพสต์หลอกว่าเป็นหนุ่มสาวตามหารักแท้” โดยจะโพสต์รูปและข้อมูลปลอม ว่าตนเป็นชาวต่างชาติรูปร่างหน้าตาดี มีหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ และกำลังตามแฟนคนไทย เมื่อหลงทักเข้าไปพูดคุย ก็จะถูกหลอกเอาทรัพย์สิน หรือถูกล่อลวงให้ไปทำงานผิดกฎหมายในต่างประเทศ เข้าข่ายหลอกรักออนไลน์ (Romance Scams) 2. “ปลอมเพจหลอกขายสินค้าราคาถูกเกินจริง” โจรออนไลน์จะสร้างเพจปลอมโฆษณาออกโปรโมชั่นขายสินค้าราคาถูก ทั้งสินค้าทั่วไปและสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งเมื่อเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินไปแล้วจะไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับสินค้าไม่ตรงปก ดังเช่นในช่วงที่ผ่านมามีการปลอมเพจขายทุเรียนของดาราชื่อดังกว่าร้อยเพจ ทำให้มีประชาชนหลงเชื่อถูกหลอกเป็นจำนวนมาก
3. “ปลอมเพจหลอกทำงานง่ายรายได้ดี” มิจฉาชีพจะสร้างเพจปลอมหลอกเหยื่อที่กำลังมองหางานพิเศษออนไลน์รายได้ดีด้วยอุบายต่างๆ เช่น ทำสต็อกสินค้า หรือปั่นยอดวิว โดยผู้สมัครต้องเสียค่าธรรมเนียมก่อน และมีขั้นตอนให้โอนเงินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้ายจะไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ 4. “ปลอมเพจปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ” โดยจะใช้ชื่อเพจที่มีความน่าเชื่อถือ มีการโฆษณาชวนเชื่อ เมื่อประชาชนหลงกลทักแชทไป มิจฉาชีพจะขอข้อมูลส่วนตัวและขอค่าดำเนินการโดยคิดเป็น % ของเงินกู้ เมื่อหลงกลโอนเงินไปแล้วจะถูกบล็อกบัญชี ไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งเหยื่ออาจจะโดนนำข้อมูลส่วนตัวไปแอบอ้าง ทำธุรกรรมหลอกลวงผู้อื่นต่อไปอีก
ผบ.ตร. มีความห่วงใยประชาชน จึงได้จัดทำแบบทดสอบ Cyber Vaccine เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันไซเบอร์ให้กับประชาชน ขอให้ประชาชนต้องมีสติ “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของโจรออนไลน์ ทั้งนี้สามารถติดตามรูปแบบการประชาสัมพันธ์กลโกงได้ที่เพจเฟซบุ๊ก “เตือนภัยออนไลน์” ปรึกษา-ขอคำแนะนำได้ที่ สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-866-3000 โดยผู้เสียหายสามารถติดต่อธนาคารของตนเองเพื่อทำการระงับบัญชี โดยธนาคารจะออก Bank ID ผ่าน sms และขอให้ผู้เสียหายไปแจ้งความกับตำรวจที่ใดก็ได้โดยเร็ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงท้องที่เกิดเหตุภายใน 72 ชั่วโมง หรือแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กมธ.มั่นคงฯ ผิดหวัง 'เศรษฐา' หนีแจงหลุดปากตั้งผกก.
‘โรม’ ลั่น ถ้าสภาฯ มายาก อยากให้ไปทำเนียบฯ ก็เชิญได้ บอก เสียดาย ‘เศรษฐา’ หนีแจงปม ‘หลุดปากตั้ง ผกก.’ เห็นใจ ‘สมศักดิ์’ ตอบแทนไม่ได้
อย่าหลงกลโจรออนไลน์! รัฐบาลเผยเสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาทแล้ว
รองโฆษกรัฐบาลย้ำเตือนประชาชน ตั้งสติอย่าหลงกลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เผยมูลค่าความเสียหายสะสม 1 มี.ค – 30 พ.ย.กว่า 50,000 ล้านบาท
ภัยสังคม! ตร.ประชาชื่น ตามตัวแท็กซี่หื่น ลวนลามผู้โดยสารดำเนินคดี
กรณีสื่อสังคมออนไลน์โพสต์ข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งเตือนภัยถูกผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะ(แท็กซี่) พูดลวนลามและข่มขู่ ขณะนั่งโดยสารจากเซ็นทรัล ลาดพร้าว มาลงที่ซอยประชาชื่น 38
ตำรวจบุกค้นคลับเกย์และซาวนาในมอสโก
ตามรายงานของสื่อ ตำรวจรัสเซียได้บุกค้นบาร์เกย์และไนต์คลับหลายแห่งในกรุงมอสโก นอกจากนี้ยังมีการตรวจค้นห้องซาวนาที่
‘สีกากี’ วุ่น! คำสั่งแต่งตั้งยังออกไม่ครบ ‘บช.ภ.1’ โดนถอนหายจากเว็บไซต์
ขณะนี้คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังออกไม่ครบทุกกองบัญชาการ บางกองบัญชาการออกเพียงคำสั่งแต่งตั้งระดับ รองผบก.-ผกก. แต่ยังไม่มีระดับ รองผกก.-สว.
‘สมชัย’ แนะ 4 แนวทาง สางปมร้อนสีกากี ‘ผกก.ตม.ภูเก็ต’ ลาออก
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ปรึกษา กมธ. ติดตามงบประมาณฯ สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก