'บก.ลายจุด' ชี้ศาลทหารตัดสินคดี 'น้องจูน' ขัดเจตนารมณ์กฏหมาย แนะใช้ศาลยุติธรรมพิจารณาคดี


'บก.ลายจุด' ชี้กรณีศาลทหารตัดสินคดี'น้องจูน'ข้อพิพาทเป็นการกระทำของทหารแต่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมาย จี้ยกเลิกกฎอัยการศึก ใช้ศาลยุติธรรมเป็นกลไกในการพิจารณาคดี

17 ธ.ค.2564 - จากคดี น้องจูน -น.ส.สุกฤตา สุภานิล ถูกอดีตสามีซึ่งเป็นทหาร ทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส และศาลทหารเพิ่งมีคำตัดสินคดีเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมา ลงโทษจำเลย 1 ปี 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญา ขณะที่อีก 2 ข้อหายกฟ้อง จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมในขณะนี้

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นักเคลื่อนไหวทางการเมือง แกนนำกลุ่มคาร์ม็อบ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงเรื่องดังกล่าว ว่า

Update กรณีศาลทหารและกฏอัยการศึก กรณีน้องจูน

ผมคิดว่ามีคำตอบในเรื่องนี้แล้ว โดยเราต้องปรับความเข้าใจใหม่อีกครั้ง

1.พื้นที่สามร้อยยอดเป็นพื้นที่มีการประกาศใช้กฏอัยการศึกในระดับพื้นที่มานานแล้ว เหมือนกับหลายพื้นที่ในประเทศไทยที่ยังคงมีการประกาศกฏอัยการศึก น่าจะหลายสิบปีแล้วแต่ไม่ได้ยกเลิก

2.ในธรรมนูญศาลทหาร หากเกิดข้อพิพาทระหว่างทหารด้วยกันต้องขึ้นศาลทหาร และ หากเกิดขึ้นในพื้นที่ๆมีการประกาศใช้กฏอัยการศึกจะตัดสินโดยศาลเดียว ไม่มีการอุทรธ์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในภาวะสงคราม

3.คำถามต่อไปคือ ข้อพิพากดังกล่าวเป็นการกระทำของทหารก็จริง แต่ไม่ใช่กิจการทหารหรือเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแต่ประการใด ประกอบกับพื้นที่ไม่มีเหตุภาวะสงครามหรือภาวะฉุกเฉินใดๆมานานหลายสิบปีแล้ว การบังคับใช้ พรบ ธรรมนูญศาลทหารในกรณีนี้จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของกฏหมายและขัดต่อข้อเท็จจริงแวดล้อม

4.ควรให้มีการพิจารณาทบทวนและยกเลิกพื้นที่ๆมีการประกาศกฏอัยการศึกเฉพาะพื้นที่บางแห่งที่มีการประกาศไว้นานมากแล้วและไม่มีความจำเป็นเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์นำคดีเช่นคดีน้องจูนอีก

5.การมีอยู่ของศาลทหารในสภาวะไม่มีศึกสงคราม ควรถูกทบทวนและจำกัดเท่าที่จำเป็น และควรใช้ศาลยุติธรรมเป็นกลไกในการพิจารณาคดี เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและมีมาตรฐานเดียวกัน

ก่อนหน้านั้น นายสมบัติ โพสต์ว่า ผมตามข่าวนี้เหมือนคนไทยทั่วไป รู้สึกแบบเหมือนๆกันตั้งแต่เกิดเหตุการณ์และจนมาถึงการตัดสินของศาลทหาร

ผลการตัดสินออกมาเช่นนี้ สังคมมีคำตอบในใจ แต่ที่ผมยังสงสัยอยุ่คือ การทำร้ายร่างกายของคน 2 คน แม้จะเป็นทหาร แต่ไม่ใช่อยุ่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ทำไมไม่ขึ้นศาลพลเรือน

การอ้างประกาศ คสช ว่าให้คดีบนศาลทหารเหลือเพียงศาลเดียว โดยที่ไม่สามารถอุทรณ์ได้นั้น เป็นเรื่องที่แปลก เพราะผมก็โดนคดี ม.116 ขึ้นศาลทหารเช่นกัน แต่ต่อมามีการยกเลิกคำสั่งและย้ายคดีไปสู่ศาลพลเรือน และกลับมาใช้กลไกปกติคือ อุทรณ์และฏีกาได้ ดังนั้นเคสของน้องจูนจึงเป็นเรื่องที่ขัดทั้งหลักการและความรู้สึกเป็นอย่างยิ่งในหลายมิติ

ผมหวังว่าจะมีนักกฏหมายที่หาช่องทางฟื้นคดีนี้ขึ้นมาใหม่ และพิจารณาอยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้องกว่านี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิโรจน์' อัด 'เพื่อไทย' หงออำนาจลายพราง หลังสภาฯตีตกกม.โอนคดีทุจริตทหารไปศาลพลเรือน

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมการกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร และ นายเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม.พรรคประชาชน ในฐานะเลขานุการ กมธ. ร่วมแถลงภายหลังที่ประชุมรัฐสภา

มติรัฐสภา ตีตก ร่างกม.ป.ป.ช. โอนคดีทุจริตทหารสู่ศาลอาญาทุจริต

เสียงข้างมาก 415 เสียง ลงมติไม่เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ป.ป.ช. ฉบับแก้ไข ที่ให้โอนคดีทุจริตของบุคลากรในกองทัพจากศาลทหารไปยังศาลอาญาคดีทุจริตฯ ขณะเสียงข้างน้อยชี้ ปล่อยให้ศาลทหารพิจารณาคดีต่อ เท่ากับประวิงเวลาและขัดหลักความยุติธรรมสากล

ครม. ไฟเขียวหลักการร่าง พ.ร.บ.พระธรรมนูญศาลทหาร

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร (ฉบับที่