'รมว.ดีอีเอส' ลั่นใช้ 2 กฎหมายลงดาบมิจฉาชีพร้านค้าออนไลน์หลอกลวง

“ชัยวุฒิ” รมว.ดีอีเอส รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มผู้เสียหายเหยื่อเพจสินค้าแบรนด์เนม ออนไลน์ มูลค่าความเสียหายกว่า10 ล้านบาท ประกาศใช้ 2 กฎหมายลงดาบมิจฉาชีพร้านค้าออนไลน์ ทั้ง พ.ร.บ.คอมพ์ฯ มาตรา 14 (1) และกฎหมายอาญา มาตรา 341 ฐานฉ้อโกง

18 ก.พ. 65 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และว่าที่ พ.ต.อ.ศุภรฐโชติ จำหงส์ ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1  (บก.สอท.1) ร่วมกันแถลงข่าว “การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้เสียหายที่สั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมออนไลน์แต่ไม่ได้รับสินค้า” ภายหลังมีผู้เสียหาย 8 ราย จากจำนวนผู้เสียหาย 39 รายรวมตัวกันเดินทางมาร้องเรียนที่กระทรวงดิจิทัลฯ บางรายได้เข้าแจ้งความไว้แล้ว

โดย ผู้เสียหายได้สั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมจากเพจ The Sandy Brand แล้วไม่ได้รับสินค้า  ครอบคลุมตั้งแต่ราคาหลักหมื่นถึงหลักแสน รวมมูลค่าความเสียหายไม่ตำ่กว่า  10 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียหายอีกหลายรายกำลังรวบรวมรายชื่อเพื่อเข้าแจ้งความเพิ่มเติมด้วย  โดย นาย ชัยวุฒิ ระบุ ว่า เบื้องต้นต้องดำเนินการปิดเว็ป เเละเอาผิดกับกรณีนี้เป็นการเร่งด่วนเพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อและ

ขอเตือนมิจฉาชีพพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ว่า ปัจจุบันเรามีกฎหมายที่กำกับดูแลในเรื่องนี้อยู่ โดยผู้กระทำผิดจะถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) โดยกองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) พร้อมภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเร่งดำเนินการติดตามผู้กระทำเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย และป้องกันไม่ให้ประชาชนรายอื่นๆ เป็นเหยื่อกลโกงของผู้ค้าออนไลน์ในลักษณะนี้

เพราะนี่คือปัญหาใหญ่ของการซื้อขายออนไลน์ ที่นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ดีอีเอส และ ETDA รีบจัดการแก้ปัญหา เพราะพบว่ามีการทำกันเป็นขบวนการหลอกลวงผู้เสียหายจำนวนมาก สุดท้ายจะทำให้ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจออนไลน์เสียหายไปทั้งระบบ 

โดยส่วนความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำความผิดโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” 

และถ้าการกระทำความผิดข้างต้นมิได้กระทำต่อประชาชน แต่เป็นการกระทำต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทำ ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 14 วรรคท้าย

 นอกจากนี้ ผู้หลอกขายยังมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ โดยการทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนมาตรา 343 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ โดยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน แล้วแต่กรณีอีกด้วย 

นายชัยวุฒิ กล่าวว่า สำหรับในส่วนของประชาชน และผู้บริโภค ต้องเร่งสร้างความรู้เท่าทันกลโกงของการซื้อขายสินค้าออนไลน์  โดยแนะนำจุดสังเกตมิจฉาชีพร้านค้าออนไลน์ก่อนตกเป็นเหยื่อ ดังนี้ 1. ตรวจสอบประวัติผู้ขาย และรีวิวร้านค้า นำชื่อผู้ขาย เลขบัญชี หรือ เบอร์โทรศัพท์ค้นหาใน google หากมีประวัติการหลอกลวง จะมีคนพูดถึงรายละเอียดการโกง 2. ราคาถูกเกินจริง เช็คราคาท้องตลาด อย่าเห็นแก่ของถูก 

3. หลอกให้โอนเงินทันที พยายามโน้มน้าวใจให้ผู้ซื้อรีบโอนเงินก่อนพลาดโอกาสได้ของดีราคาถูก 4. วิธีการสั่งซื้อและวิธีการจัดส่งไม่ชัดเจน ร้านค้าส่วนใหญ่มักจะมีการจัดส่งที่ชัดเจน มีให้เลือกหลายช่องทาง รวมถึงมีบริการเก็บเงินปลายทาง และนัดรับสินค้า

ทั้งนี้ จากข้อมูลของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCC เมื่อสิ้นปี 64 พบว่า เกือบ 80% ของข้อร้องเรียนปัญหาซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ คือ ไม่ได้รับสินค้า และสินค้าไม่ตรงปก โดยประเภทสินค้าที่มีการร้องเรียรนมากสุด ได้แก่ อุปกรณ์ไอทีและสินค้าแฟชั่น ครองสัดส่วนรวมกันเกือบ 50%

โดยช่องทางการซื้อขายที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ เฟซบุ๊ก คิดเป็น 82.1% ตามมาด้วย เว็บไซต์ อินสตาแกรม แพลตฟอร์มอี-มาร์เก็ตเพลส ไลน์ ทวิตเตอร์ และยูทูบ ตามลำดับ

ทั้งนี้ กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดช่องทางให้ประชาชนที่พบเบาะแส หรือปัญหาจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ สามารถร้องเรียน ขอคำปรึกษา หรือแจ้งเบาะแสเข้ามาได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ 1212 OCC ผ่านช่องทาง ดังนี้ สายด่วนโทร. 1212 อีเมล์ [email protected] เว็บไซต์ 1212OCC.com เพจเฟซบุ๊ก : ข้อมูลข่าวสาร 1212 OCC และสำนักงานสถิติจังหวัดทั่วประเทศ อีกทั้งยังสามารถแจ้งได้ผ่านกล่องข้อความของเพจอาสาจับตาออนไลน์ที่ https://m.facebook.com/DESMonitor/

ชมคลิป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตร.ไซเบอร์ ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกเหยื่อโอนเงิน 115 ครั้ง สูญ 200 ล้านบาท

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน รอง ผบช.สอท. พล.ต.ต.นิพล บุญเกิด ผบก.สอท.2 และ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว “ปฏิบัติการ SAVING GOOD MAN ตร.ไซเบอร์ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์

'ดร.อานนท์' โวย 'ดีอีเอส' ยังปล่อยคลิป 'วัคซีนพระราชทาน' ว่อนโซเชียล

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์