'อธิบดีกรมฝนหลวง' ยันอยู่ช่วยชุมพรจนพ้นวิกฤตแล้ง!

อธิบดีกรมฝนหลวงฯ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งชุมพร ยืนยันอยู่ช่วยจนกว่าจะพ้นวิกฤติ เผยตั้งแต่ 26 พ.ค.ถึง 5 มิ.ย.ปฏิบัติการบิน 7 วัน จำนวน 15 เที่ยวบินแล้ว

07 มิ.ย.2566 - นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร ประชุมสรุปผลการปฏิบัติการฝนหลวงในภารกิจบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดชุมพร โดยมี นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายสินชัย พึ่งตำบล ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ นายเจริญโชค พรหมชุติมา นายอำเภอปะทิว ผู้บริหารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ณ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ท่าอากาศยานชุมพร อ.ปะทิว จ.ชุมพร

นายสุพิศกล่าวว่า ได้รับการประสานงานจากจังหวัดชุมพรเกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เข้าขั้นวิกฤต หลังฝนทิ้งช่วงนานกว่า 3 เดือน ทำให้อากาศร้อนจัด น้ำในคลองแห้งขอด ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้พืชผลทางการเกษตรรเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะทุเรียนที่ขาดน้ำมานานทยอยยืนต้นตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคใต้ ได้ดำเนินการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อปฏิบัติการทำฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งและเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 โดยใช้อากาศยานขนาดกลาง (CASA) จำนวน 2 ลำ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกว่า 32 นาย ในการปฏิบัติการฝนหลวง โดยจัดตั้งหน่วยขึ้นที่จังหวัดชุมพร เป็นการเฉพาะกิจให้มีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น

“ในปี 2566 นี้ จังหวัดชุมพรอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ซึ่งจะส่งผลให้มีฝนตกปริมาณน้อย พื้นที่การเกษตรของจังหวัดชุมพร ที่มีถึง 2.56 ล้านไร่ เป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด โดยเฉพาะทุเรียนที่ปีนี้คาดว่าผลผลิตจะลดลงประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมี สวนมังคุด สวนมะพร้าว ที่ได้รับผลกระทบ จึงต้องเร่งให้การการช่วยเหลือบรรเทาปัญหาให้เบาบางลง ขอให้มั่นใจในการทำงานของเราและกรมฝนหลวงฯ จะอยู่ปฏิบัติงานเคียงข้างชาวชุมพรจนกว่าจะพ้นวิกฤตภัยแล้ง และจากการปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 5 มิถุนายน 2566 ปรากฏว่าหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ได้ขึ้นปฏิบัติการบิน รวม 7 วัน จำนวน 15 เที่ยวบิน ชั่วโมงบิน 22 ชั่วโมง ซึ่งสามารถทำให้มีปริมาณฝนตกสะสมอยู่ระหว่าง 22 – 45 มิลลิเมตร ในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตามขอให้พี่น้องประชาชนช่วยกันบริหารจัดการแหล่งน้ำของตนเอง ให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอไว้ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย”อธิบดีกรมฝนหลวงฯ ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พรุ่งนี้ ศบค.ยังไร้แววยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ส่วนเรื่องเปิดผับยันสว่างไร้อำนาจเคาะ

เลขา สมช. เผยประชุม ศบค. 19 ส.ค. ปรับโควิดเป็นโรคเฝ้าระวัง ยังไม่เลิกกฎหมายพิเศษ แต่ปรับตามสถานการณ์ ชี้เปิดผับถึงตี 4 ไม่ใช่อำนาจ ศบค.

ชง ศบค.ผ่อนคลายมาตรการชุดใหญ่แต่ยังต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เลขาฯ สมช.ถกมาตรการผ่อนคลาย ชง ศบค.ชุดใหญ่ปรับโซนสี -ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพิ่มระบบติดตามนักท่องเที่ยว ชี้ผู้ปกครองโวยตรวจเอทีเคเด็กต้องดูความปลอดภัย