8 มิ.ย.2566 - นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ,นายดนัย สุนันทารอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต, นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต,นายศุภโชค ละอองเพชร รองนายกเทศมนตรีนครภูเก็ต ,นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ,แพทย์หญิงศุภลักษณ์ ละอองเพชร รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต , แพทย์หญิงเหมือนแพร บุญล้อม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลป่าตองภูเก็ต,นายแพทย์ชูชาติ นิจวัฒนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฉลองภูเก็ต,นายแพทย์บรรพตปานเคลือบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลถลางภูเก็ต, ดร.นุชรัตน์ ประสิทธิ์ศิลปฺชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนจังหวัดภูเก็ต,ดรวิภา สายรัตน์ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต นาย เพิ่มเกียรติ เกษกูล นายกสมาคมการศึกษาเอกชนภูเก็ตร่วมแถลงข่าวกรณี สถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำจังหวัดภูเก็ต ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ช่วงนี้พบโรคอุจจาระร่วง ในจังหวัดภูเก็ต มีลักษณะแพร่กระจายทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ตในกลุ่มอายุทั้งผู้ใหญ่และเด็กซึ่งที่ผ่านมาพบในช่วงฤดูฝนที่จะพบมากส่วนมากเป็นเชื้อไวรัส
"ขอให้ความมั่นใจกับชาวภูเก็ตว่าตอนนี้สถานการณ์โรคยังไม่วิกฤติ โดยโรงพยาบาลภาครัฐมีผู้ป่วยเฉลี่ยเข้าประมาณวันละ 50 คน ถึง 70 คนต่อวัน มีผู้ป่วยเข้านอนโรงพยาบาลวันละ 3-4 คนต่อรพ. ส่วนโรงพยาบาลเอกชนมีผู้ป่วยใช้บริการจำนวนมากกว่าโรงพยาบาลรัฐ อยู่ที่ประมาณ 100 คน อาการผู้ป่วยไม่รุนแรงมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
การตรวจพบว่า มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน2566 วันที่ 7 มิถุนายน2566 และวันที่ 8 มิถุนายน 2566ให้ความมั่นใจศักยภาพการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข ภาครัฐ ภาคเอกชน รองรับได้ทั้งจำนวนเตียงและยา การป้องกันตัวเองมีส่วนสำคัญในการกินร้อนช้อนกลางล้างมือ อาหารสะอาดจะช่วยป้องกันการเกิดอุจจาระร่วงได้
ในเรื่องการควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขโดยสาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ และหน่วยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เมื่อเจอผู้ป่วยคลัสเตอร์ใหญ่ สถานที่เดียวกัน เช่น โรงเรียน เป็นต้น มีทีมงานลงสอบสวนโรคในที่เกิดเหตุ โดยเก็บตัวอย่างน้ำ อาหาร สุขาภิบาลโรงอาหารโรงประกอบอาหารคลอรีน น้ำกินน้ำใช้ว่าส่วนไหน ไม่ได้มาตรฐานที่มีเชื้อปะปนอยู่
งานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ลงไปตรวจโรงทำน้ำดื่มโรงทำน้ำแข็ง ถึงเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ประมาณ 3-4 แห่งในแหล่งที่เป็นแหล่งผลิตน้ำแข็งโรงใหญ่ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และปลายเดือนที่แล้วมีการส่งตรวจเชื้อแบคทีเรียแต่ไม่พบ และ ใน 1-2 วันนี้จะลงไปเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจเรื่องเชื้อไวรัสเพิ่มเติม จะต้องหาแหล่งที่เป็นเชื้อหลัก เพราะว่ามีการกระจายไปทั่วทั้งเกาะ ผู้ป่วยมีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ระยะการระบาดที่ผ่านมา ของจังหวัดภูเก็ตเมื่อมีฤดูฝนจะพบผู้ป่วย ท้องเสียเพิ่มมากขึ้นเป็นแบบนี้ทุกปีอยู่ประมาณ 1 เดือน การเก็บตัวอย่างน้ำ น้ำแข็ง และ อาหารที่เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ส่งตรวจใช้เวลา 5-7 วัน จึงจะทราบผล"นายแพทย์กู้ศักดิ์ กล่าว
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต รายงานสถานการณ์โรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ จังหวัดภูเก็ต ว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยและจังหวัดภูเก็ตเข้าสู่ฤดูฝน อากาศมีความเย็นและขึ้นทำให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อไวรัสโนโรและไวรัสโรต้า รวมถึงเชื้อแบคที่เรีย เชื้ออีโคไล ที่เกิดจากการรับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำแข็งที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อก่อโรค ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
โดยวันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตได้รับรายงานสถานการณ์พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเข้ารับบริการในโรงพยาบาลภาครัฐ เฉลี่ย 50 ราย/วัน โรงพยาบาลเอกชน เฉลี่ย 100 ราย/วัน กระจายหลายกลุ่มอายุ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งมีรายงานพบนักเรียนป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงกระจายในหลายโรงเรียน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าโรงพยาบาลมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และบางรายมีไข้ ซึ่งพบทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งนี้ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ชัดเจน และพบการกระจายของโรคทั้ง 3 อำเภอ สำหรับในโรงเรียนพบนักเรียนป่วยในพื้นที่อำเภอเมือง กะทู้ และถลาง ประวัติอาหารและความเชื่อมโยงยังไม่ขัดเจน
จากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. แจ้งสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐ และเอกชน ติดตามฝ้าระวังสถานการณ์โรคติดต่อทางอาหารและน้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมการดำเนินการป้องกันควบคุมการระบาดของโรคฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ
2. แจ้งสถานศึกษาในพื้นที่ทุกระดับ ให้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ , ให้มีมาตรการคัดกรองผู้ป่วยให้หยุดเรียนจนกว่าจะหาย , เน้นมาตรการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน และเพิ่มความเข้มข้น ความถี่ ในการทำความสะอาด
3. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรค ได้แก่ การปฏิบัติตนให้ถูกสุขอนามัย ด้วยการรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆและอาหารค้างมื้อ งดทานอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังจากถ่ายอุจจาระ หรือสัมผัสสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคทั้งจากตนเองไปสู่ผู้อื่น กรณีที่ป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
4. ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
4.1 เฝ้าระวังมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร ประกอบด้วย ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาดสด ตลาดนัด และอาหารริมบาทวิถี
4.2 ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สาธารณะ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน
4.3 กำกับดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของหน่วยงาน ในการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
4.4 ติดตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงาน และประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 - 1 ppm. และมีการสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
5. ประสานประปาภูมิภาคให้ดำเนินการติดตาม กำกับดูแลระบบประปาของหน่วยงานและประปาชุมชน ให้มีค่าคลอรีนอิสระคงเหลือปลายท่อ 0.5 - 1 ppm. และมีสุ่มตรวจ เพื่อเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
6. ประเมินและประสานสถานประกอบการที่ผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็ง เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวังความปลอดภัย โดยดำเนินการตรวจสอบกระบวนการฆ่าเชื้อและการควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงเน้นย้ำผู้ประกอบการกวดขันเกี่ยวกับสุขลักษณะที่ดีของพนักงานในกระบวนการผลิต และควบคุม
ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนในขั้นตอนการขนส่งน้ำแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อ
7. ดำเนินการเฝ้าระวังเชื้อในพื้นที่โดยการเก็บตัวอย่าง น้ำ น้ำแข็ง น้ำใช้ อุจจาระ และอาเจียนเพื่อส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค (อยู่ระหว่างรอผล)
นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีเหตุให้เผชิญตลอดเวลาเมื่อเผชิญแล้วจะแก้ปัญหาไปได้อย่างไร ซึ่งได้เห็นความพร้อมของทุกหน่วยงานที่ยืนยันว่า จะหาทางแก้ไขปัญหานี้ให้จบเร็วที่สุดเป็นเรื่องของหลักวิชาการทางการแพทย์และความร่วมมือของทุกฝ่ายโดยเฉพาะการปฏิบัติตนของทุกคน ในการปฏิบัติตัว กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด เพื่อป้องกันเหตุท้องเสีย ขอให้ทุกคนช่วยกันระมัดระวัง ดูแลตัวเอง เพื่อสามารถหยุดปัญหาได้เร็วขึ้น ขอให้ร่วมใจแก้ปัญหาซึ่งที่ผ่านมาได้ผ่านวิกฤตมาหลายวิกฤตแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เศรษฐา' แวะรับเรื่องร้องทุกข์ชาวภูเก็ต ก่อนฟังข้อสรุปโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับฯ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เดินทางไปรับฟังข้อสรุปเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ ที่จุดตัด ทล.402 กับ ทล.4027 เพื่อลดปัญหาจราจรติดขัดและอำนวยความสะดวกปลอดภัยในการเดินทางสู่เมืองภูเก็ต
รวบชาวเคนยา 3 ราย คาสนามบินภูเก็ต กลืนโคเคนเกือบ 3 กก.ลงในท้อง
พ.ต.อ.สลาน สันติศาสนกุล กล่าวว่า สภ.สาคู ภายใต้การอำนวยการของ พ.ต.อ.สลาน สันติศาสนกุล ผกก.สภ.สาคู พ.ต.ท.รัตนวุฒิ หนูแก้ว รอง ผกก.สส.สภ.สาคู นำโดย พ.ต.ท.ชำนาญ อินทานนท์ สว.สส.สภ.สาคู พร้อมด้วย ชุดสืบสวน สภ.สาคู
'ก้าวไกล' รุกหนักจี้หน่วยงานจังหวัด-ท้องถิ่น เร่งแก้สารพัดปัญหาร้องเรียนในภูเก็ต
นายเฉลิมพงศ์ แสงดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดภูเก็ตเขต 2 พรรคก้าวไกล กล่าวว่า จากกรณีมีคราบน้ำมันขึ้นมาเกลื่อนชายหาดหลายแห่งของจังหวัดภูเก็ตจำนวนมาก ได้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก. )
ชาวเลอันดามัน ร้องผู้ว่าฯภูเก็ต ทบทวนให้เอกชนเช่าที่สร้างโรงแรมริมหาดไม้ขาว
เครือข่ายชาวเลอันดามันและเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง รวมตัวกัน กว่า 20 คน รวมตัวกันยืนถือป้ายข้อความว่า " ชาวเล และ เต่าทะเลอยู่คู่หาดไม้ขาวมายาวนาน,รวมใจSAVE หาดไม้ขาวฯ และ ยื่นหนังสือแก่นายอานุภาพ
'โชเฟอร์ภูเก็ต' ไม่พอใจ! บุกสำนักงาน สส.ก้าวไกล พูดเหมารวม 'แท็กซี่มาเฟีย' ถกในสภาฯ
กลุ่มแท็กซี่จำนวนหนึ่งรวมตัวกันที่สำนักงาน สส.จังหวัดภูเก็ต เขต 1 พรรคก้าวไกล เรียกร้องให้ ว่าที่ร้อยตรีสมชาติ เตชถาวรเจริญ สส.ภูเก็ต ชี้แจง คำว่า แท็กซี่มาเฟียที่ได้กล่าวในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566
เครือข่ายอนุรักษ์ฯ ยื่น 5 ข้อเรียกร้อง จี้ทัพเรือภาค 3 เร่งฟื้นฟูสวนป่าบางขนุน
กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานและตัวแทนแต่ละพื้นที่ เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน ประกอบด้วย นายจำรูญ เกิดดำ นายภูวัชร กิ่งทอง นายเชาว์ วิชัยดิษฐ์