ชาวบ้านยโสธร หนุนพี่น้องจะนะ จี้รัฐป้องพื้นที่ปลอดภัยให้ชุมชน

กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ยืนหยัดต้านโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมหนุนพี่น้องจะนะปกป้องทรัพยากร จี้รัฐต้องปกป้องพื้นที่ปลอดภัย ดิน น้ำ ป่า  อากาศ คุณภาพชีวิต

12 ธ.ค. 2564 – ที่ ศูนย์ประสานงานกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง บ้านเชียงเพ็งหมู่ที่ 1 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ได้มีชาวบ้านในนาม กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ประมาณ 20 กว่าคน ร่วมกันทำกิจกรรมเผาพริกเผาเกลือสาปแช่งโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมอ่านแถลงการณ์ยืนหยัดคัดค้านโรงคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมทั้งเสนอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการประกาศเป็นพื้นที่ปลอดภัยด้านชุมชน ดิน น้ำ ป่า อากาศ และคุณภาพชีวิต เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งประกาศหนุนชาวบ้านจะนะ จ.สงขลา ที่ปักหลักชุมนุมอยู่ในขณะนี้

 น.ส.วาสนา ขันคำ กล่าวว่า ในขณะนี้ ชาวบ้าน อ.จะนะ จ.สงขลา ได้ขึ้นมาทวงสัญญาจากรัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลได้ตกลงกับชาวบ้านไว้เมื่อปีที่แล้วว่าจะยุติการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะไว้ก่อนในทุกกรณี แล้วตั้งกรรมการที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายขึ้นมาศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพสำหรับการตัดสินใจ ซึ่งข้อตกลงนี้ ครม.ก็รับทราบ ดังปรากฏในการประชุม ครม.เมื่อ 15 ธันวาคม 2563 แต่การกลับปรากฏว่ารัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆ ตามข้อตกลง พร้อมกับเดินหน้าโครงการต่อ และเมื่อชาวบ้านชาวขึ้นมาทวงสัญญารัฐบาลกลับใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามจับกุม

น.ส.วาสนา กล่าวว่า  ซึ่งทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง มองว่ารัฐบาลไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา แต่กลับเพิ่มความขัดแย้งให้กับชุมชนมากกว่า ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านออกมาแสดงออกในการปกป้องทรัพยากรชุมชน ปกป้องวิถีชีวิตของตนเอง เหมือนกับหลายพื้นที่ ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องจะนะนั้น ไม่ได้แตกต่างจาก กลุ่มอนุรักษ์อนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ที่รัฐพยายามทำลายแหล่งทรัพยากรที่ชาวบ้านพยามปกป้องรักษาไว้เป็นแหล่งหาอยู่หากิน แต่กลับรัฐอ้างนโยบายในการรุกราน ทำลาย  

น.ส.วาสนา กล่าวว่า  โดยวันนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็งได้จัดกิจกรรมเผาพริกเผาเกลือสาปแช่งโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลนั้น เพราะว่าเมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาทางบริษัทฯได้เอาของแจกมาให้เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงและทางเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเพ็งได้ทำหน้าที่ในการเอาของจากบริษัทฯมาแจกชาวบ้าน

เธอระบุว่า ทางกลุ่มขอตั้งคำถามว่า ใช่บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่จะต้องมาแจกของบริษัทหรือไม่ ที่ผ่านมาก็ควรจะรู้ว่าทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็งคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลมาตลอดระยะเวลามา 4 ปีแล้ว ซึ่งพรุ่งนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็งจะเข้าไปถามปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเพ็งและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องว่ารับใช้ทุนหรือรับใช้ประชาชนกันแน่

“ทั้งนี้ทางกลุ่มพี่น้องอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ขอส่งกำลังใจ และยืนเคียงข้าง พี่น้องจะนะที่ออกมาคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะในการปกป้องบ้านเกิด ปกป้องทรัพยากรและวิถีชีวิตเหมือนกับกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายกำลังดำเนินการอยู่ด้วยเช่น” น.ส.วาสนา ระบุ

ด้าน น.ส.นวพร เนินทราย  กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ได้อ่านแถลงการณ์ ซึ่งมีเนื้อหา ระบุว่า  เป็นเวลา 4 ปีแล้วที่กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายตำบลเชียงเพ็งได้ยืนหยัดคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ตั้งในพื้นที่ตำบลน้ำปลีก ในขณะที่โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีมวลได้ดำเนินการมาปีนี้เป็นปีที่ 3 แล้ว เพราะพื้นที่เราอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลได้เปิดดำเนินการเรารับรู้ได้ถึงมลภาวะที่เกิดจากเสียงดังรบกวนวิถีชีวิตปกติสุขของชุมชน

การเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเพื่อคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เรามีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องวิถีชีวิตบ้านเกิด ปกป้องทรัพยากร แต่รัฐบาลไม่เคยที่จะฟังเสียงของชาวบ้าน ในทางกลับกันยังเปิดช่องทางเอื้อให้กับทุน 

ตลอดจนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศในครั้งนี้ซึ่งจะทำให้ภาคอีสานมีนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ มีกลุ่มโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานซึ่งเกิดจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายประเภทภายในพื้นที่เดียวกันในพื้นที่ 13 จังหวัดของภาคอีสาน

 นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่จากนโยบายรัฐ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวาง แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญจะต้องมีการประเมินผลกระทบจะต้องมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ก่อน ไม่ใช่แค่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นรายโครงการเหมือนที่ผ่านมา

รวมถึงการกำหนดนโยบายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร จนนำมาสู่ ประชาชนในแต่ละพื้นที่ติดตามข้อมูลโดยยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลในเรื่องผังเมือง พื้นที่เปราะบางหรือพื้นที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

ทั้งนี้ บทเรียนสถานการณ์ปัญหาโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลในพื้นที่ตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการที่ผ่านมาทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เพื่อนำไปสู่การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA นั้น ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่แต่เป็นเพียงพิธีกรรมของบริษัทที่ปรึกษาที่ทำให้ครบกระบวนการเท่านั้น และถึงแม้ว่าโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลจะดำเนินการเป็นปีที่ 3 แล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ชุมชนรับรู้ได้ในปัจจุบันคือผลกระทบ

ดังนั้นแล้วทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็งจึงเรียกร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการ “ประกาศเป็นพื้นที่ปลอดภัยด้านชุมชน ดิน น้ำ ป่า อากาศ และคุณภาพชีวิต” เพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.เอ้' ไม่เห็นด้วย วิธีขนย้าย 'แคดเมียม' ของรัฐบาล แนะรีบทำ 4 ข้อ ด่วน!

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (ดร.เอ้) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. ไม่เห็นด้วยกับการเตรียมขนย้ายกากแคดเมียมกลับไปยังบ่อฝังกลบที่ จ.ตาก ที่รัฐบาลให้ข้อมูล

ชาวร้อยเอ็ด-ยโสธร ร่วมจัดกิจกรรม 'บอกฮักแม่น้ำชี' เสนอรัฐบาล 3 ข้อ

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร ประมาณ 100 คน ร่วมกันจัดกิจกรรม “บอกฮักแม่น้ำชี บวชแม่น้ำชี ณ วัดบ้านอีโก่ม ตำบลเทอดไทย อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด

'ดร.อานนท์' ท้าแกนนำพรรคการเมืองล้มเจ้า เยาวชนสามกีบ มาดีเบตอย่างปลอดภัย

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'มนต์แคน-ไผ่' ผนึกกำลัง ส่งของไปร่วมกิจกรรมวันเด็กที่ยโสธร

เรียกได้ว่าเป็น 2 ศิลปินที่มีบ้านเกิดอยู่จังหวัดเดียวกันคือจังหวัดยโสธร สำหรับ มนต์แคน แก่นคูน และ ไผ่ พงศธร ล่าสุดในวาระวันเด็กแห่งชาติ 2567 ทั้ง ไผ่ และ มนต์แคน ผนึกกำลังร่วมกับกลุ่มเพื่อนมนุษย์ ยโสธร และองค์การบริหารส่วนตำบลกำแมด ส่งกำลังใจพร้อมสิ่งของไปให้เด็กๆ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ มีทั้งอุปกรณ์กีฬา จักรยาน ขนม น้ำดื่ม และทุนการศึกษา

เครือข่ายชาวบ้านน้ำชี ร้องนายกฯนิด ลืมแล้วหรือ ยังไม่เซ็นแต่งตั้งกก.แก้ปัญหาเขื่อนน้ำชี

นายสิริศักดิ์ สะดวก ปรึกษาเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชี จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้เครือข่ายชาวบ้านน้ำชียโสธร ร้อยเอ็ด ประมาณกว่า 200 คน รวมตัวกันบริเวณสวนสาธารณะริมแม่น้ำชีบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ และได้เคลื่อนขบวนด้วยรถยนต์กว่า 20 คัน