ครบ 8 ปีกำเนิดแลนด์มาร์กพญานาค จากพลังศรัทธาสู่เมืองท่องเที่ยวหลัก ถือฤกษ์บวงสรวงวันที่ 7 เดือน 7 ทุกปี พานบายศรีสูงสุดในประเทศ และนางรำ 9 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ
7 ก.ค.2567 – ตั้งแต่ปี 2559 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 8 ปีเต็ม และถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ จ.นครพนม หลังมีการผลักดันก่อสร้างแลนด์มาร์คริมแม่น้ำโขง ต่อมากลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งใหม่ของ จ.นครพนม รวมถึงเป็นการสร้างสัญลักษณ์เมือง ทำให้เศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับองค์พญานาค ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อ ที่ดูแลปกปักษ์รักษาแถบลุ่มน้ำโขง
โดยมีการวางแผนออกแบบก่อสร้าง ใช้เวลานานถึงเกือบ 5 ปี กระทั่งเสร็จสมบูรณ์แบบ นำมาประดิษฐานเมื่อปี 2559 ได้นามอันเป็นมงคลจากพระธรรมวชิรโสภณ ขณะดำรงสมณศักดิ์พัดยศพระเทพวรมุนี(ในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ว่า พญาศรีสัตตนาคราช สร้างขึ้นด้วยโลหะทองเหลือง เป็นพญานาคขดตัวชูเศียรพ่นน้ำ จำนวน 7 เศียร มีความสูงตั้งแต่ฐานลำตัว 9 เมตร ขดลำตัวกว้าง 6 เมตร และตั้งบนแท่นประดิษฐานสูง 5 เมตร มีน้ำหนักรวม 9 ตัน
โดยองค์พญาศรีสัตตนาคราช ประดิษฐานหันหน้าไปทางแม่น้ำโขง ใช้งบสร้างเฉพาะองค์พญานาค ประมาณ 9 ล้านบาท ถือเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ที่มีความสวยงาม โดดเด่น เชื่อมกับเส้นทาง 3 ที่สุดของ จ.นครพนม ประกอบด้วย คือ 1.ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือ องค์พระธาตุพนม
2. สวยที่สุด คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 นครพนม – คำม่วน และ 3.งามที่สุด คือวิวทิวทัศน์ 2 ฝั่งโขง รวมถึงเทือกเขาหินปูนของประเทศลาว และองค์พญานาคแลนด์มาร์คที่จะเป็นจุดขาย ประชาสัมพันธ์กระตุ้นเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว ดึงดูดประชาชน นักท่องเที่ยว สนใจมาเที่ยวชม ทำให้ปัจจุบันนครพนม มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวพักผ่อน เพิ่มหลายเท่าตัว
จากข้อมูลในอดีตเคยมีนักท่องเที่ยว เฉลี่ยปีละ 4 -5 แสนคน เพิ่มเป็นปีละเกือบ 2 ล้านคน ในช่วง 2-3ปี ที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ที่พักถูกจับจองเต็ม ทุกวันหยุดยาว หรือช่วงวันสำคัญต่างๆ
ทั้งนี้ ในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี (7 กรกฎาคม) จังหวัดนครพนม ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จัดงานประเพณีสำคัญขึ้น คือ งานบวงสรวงบูชาองค์พญาศรีสัตตนาคราช นอกเหนือจากงานประจำปี ประเพณีไหลเรือไฟออกพรรษา รวมถึงงานนมัสการองค์พระธาตุพนม โดยทุกปีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม ส่วนไฮไลท์ของการจัดกิจกรรม ทุกวันจะมีการจัดรำบวงสรวง เพื่อเป็นสิริมงคล โดยมีสาวงามจากชนเผ่าต่างๆ รวม 9 ชนเผ่า 2 เชื้อชาติ(จีน เวียดนาม) ทั้ง 12 อำเภอ เข้ารวมวันละกว่า 500 คน ในชุดพื้นเมืองประจำชนเผ่า แสดงออกถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่เป็นเอกลักษณ์ของ จ.นครพนม ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ ชื่นชม ถึงความสวยงาม อลังการ และความอ่อนช้อยงดงาม อีกทั้งเป็นการเชิญชวนประชาสัมพันธ์กระตุ้น เศรษฐกิจการท่องเที่ยว ให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย ชาวลาว มาร่วมกราบไหว้ขอพร แสดงออกถึงความเคารพศรัทธา
ตลอดช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา หลังการก่อสร้าง มีประชาชน นักท่องเที่ยว ที่เคารพศรัทธา ได้โชคลาภถูกรางวัลที่ 1 มาหลายครั้ง มากสุดได้รับรางวัลมากกว่า 90 ล้านบาท เมื่อปี 2561ที่ผ่านมา
สำหรับปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกปี ได้จัดพานบายศรีบวงสรวงขนาดความสูง 7 เมตร 70 เซนติเมตร เท่าที่ทราบมาถือว่าเป็นพานบายศรีที่สูงที่สุด ใช้งบส่วนตัวของเอกชนประมาณ 2 แสนบาท ใช้เวลาประดิดประดอยอย่างประณีตนานกว่า 1 เดือน รวมทั้งสาวงามโดย นางสาวศุภพานี โพธิ์สุ นายก อบจ.นครพนม ส่งทีมงานคัดสรรมามากกว่าทุกปีราว 700 คนเป็นอย่างต่ำ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่ทางจังหวัด จัดสถานที่ให้ร่วมรำบวงสรวงไว้
ด้าน นายธนพัต ทีฑธนานนท์ หรือเสี่ยบิ๊ก ประธานหอการค้าจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า งานบวงสรวงองค์พญาศรีสัตตนาคราช กลายเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 7 เดือน 7 ต้องยอมรับว่าคนในพื้นที่รวมถึงประชาชนนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศ เดินทางมาร่วมงานจึงส่งผลต่อเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้งนี้เกิดจากพลังศรัทธาทั้งสิ้น ส่งผลดีต่อร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พักถูกจับจองเต็ม
อีกส่วนหนึ่งสถานที่ตั้งมีความเหมาะสมเป็นแลนด์มาร์กศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก สวยงาม ทางธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำโขง นอกจากนี้องค์พญาศรีสัตตนาคราช ยังเป็นจุดเริ่มต้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐเอกชน ในการกำหนดทิศทางการพัฒนา ส่งเสริมการท่องเที่ยวมีความชัดเจนมากขึ้น มองเห็นว่านครพนมจะเติบโตในทิศทางไหน ที่จะส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวยกระดับจากเมืองรองเป็นเมืองหลัก
ที่สำคัญตั้งแต่ปี 2559 องค์พญาศรีสัตตนาคราช ได้สร้างความเชื่อมั่นความศรัทธาให้กับคนนครพนม รวมถึงประชาชนนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปาฏิหาริย์จากพลังศรัทธา ที่เรามองไม่เห็น แต่ที่จับต้องได้คือความเติบโตด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นพลังบวกทำให้จังหวัดนครพนม เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น จากที่มีแค่องค์พระธาตุพนม ทำให้มีพลังศรัทธามากยิ่งขึ้น ฝากเชิญชวนพี่น้องประชาชนมาร่วมงานบวงสรวงองค์พญาศรีสัตตนาคราช ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2567 จะได้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของชาวนครพนม รวมถึงพลังศรัทธาของประชาชนนักท่องเที่ยว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'โตโน่ ภาคิน' สุดปลื้ม รับมอบเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดชั้น 1 ของสปป.ลาว
ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โตโน่-ภาคิน คำวิลัย ศิลปิน ดารา นักร้อง นักแสดงชื่อดัง เข้าพิธีรับประดับเหรียญชัย ชั้น 1 ซึ่งเป็นเหรียญเชิดชูเกียรติสูงสุดของ สปป.ลาว
พ่อไม่ติดใจตำรวจจับตาย มือยิงประธานสภา อบต. รับลูกก่อเหตุเพราะเสพยาบ้า
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 20 หมู่ 7 บ้านต้าย ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านของนายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย หรือไอ้ยุทธ อายุ 49 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดนครพนม ฐานความผิดพยายามฆ่า หลังก่อเหตุใช้อาวุธปืนอาก้าจ่อยิงนายวินัย มณีรัตน์ อายุ 55 ปี ส.อบต.บ้านต้าย 3 สมัย และยังมีตำแหน่งประธานสภา
วิสามัญ คนร้ายยิงประธานสภา อบต. ยิงใส่ตำรวจก่อน เลยถูกตอบโต้ดับคาไร่อ้อย
นายไกรสร กองฉลาด ผวจ.ขอนแก่น พร้อมด้วย พล.ต.ต.อนุวัตร สุวรรณภูมิ ผบก.ภ.จ.ขอนแก่น เข้าตรวจสอบการติดตามจับกุม นายยุทธพล หมอกต้ายซ้าย อายุ 49 ปี คนร้ายที่ก่อเหตุนายวินัย มณีรัตน์
จนท.ตรึงกำลัง ล่ามือยิงประธานสภา อบต. คนร้ายมีปืนอาก้า ระเบิดมือ
ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับกรณีคนร้ายใช้อาวุธปืนไม่ทราบชนิดจ่อยิง นายวินัย มณีรัตน์ อายุ 55 ปี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนจาน บ้านต้าย หมู่ 7 (ส.อบต.ฯ ม.7) ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์
แม่เหยื่อคานก่อสร้างถล่ม เล่าทั้งน้ำตา อีกไม่กี่นาทีลูกชายก็จะเลิกงานแล้ว
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 145 หมู่ 9 ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม ซึ่งเป็นบ้านของนายสำเริง พะพันทาง อายุ 48 ปี และ นางกันนิกา ทุมทอง อายุ 48 ปี พ่อแม่ของนายโจ้ผู้ตาย โดยพบว่าบริเวณหน้าบ้านได้มีกางเต็นท์
หนังเค็มอีสาน ดังไกลข้ามโลก เมืองนอกสั่งออเดอร์ โกยเดือนละแสน
หนังเค็มผลิตมาจากหนังควาย คือการถนอมอาหารตามแบบภูมิปัญญาชาวอีสาน มาหลายชั่วอายุคน เหมือนเป็นมรดกสืบทอดวัฒนธรรมการกิน ส่งจากรุ่นสู่รุ่นถึงปัจจุบัน โดยชาวอีสานมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย รวมถึงอาหารก็จะกินอย่างง่ายๆ และเพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ชาวอีสานจึงรู้จักแสวงหาอาหารในท้องถิ่น