‘อุโมงค์ปิยะมิตร 1 เบตง' ต้นแบบการบริหารจัดการตามศาสตร์พระราชา

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดึงอุโมงค์ปิยะมิตร 1 เบตง ดันเป็นต้นแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามศาสตร์พระราชา

อุโมงค์ปิยะมิตร21 ก.พ.2565-รองศาสตราจารย์ ดร.นันทรัตน์ นามบุรี คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดโครงการกิจกรรมการถ่ายทอดผลการพัฒนาโดยใช้องค์ความรู้การวิจัยเพื่อการไปใช้ประโยชน์ ประเด็น “การพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานรากชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร 1 สู่ความยั่งยืน” โดยได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ภายใต้โครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อประโยชน์ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2563-2564

รศ.ดร.นันทรัตน์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มียุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ก็เป็นหนึ่งในงานวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เนื่องจากมองเห็นถึงต้นทุนของชุมชนปิยะมิตร1 ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ที่สามารถพัฒนาศักยภาพไปสู่ชุมชนเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อย่างยั่งยืน และสามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบให้กับผู้สนใจ รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนให้กับนักเรียน นักศึกษาได้ด้วย โดยมุ่งเน้นถ่ายทอดต้นแบบการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควบคู่กับการบริหารจัดการด้านการเงินและบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับธุรกิจบริการและกิจกรรมของชุมชน รวมทั้งแนะนำแนวทางการพัฒนายกระดับพืชท้องถิ่น อย่างเห็ดหลินจือดำ เป็นพืชที่พบในป่าไผ่ธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะพบเห็ดหลินจือดำขึ้นบนต้นไผ่สีทอง ซึ่งพบมากในชุมชนปิยะมิตร มีสารอาหารและสรรพคุณทางยามากมาย และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของชุมชนปิยะมิตร ที่ทางคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จะส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ต่อไป

ดร. สุกฤษตา รักสุจริต รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้กล่าวถึงประเด็นพัฒนาเสริมโฮมสเตย์ ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมบริการ ด้านเมนูอาหารอัตลักษณ์ โดยเน้นวัตถุดิบเด่นในพื้นที่ คือ เต้าหู้ป๊อก หมี่เบตง ผักน้ำ ปลานิลน้ำไหล มาสร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารเช้า ที่มีความแตกต่างและเต็มไปด้วยคุณค่าในพื้นที่ มีดังนี้ ข้าวหน้าเต้าหู้ป๊อกยัดไส้ไก่ย่างซีอิ้ว หมี่เบตงผักน้ำ และ ข้าวก้อนปลานิลน้ำไหล โดยเมนูดังกล่าวสามารถนำเสนอแพ็คเกจรวมกับที่พัก หรือแยกได้ จะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตรวจเข้ม! แรงงานไทยแห่กลับจากมาเลย์ ฉลองวันฮารีรายอ

ชาวไทยมุสลิมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งได้เดินทางข้ามแดนไปขายแรงงานตามเมืองต่างๆ ของมาเลเซีย ได้ทยอยเดินทางกลับบ้าน

ระเบิดตูมสนั่น อาคารเก็บวัตถุพยานฯ จังหวัดยะลา

เมื่อเวลาประมาณ 09.30 น. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น ที่คลังเก็บวัตถุพยาน ศูนย์ฝึกอบรมทางยุทธวิธี ศูนย์ปฎิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า (ศปก.ตร.สน.) บ้านบูเกะคละ อำเภอเมือง จังหวัด

คืบหน้าเหตุป่วนหลายจุดเดือนรอมฎอน คนร้ายมุ่งทำลายเศรษฐกิจในพื้นที่ จชต.

จากเหตุการณ์ คนร้ายกลุ่มใหญ่ก่อกวนหลายจุด ในเขตจังหวัดปัตตานี, จ.ยะลา, จ.นราธิวาส และจ.สงขลา สำหรับ จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุมากที่สุด กระจายทั้ง 10 อำเภอ จำนวน 20 จุด ล่าสุดผวจ.ปัตตานี ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบ ความเสียหาย เยี่ยมญาติกรณี

กอ.รมน. สรุปเหตุป่วนชายแดนใต้ 40 จุด สร้างสถานการณ์ความไม่สงบเดือนรอมฎอน

กอ.รมน. ภาค4 ส่วนหน้า ได้สรุปเหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งเกิดเหตุ ก่อกวนหลายจุด ทั้งในเขตจังหวัดปัตตานี, จังหวัดยะลา, จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา

'กอ.รมน.ภาค 4 สน.' สรุปป่วนใต้เกือบ 40 จุด ครบรอบ 20 ปี ตากใบ เสียชีวิต 1 ราย

'โฆษกกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า' เผยป่วนชายแดนใต้พุ่ง 30 กว่าจุด เชื่อสร้างสถานการณ์ช่วงครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ตากใบตามปฏิทินอิสลาม รับเจ้าหน้าที่ทำงานยากขึ้น พบผู้ก่อเหตุหน้าใหม่