รฟท.เตรียมเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ พ.ค.นี้

ลุยเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีกลางบางซื่อ วางไทม์ไลน์เปิดประกวาดราคา พ.ค.นี้ เอกชนยื่นซองกลาง มิ.ย. ได้ตัวเอกชนเข้าพื้นที่ พ.ย.65 คาดสร้างรายได้ให้กับ รฟท. 7.2 พันล้าน

31 มี.ค.2565-นายอนันต์ โพธิ์นิ่มแดง ผู้ช่วยผู้ว่าการด้านปฏิบัติการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. เป็นประธาน ได้รับทราบแนวการดำเนินการประกวดราคาโครงการจัดหาเอกชนเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ บริเวณอาคารสถานีกลางบางซื่อ และสถานีรถไฟชานเมืองสายสีแดง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) 12 สถานี จาพื้นที่ 52,375 ตาราตางเมตร(ตร.ม)ได้มีการปรับลดจำนวนพื้นที่ลงประมาณ 4,700 ตร.ม.ส่งผลให้เหลือพื้นที่ที่จะใช้ประมูลเพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ 47,675 ตร.ม.

สำหรับการเปิดประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ 47,675 ตร.ม. นั้น รฟท.เตรียมเปิดประกวาดราคาในเดือน พ.ค.นี้ เอกชนยื่นซองกลาง มิ.ย. นี้ คาดว่าจะได้ตัวเอกชนภายในเดือน พ.ย.65 และส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ ได้ประมาณปลายปี 2565 คาดว่าตลอดอายุสัมปทานประมาณ 20 ปี เป็นสัญญา 1 และสัญญา 2 คาดว่าการเปิดประมูลในระยะที่1 จะสร้างรายได้ให้กับ รฟท. ประมาณ 7,200 ล้านบาท หรือประมาณ 360 ล้านบาทต่อปี ส่วนสัญญาที่ 3 และ 4 เป็นสัญญาระยะสั้น 3 ปีคาดว่าตลอดอายุสัมปทาน 3 ปี จะสร้างรายได้ให้กับ รฟท. ประมาณ 120 ล้านบาท

“แนวทางการเปิดประมูลของเอกชนนั้น การดำเนินการจะพิจารณาจากใครให้ข้อเสนอที่สูงกว่าร่วมถึงทางด้านเทคนิคด้วย เนื่องจากการประมูลดังกว่าวใช้เกรฑ์ด้านเทคนิคและราคาด้วย แบ่งสัดส่วนด้านเทคนิค 80% ด้านราคา 20% เนื่องจากการที่จะให้การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อเกิดขึ้นได้นั้น เทคนิคมีความสำคัญกว่า เพื่อให้ผู้ปนะกอบการที่มีความชำนาญทางด้านนี้และเทคนิคที่ดีที่จะผสมผสานเรื่องของการเดินรถไฟฯและพื้นที่ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด”นาย อนันต์ กล่าว่า

นายอนันต์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดเงื่อนไขการประมูล(TOR) นั้น รฟท. ได้กำหนดเบื้องต้นว่าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ฯ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่าง ประกอบด้วย 1.ศูนย์อาหาร 2.กิจกรรมธุรกรรมทางด้านการเงิน 3. พื้นที่จัดจำหน่ายสินค้า OTOP และ 4.ตู้จัดเก็บสัมภาระ ขณะเดียวกันได้เปิดทางให้เอกชนเป็นผู้ยื่นเสนอแผน เช่น ร้านสินค้าแบรนด์เนม, โรงแรมฯ และสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) เป็นต้น โดยTOR ได้เปิดกว้างให้ผู้ประกอบการที่เคยพัฒนาพื้นที่ฯ อย่างน้อย 1 หมื่นตร.ม. เข้าร่วมประมูลด้วย ซึ่งคาดว่าจะมีเอกชนให้ความสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัล ที่ก่อนหน้านี้เคยมีการทำสัญญาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์กับ รฟท. มาก่อน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 1.33 แสนล้าน

บอร์ด รฟท. ไฟเขียวรถไฟทางคู่เฟส 2 รวม 3 เส้นทาง 634 กม. 1.33 แสนล้าน ปากน้ำโพ-เด่นชัย, ชุมทางถนนจิระ-อุบลฯ, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์‘ ชงคมนาคม ก.พ.นี้ ก่อนเสนอครม. ต่อไปเคาะ ยันรายงานอีไอเอผ่านฉลุย

'สุริยะ' ตั้งธงศึกษา 'สถานีขนส่งบขส.' ใหม่เสนอครม.ภายในปี67

“สุริยะ” สั่ง รฟท.ทบทวนแผนพัฒนาพื้นที่พหลโยธินใหม่ แนะเกลี่ยพื้นที่ให้ บขส.สร้างรวมสถานีขนส่งผู้โดยสาร”เหนือ-อีสาน-ใต้”แห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คาดศึกษา

รฟท.ถก 'ซีพี' สางปมแก้ไขสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนาม

รฟท.ถก“ซีพี-สกพอ”สางปมไฮสปีดเชื่อมสามสนามบินลุยชงอัยการพิจารณาต้นปีหน้า ปักธงลงนามแก้ไขสัญญาภาย เดือนพ.ย.67 ส่วนพื้นที่ทับซ้อน เร่งเจรจาเอกชนต้องก่อสร้างให้สอดคล้องกับทางมาตรฐานจีนที่รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง