
ธ.ก.ส. เดินหน้าขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ตามนโยบายรัฐบาล โดยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้ในระดับจังหวัดและสาขา เพื่อเข้าไปดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดโครงการชำระดีมีคืน โดยคืนดอกเบี้ยร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง วงเงินรวม 2,000 ล้านบาทและโครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน ปีบัญชี 2565 เพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก โดยลดดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 เพื่อเสริมสภาพคล่อง
21 มิ.ย. 2565- นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้ไขหนี้สินภาคครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมสนับสนุนนโยบาย โดยวางมาตรการในการฟื้นฟูและลดหนี้ครัวเรือนเกษตรกรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภัยธรรมชาติและภาวะเศรษฐกิจถดถอย จนทำให้เกษตรกรลูกค้ามีรายได้ลดลงสวนทางกับภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น โดย ธ.ก.ส. จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้ในระดับจังหวัดและสาขาเพื่อจัดทีมงานลงไปพบปะพูดคุย สอบถามปัญหากับเกษตรกรลูกค้า และวางแนวทางการเข้าไปช่วยเหลืออย่างตรงจุด ควบคู่กับการจัดโครงการชำระดีมีคืน และโครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน ปีบัญชี 2565 เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินอันเป็นภาระหนัก เสริมสภาพคล่องให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้เพียงพอสำหรับหมุนเวียนในครัวเรือน
สำหรับโครงการชำระดีมีคืน ปีบัญชี 2565 มุ่งเน้นให้เกษตรกร บุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล รวมถึงกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ซึ่งเป็นลูกค้าที่สามารถชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยได้ปกติหรือมีหนี้ค้างชำระ ไม่เกิน 3 เดือน ในปีบัญชี 2565 ที่มีหนี้คงเหลือ ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 (ยกเว้นหนี้เงินกู้โครงการที่ได้รับชดเชยดอกเบี้ยตามนโยบายรัฐบาล) มีแรงจูงใจในการชำระหนี้ตามกำหนดเวลา โดยธนาคารจะคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรงในวันถัดไป วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท สำหรับเกษตรกรบุคคล รับดอกเบี้ยคืน อัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท และกลุ่มเกษตรกร นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รับดอกเบี้ยคืน อัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง สะสมไม่เกิน 3,000 บาท และกรณีกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ สะสมรายละไม่เกิน 10,000 บาท
โครงการลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน 2565 มุ่งเน้นให้เกษตรกรและบุคคล กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล รวมถึงกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (Non – Performing Loan – NPL) หรือหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีสถานะรับรู้รายได้ดอกเบี้ยค้างรับเกณฑ์เงินสด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565 หรือลูกหนี้ที่ออกจากโครงการพักชำระหนี้โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ครบกำหนด โดยมีอัตราในการลดดอกเบี้ย ได้แก่ 1) ลดดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยค้างชำระทั้งหมด เมื่อชำระหนี้เสร็จสิ้นเป็นรายสัญญา 2) กรณีชำระดอกเบี้ยได้เสร็จสิ้น ลดดอกเบี้ยร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง 3) กรณีชำระดอกเบี้ยบางส่วน ลดดอกเบี้ยร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง สำหรับเกษตรกรและบุคคล ในกรณีที่เป็นลูกหนี้กลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ นิติบุคคล รวมถึงกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ลดดอกเบี้ยร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
นายธนารัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ลูกค้าสามารถตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 02 555 0555 ทั้งนี้ ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 ซึ่งเมื่อเกษตรกรลูกค้าชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้วสามารถรับการสนับสนุนสินเชื่อใหม่เพื่อนำไปลงทุนในการประกอบอาชีพ รวมถึงการฟื้นฟูอาชีพเพื่อสร้างรายได้ตามความเหมาะสมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธ.ก.ส.' เสริมแกร่งสถาบันเกษตรกรอัดฉีดพันล้านรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
“ธ.ก.ส.” เตรียม 1,000 ล้านบาท อัดฉีดสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มเสริมแกร่งสถาบันเกษตรกร เคาะดอกเบี้ย 4% รัฐชดเชย 3%
'ธ.ก.ส.' ปักหมุดภารกิจสางหนี้เน่าตั้งเป้าหมายปีนี้เหลือไม่เกิน 5.5%
“ธ.ก.ส.” ปักหมุดภารกิจสางหนี้เน่า ตั้งเป้าหมายปีนี้เหลือไม่เกิน 5.5% เร่งเครื่องปั๊มสินเชื่อเติมกลุ่มขนาดใหญ่ 5 หมื่นล้านบาท พร้อมเตรียมเปิดตัวสินเชื่อรวมกลุ่มเกษตรกรขายคาร์บอนด์เครดิต
ธ.ก.ส.เตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเสริมสภาพคล่องการรับซื้อผลไม้
ธ.ก.ส. ร่วมมือกรมการค้าภายใน สนับสนุนผู้ประกอบการในการรวบรวมและรับซื้อผลไม้ฤดูกาลผลิต 2566 รวม 8 ชนิด เพื่อกระตุ้นให้มีปริมาณผลไม้หมุนเวียนในตลาดและส่งถึงมือผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ทันตามฤดูกาล โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 3 ระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ ธ.ก.ส. ตั้งแต่วันนี้จนถึง 12 พฤษภาคม 2566
'ธ.ก.ส.'ฟุ้งปี 65 อัดสินเชื่อสู่ชนบท 8.7 แสนล้าน
“ธ.ก.ส.” โชว์ผลดำเนินงานปีบัญชี 65 อัดสินเชื่อสู่ภาคชนบท 8.7 แสนล้านบาท กวาดกำไรเฉียด 8 พันล้านบาท กางแผนปีบัญชี 66 สินเชื่อโตเพิ่มมากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท เงินฝากโต 1.2 หมื่นล้านบาท เดินเครื่องแก้หนี้เสีย ปักหมุดเหลือไม่เกิน 6.7% พร้อมคาดจีดีพีภาคเกษตรปี 66 โต 2.4% โอดเศรษฐกิจโลกชะลอกดดันการส่งออกสินค้าเกษตรแผ่ว
บอร์ด ธ.ก.ส.เคาะประกันรายได้สวนยาง-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงิน 8.2 พันล้าน
บอร์ด ธ.ก.ส. เห็นชอบดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 4 และประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2565/66 วงเงินรวมกว่า 8,282 ล้านบาท
เกษตรกรเตรียมตัว ธ.ก.ส. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25%
ธ.ก.ส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก สูงสุดร้อยละ 0.60 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ร้อยละ 0.25 ต่อปี ตามมติ กนง. เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ร้อยละ 0.25 ต่อปีจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 66 เป็นต้นไป