LPN ชู 4 ปัจจัยพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับคนเมือง

'ลุมพินี วิสดอม' ชี้การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนเมืองต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สุขภาวะที่ดี มีพื้นที่สันทนาการ และเข้าถึงระบบการขนส่งธารณะ เป็น 4 ปัจจัยหลักสำคัญในการพัฒนาชุมชนเมือง


17 ส.ค. 2565- นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด บริษัทด้านวิจัยและพัฒนาในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยถึงแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง จำเป็นต้องคำนึงถึง 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี การออกแบบพื้นที่โครงการและที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงสุขภาวะอนามัยที่ดี เพิ่มพื้นที่สันนาการ ในพื้นที่อยู่อาศัย และเลือกทำเลที่เข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ง่าย

ทั้งนี้แม้เราจะอาศัยอยู่ในเมือง ถูกล้อมโดยอาคารคอนกรีต แต่คนก็มักโหยหาธรรมชาติ ดังเช่นแนวคิดที่เรียกว่า Biophilia (Edward O. Wilson) ที่เชื่อว่าลึกๆแล้วจิตใต้สำนึกของมนุษย์มีความผูกพันและโหยหาองค์ประกอบทางธรรมชาติและระบบนิเวศน์อยู่เสมอ จึงมีการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ในการออกแบบอาคารทั้งทางตรง เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในและนอกอาคาร หรือทางอ้อม เช่น การนำเอาองค์ประกอบ เส้นสาย ลวดลายของธรรมชาติมาใช้ในการออกแบบ

ในขณะเดียวกัน หลังจากที่ผ่านวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) มาแล้ว ผนวกกับการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนเมืองก็เริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ต้องการบริการด้านสุขภาพ สาธารณสุขที่มีมาตรฐาน ในด้านที่อยู่อาศัย คนเมืองมีความใส่ใจมากขึ้นตั้งแต่การมีพื้นที่ส่วนกลางที่ตอบรับกับการดูแลสุขภาพ เช่น ที่ออกกำลังกาย ไปจนถึงวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างที่เลือกใช้ ไม่มีสารพิษทำลายสุขภาพ

ทั้งนี้พื้นที่สันทนาการเป็นพื้นที่สำคัญที่รองรับกับวิถีชีวิตในปัจจุบันตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คน ที่ให้ความสำคัญกับ Social Media ที่สนับสนุนให้ทำกิจกรรมที่สนใจต่างๆอย่างหลากหลายโดยไม่ต้องออกไปนอกบ้าน ดังนั้น ที่อยู่อาศัยจึงเป็นมากกว่าที่นอนหลับพักผ่อน แต่เป็นพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมอื่นๆด้วย การออกแบบที่อยู่อาศัยในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดมิเนียม จึงมีหลายโครงการที่มีจุดขาย คือ พื้นที่เอนกประสงค์ทั้งในบ้านและส่วนกลาง ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามงานอดิเรกของแต่ละบุคคลนั่นเอง

ในขณะเดียวกัน การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยง่าย เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่อยู่อาศัยที่ดีในเมือง คือ ที่ที่เดินทางสะดวก ปลอดภัย จากผังเมืองที่ออกแบบให้แบ่งพื้นที่เมืองตามการใช้งานเป็นย่าน เช่น ย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านพาณิชย์ คนเมืองจึงต้องใช้เวลาเดินทางเพื่อไปทำงาน ไปห้างสรรพสินค้า แต่ในวันที่เทรนด์การทำงานจากบ้าน(Work from home)เป็นที่นิยม

ดังนั้น บ้านจึงกลายเป็นศูนย์กลางของชีวิตประจำวัน ร้านค้า ร้านอาหาร ก็กระจายตัวตามย่านพักอาศัยมากขึ้น เมืองเริ่มปรับเปลี่ยนเป็นการกระจายมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Mini-CBD ดังนั้น การเดินทางจึงปรับเปลี่ยนจากอาศัยระบบขนส่งแบบ Mass Transit เป็นการเดินทางในระยะใกล้ๆแทน ดังนั้น ทางเดิน ทางจักรยาน จึงเป็นที่ต้องการมากขึ้น มีการใช้งานรถหมุนเวียนหรือ Car pool มากขึ้น จึงเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ขาดไม่ได้

“ทั้ง4 ปัจจัยเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชุมชนเมืองเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแน่! ‘พท.’ หนุนรัฐบาลเคาะมาตรการที่อยู่อาศัย จี้แบงก์ชาติทำงานเป็นทีม

‘ชนินทร์’ หนุน ซื้อ-สร้าง-ซ่อม ที่อยู่อาศัยกระตุ้นเศรษฐกิจ จี้ ‘แบงค์ชาติ’ ทำงานเป็นทีม เป็นประโยชน์กับประเทศมากกว่า

สภาทนายความฯ รับปากช่วยชาวบ้านถูกลอยแพกว่า 40 ปีตั้งแต่ยุคสงครามคอมมิวนิสต์

ที่ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวิโรจน์ แช่จ๊ะ ประธานกลุ่มเกษตรกรคนจน พร้อมด้วยตัวแทนกลุ่มมวลชนเกษตรกรจากอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดินทาง มายื่นหนังสือต่อ นาย

เปิดราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2566 ขยับเพิ่มขึ้น 24%

“แอล ดับเบิลยู เอส” ระบุราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลปี 2566 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.49 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 24% จากปี 2565 ในขณะที่จำนวนหน่วยเปิดตัวโครงการใหม่ ปี 2566 ลดลง 4% แต่มูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 18%ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2567 มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% ขึ้นอยู่กับทำเล ผลจากต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งราคาที่ดินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ในการพัฒนาที่ดินในทำเลใกล้แนวรถไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกมีจำกัด ผนวกกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2567

สหประชาชาติเตือน ฉนวนกาซาแทบไม่เหลือสภาพเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว

ความช่วยเหลือเข้าถึงฉนวนกาซาได้มากขึ้น สหประชาชาติและองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการรับและแจกจ่ายความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน