รัฐบาล ขยายวงเงินค้ำประกันเพิ่ม 50,000 ล้านบาท เติมสภาพคล่อง SME

รัฐบาล ขยายวงเงินค้ำประกันเพิ่ม 50,000 ล้านบาท เติมสภาพคล่อง SME หนุน BCG Model ดอกเบี้ยต่ำ ช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน เป็นฟันเฟืองช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้

9 ก.ย.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เริ่มบรรเทาลงส่งผลให้ภาคธุรกิจบางสาขาเริ่มส่งสัญญาณกลับมาฟื้นตัว แต่ยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) รวมทั้ง ผู้ประกอบการรายย่อยที่ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอและยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอ รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญต้องการให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างทั่วถึงและมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ

นางสาวรัชดา กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบการขยายวงเงินค้ำประกันสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก.ฟื้นฟู ระยะที่ 2 อีกจำนวน 50,000 ล้านบาท ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันเต็มวงเงินสินเชื่อ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.65 เป็นต้นไป ผ่านมาตรการ “บสย.พร้อมช่วย” ซึ่งจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่กำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่าน และการเปิดประเทศ สู่ BCG Model ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ค่าธรรมเนียมค้ำประกันถูก เพียง 3% ใน 2 ปีแรก และยังค้ำประกันเต็มวงเงิน ซึ่งช่วยผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากถึง 3 ต่อ ดังนี้ 1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ 2% ใน 2 ปีแรก (รัฐชดเชยดอกเบี้ย 6 เดือนแรก) 2. ค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ 1% ใน 2 ปีแรก และ 3. บสย. พร้อมค้ำประกันสินเชื่อแบบเต็มวงเงิน ส่วนระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565 – วันที่ 9 เมษายน 2566 (ตามกรอบระยะเวลาของธนาคารแห่งประเทศไทย)

นางสาวรัชดา กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจเป้าหมายภายใต้ BCG Model ที่ได้รับการสนับสนุน ได้แก่ กลุ่มดิจิทัลเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการธุรกิจ กลุ่มที่กำลังปรับไปสู่กระบวนการผลิต และบริการแบบออโตเมชั่น กลุ่มธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ระบบประหยัดพลังงาน พลังงานทดแทน และพลังงานสะอาด กลุ่มธุรกิจที่พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบ Zero waste และกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมที่เสริมความสามารถในการแข่งขัน

“รัฐบาลมั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น มีสภาพคล่องที่เพียงพอและสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพต่อไป” นางสาวรัชดา กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทดฟันด์ ชู “โรงอบแห้งอัจฉริยะพลังงานความร้อนร่วม” ตอบโจทย์ BCG Model

เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ เทดฟันด์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ภาคเอกชนเกาหลีใต้กว่า 20 ราย สนใจร่วมลงทุน อุตสาหกรรม EV ในไทย

รองโฆษกรัฐบาล เผยความสนใจที่ภาคเอกชนเกาหลีใต้กว่า 20 ราย มีต่อการร่วมลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทย สะท้อนความสำเร็จจากนโยบายรัฐบาล

'รัชดา' แจงสาเหตุ 'บิ๊กตู่' เข้าทำเนียบฯ วันสุดท้าย

รองโฆษกรัฐบาล เผย นายกฯเข้าทำเนียบวันสุดท้าย เพื่อมารยาททางการเมืองเปิดทางทีมงานรัฐบาลใหม่เข้าเตรียมสถานที่ แต่ยังรักษาการทำงานจนกว่า ครม.ชุดใหม่ถวายสัตย์

3 สาวทีมโฆษกฯ น้ำตาคลอ ตื้นตันใจ ขณะเข้าพบ 'บิ๊กตู่' ขอบคุณที่สนับสนุนทำงาน

3 สาวทีมโฆษกฯ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบฯ พร้อมเข้าพบ 'บิ๊กตู่' เพื่อขอบคุณในการสนับสนุนตลอดระยะเวลาการทำงาน น้ำตาคลอ ตื้นตันใจ โอบกอดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน