ทรูระทึกอีกรอบ ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาคดีฟ้องร้องทีโอทีจากคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการให้ชดใช้เงิน 1,200 ล้านบาทจากการร่วมลงทุนขยายโทรศัพท์ ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นทรูเฮไปแล้ว
27 ต.ค.2565 - ในเวลา 13.30 น. ณ ห้องพิจารณาคดี 6 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขดำที่ 1615/2557 คดีหมายเลขแดงที่ 1924/2561 และคดีหมายเลขดำที่ 498/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 1925/2561 ระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ผู้ร้อง) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ผู้คัดค้าน) คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง (ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ)
โดยคดีนี้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า ผู้ร้องและบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ผู้คัดค้าน) ได้ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ ซึ่งต่อมาเกิดข้อพิพาทขึ้นคู่กรณีจึงได้เสนอข้อพิพาทดังกล่าวต่อคณะอนุญาโตตุลาการเป็นข้อพิพาท หมายเลขดำที่ 10/2551 หมายเลขแดงที่ 55/2557 โดยมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้ฟ้องคดีชำระเงินให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงตามคำเสนอข้อพิพาท เป็นเหตุให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 10/2551 หมายเลขแดงที่ 55/2557 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2557 และปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2546 มีผลทำให้ส่วนแบ่งรายได้ของผู้คัดค้านลดลง แต่ส่วนแบ่งรายได้ของผู้ร้องยังคงเท่าเดิม จึงขัดต่อพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 และเป็นมติที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ และมีคำชี้ขาดให้ผู้ร้องชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนตามสัญญาพิพาทเป็นเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 1,217,505,724.17 บาท จึงเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาท อีกทั้งเป็นคำชี้ขาดข้อพิพาทที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และการบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดได้ตามมาตรา 34 วรรคสี่ และมาตรา 40 วรรคสาม (2) (ข) แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2545 เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ เป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นไปตามข้อตกลงแห่งสัญญาพิพาท การบังคับตามคำชี้ขาดย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงต้องปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ล้มประมูล‘สายสีส้ม’ไม่ผิด ศาลปค.ชี้กระทำโดยสุจริต
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับ ยกฟ้องคดี “บีทีเอส” ฟ้อง "บอร์ดคัดเลือก-รฟม." ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
ลุ้น7เม.ย.ตัดสินแบ่งเขตเลือกตั้ง
ลุ้น 7 เม.ย. ศาลปกครองสูงสุดนัดตัดสิน 4 คดีแบ่งเขตเลือกตั้ง
รถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกเฮ! ศาลปกครองสูงสุดพลิกให้ยกฟ้อง
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้องปม บีทีเอสฟ้องปมล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชี้กระทำโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมายไม่เลือกปฏิบัติ
'ศาลปกครองสูงสุด' ยืนทุเลาคำสั่งปลด 'ชัยวัฒน์'
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนทุเลาคำสั่งปลด 'ชัยวัฒน์' ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบจากยุทธการตะนาวศรี ชี้ไม่ตั้งกรรมการสอบ-ไม่แจ้งข้อกล่าวหา ทำให้มีปัญหาความชอบด้วยกฎหมาย
อ่วม! ศาลลงดาบ 'วรุธ สุวกร' คุก 20 ปีชดใช้อีกกว่าพันล้านบาท
ศาลอาญาคดีทุจริตฯ สั่งจำคุก 20 ปี 'วรุธ สุวกร' อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ทีโอทีลักไก่อนุมัติจ่ายเงิน 'ไอ-โมบาย' 1,476 ล้านบาท ทั้งที่เกินอำนาจและถูกทักท้วง พร้อมสั่งชดใช้คืนกว่า 1,000 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ย
ทนายเชาว์ เตือนภัย พลเอก’ส.’ ตุ๋น ปชช.หลอกวิ่งเต้นคดีศาลปค.สูงสุด
ทนายเชาว์ เตือนภัย พลเอก ส. ตุ๋น ปชช. หลอกวิ่งเต้นคดีศาลปกครองสูงสุด กินส่วนต่าง ไม่ได้เงิน ขู่กรรโชก จ่อ ฟ้องเอาผิด ร้อง ศาลปกครองสูงสุด ตรวจสอบ