'พาณิชย์' เผยสถิติจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาช่วงโควิดพุ่งเฉลี่ยปีละ 60,000 คำขอ

“พาณิชย์”เผยสถิติจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา 3 ปี โควิด-19 พบยื่นคำขอพุ่งทะลุปีละกว่า 6 หมื่นคำขอ ลดลงจากช่วงก่อนโควิด-19 เล็กน้อย ยกเว้นการยื่นจดสิทธิบัตรยา เวชภัณฑ์ สินค้าป้องกันโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ตอกย้ำไทยให้ความสำคัญกับการปกป้อง คุ้มครอง และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญา ระบุ WIPO ยังจัดอันดับไทยอยู่ที่ 43 ของโลก ในฐานะประเทศมีความสามารถด้านนวัตกรรม

7 มี.ค. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2563-65 ที่เป็นช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 คนในแวดวงเศรษฐกิจ และนักประดิษฐ์ ยังคงคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อขอรับความคุ้มครอง เฉลี่ยมากกว่าปีละ 60,000 คำขอ ลดลงจากช่วงก่อนโควิด-19 เล็กน้อยเท่านั้น ยกเว้นคำขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ และสินค้าป้องกันโควิด-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

สำหรับการยื่นคำขอในปี 2563 พบว่า ยื่นคำขอรวม 66,580 คำขอ เพิ่มขึ้น 2.21% จากปี 2562 ที่มี 65,143 คำขอ แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 7,813 คำขอ เพิ่ม 0.79% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,430 คำขอ เพิ่ม 9.50% อนุสิทธิบัตร 4,186 คำขอ เพิ่ม 37.25% เครื่องหมายการค้า 49,151 คำขอ ลด 0.47%

ปี 2564 ยื่นทั้งหมด 61,984 คำขอ ลด 6.90% จากปี 2563 แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 7,903 คำขอ เพิ่ม 1.15% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,452 คำขอ เพิ่ม 0.41% อนุสิทธิบัตร 3,644 คำขอ ลด 12.95% เครื่องหมายการค้า 44,985 คำขอ ลด 8.48%

ปี 2565 ยื่นทั้งหมด 60,082 คำขอ ลดลง 3.07% จากปี 2564 แบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 8,431 คำขอ เพิ่ม 6.68% สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5,231 คำขอ ลด 4.05% อนุสิทธิบัตร 3,324 คำขอ ลด 8.78% เครื่องหมายการค้า 43,096 คำขอ ลด 4.20%

ทั้งนี้ ผลจากการยื่นจดทะเบียนจำนวนมาก ชี้ให้เห็นว่าคนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และนำมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์มากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2565 องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) จัดให้ไทยอยู่อันดับ 43 ของโลกประเทศที่มีความสามารถด้านนวัตกรรม จาก 130 ประเทศทั่วโลก ถือเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาที่ลงทุนโดยภาคธุรกิจมากเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
ขณะเดียวกัน การยื่นคำขอจำนวนมากของไทย ยังสอดคล้องกับรายงานดัชนีทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Indicators) ปี 2565 โดย WIPO ที่เผยแพร่ช่วงปลายปี 2565 ระบุว่า ปี 2564 การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของโลก ทั้งสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ แม้อยู่ในช่วงโควิด-19 โดยยื่นคำขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มากถึง 3.4 ล้านคำขอ เป็นคำขอจากเอเชียมากที่สุด นำโดยจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย และสิทธิบัตรการออกแบบ 5.3 ล้านคำขอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวพังงาเฮ 'ปลิงทะเลเกาะยาว' ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI ตัวใหม่แล้ว

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ประกาศ ขึ้นทะเบียน “ปลิงทะเลเกาะยาว” เป็นสินค้า GI ลำดับ 4 ของจังหวัดพังงาต่อจากทุเรียนสาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา และมังคุดทิพย์พังงา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ 3.3 ล้านบาทต่อปี

พาณิชย์ชี้ช่องผู้ออกแบบลายกางเกงลายไทยยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

กรมทรัพย์สินทางปัญญาชวนผู้ผลิต ผู้ออกแบบลายกางเกง ที่สะท้อนศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น ยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานของการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทางการค้า เผยยื่นจดง่ายผ่านออนไลน์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ แนะต่อไป ควรพัฒนาไปถึงขั้นสร้างเครื่องหมายการค้าเป็นของตัวเอง

ผลักดัน 'ปลาพลวงชมพู-ปลานิลสายน้ำไหล' ขึ้นทะเบียนสินค้า GI จังหวัดยะลา

คณะกรมทรัพย์สินทางปัญญาพาณิชย์ลงพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา เพื่อผลักดันปลาพลวงชมพู ต้นน้ำป่าฮาลาบาลา และปลานิลสายน้ำไหลเบตง ขึ้นทะเบียน GI รายการใหม่ของจังหวัดยะลา เพื่อช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์ผลักดันสินค้า GI ไทยยกระดับอาหารชุมชนสู่เมนูไฟน์ไดนิ่ง 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้านโยบายสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยต่อเนื่อง ตั้งเป้ายกระดับสินค้าชุมชนสู่ระดับพรีเมียม สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดมุ่งสู่ 52,000 ล้านบาทภายในปี 2566 ล่าสุดดึงร้านอาหารนอร์ธ (North Restaurant) ร่วมรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบ GI สะท้อนอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผ่านเมนูอาหารเหนือสไตล์ไฟน์ไดนิ่ง

พาณิชย์ขึ้นทะเบียน GI 'ปลาทูแม่กลอง' ลำดับที่ 4 ของจังหวัดสมุทรสงคราม

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าประกาศขึ้นทะเบียน GI ต่อเนื่อง ล่าสุดดัน “ปลาทูแม่กลอง” สินค้ายอดนิยมแห่งเมืองสามน้ำ จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสินค้า GI สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนกว่า 12 ล้านบาท สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ