
29 พ.ค. 2566 – สนค. เผยผลระดมสมองผลการแยกห่วงโซ่อุปทานหลังเกิดความขัดแย้งสหรัฐฯ กับจีน ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย แนะศึกษาต่อเชิงลึกรายรัฐ/มณฑล เพื่อขยายตลาด พัฒนาแรงงานฝีมือให้พร้อม ส่วนนโยบายลงทุน ต้องปรับให้เอื้อ เพิ่มแรงจูงใจ และเร่งใช้ประโยชน์จาก FTA
นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนค. อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการศึกษาการแยกห่วงโซ่อุปทาน (Decoupling) ของอุตสาหกรรมสำคัญระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และนัยยะต่อเศรษฐกิจการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาได้จัดการประชุมระดมสมองร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้า และผู้แทนบริษัทที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าว
จากการระดมสมองได้ข้อมูลว่า การแยกห่วงโซ่อุปทานระหว่างสหรัฐฯ กับจีน มีแนวโน้มเร่งตัวรุนแรงขึ้นโดยทั้งสองชาติมหาอำนาจต่างต้องการลดการพึ่งพาระหว่างกัน จากทั้งสหรัฐฯ ที่คำนึงถึงความสำคัญของความมั่นคงและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานของประเทศ ประกอบกับการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากวิกฤตโควิด-19 ขณะที่จีนเองก็ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว จึงพยายามลดความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายทางด้านการค้าและการลงทุน
ในด้านการเคลื่อนย้ายทางการค้า พบว่า ไทยมีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากการแยกห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นจากการขยายการส่งออกในทั้งสองประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายในการขยายส่วนแบ่งการส่งออกของไทยในตลาดโลก ในขณะที่การเคลื่อนย้ายการลงทุนในเทคโนโลยีสำคัญ/ขั้นสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่ต่อไปในอนาคต พบว่า สหรัฐฯ เร่งส่งเสริมการลงทุนในประเทศมากขึ้น และสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตจากต่างประเทศกลับมายังสหรัฐฯ รวมถึงจับมือกับประเทศพันธมิตรขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมสำคัญ ขณะที่ในจีนเกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนออกนอกประเทศ โดยมีทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งเกิดจากบริษัทสัญชาติจีนเองที่ต้องการส่งออกไปยังสหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ ต้องมีฐานการผลิตนอกจีน และบริษัทสัญชาติอื่นแต่อยู่ในจีน จำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตออกมาเพื่อลดความเสี่ยงทางการค้าที่อาจเกิดขึ้น
โดยบริษัทดังกล่าวมีแนวโน้มย้ายมายังอาเซียนรวมถึงไทย ดังนั้นจึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของไทยที่จะดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ ทั้งนี้ แม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากจีนมาไทยไม่มากนัก ซึ่งเกิดจากการปิดประเทศของจีนในช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19 อย่างไรก็ดี หลังจีนเปิดประเทศ พบว่ามีคณะนักลงทุนจีนเดินทางเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นและความถี่มากขึ้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของไทย
พร้อมกันนี้ยังได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากผู้ที่เข้าร่วมระดมสมองในการให้ข้อเสนอแนะที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ในหลายประเด็น เพื่อใช้รับมือกับผลกระทบและช่วงชิงโอกาสจากการแยกห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้ (1) การศึกษาข้อมูลเชิงลึกเป็นรายรัฐ มณฑล ภูมิภาค เพื่อหาตลาดเป้าหมายที่จะส่งออก หรือดึงดูดให้เข้ามาลงทุนในไทย เพื่อกำหนดนโยบายส่งเสริมให้เหมาะสม (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควรเร่งสร้างทักษะแรงงานให้พร้อมสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น การออกแบบชิป และการผลิตชิป รวมทั้งควรเปิดกว้างให้แรงงานต่างชาติที่มีคุณภาพและเชี่ยวชาญเข้ามาทำงานได้โดยง่าย ทั้งนี้ ไทยยังมีข้อได้เปรียบด้านแรงงานในภูมิภาค โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่แรงงานไทยมี safety mind และ quality mind สูง (จะเห็นได้จากการ recall รถยนต์ที่ใช้ฐานการผลิตในไทยมีอัตราที่ต่ำมาก) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ต้องคำนึงถึง

ประเด็นที่ (3) การลงทุน พบว่า หลายประเทศในอาเซียนได้เพิ่มแรงจูงใจสำหรับการลงทุนในประเทศมากขึ้น
ทั้งมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีและมาตรการที่ไม่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเฉพาะอินโดนีเซีย (มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และแบตเตอรี่) และมาเลเซีย (มุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์) ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะ
เพื่อส่งเสริมการลงทุนของไทย ได้แก่ สนับสนุนเงินทุนในการวิจัยและพัฒนา เร่งส่งเสริมการลงทุนพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (อาทิ การผลิตชิปในส่วนของ power electronics) และปรับเงื่อนไขการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับการเข้ามาลงทุนอย่างเหมาะสม รวมถึงสร้างเวทีระหว่างไทยกับบริษัทข้ามชาติชั้นนำของโลกประจำปี เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญในการลงทุนหรือ
การดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ควรใช้โอกาสในการดึงดูดการลงทุนที่จะย้ายออกจากจีนเนื่องจากต้องการรักษาตลาดที่เป็น
ชาติตะวันตก ให้เข้ามาลงทุนในไทย
สำหรับ (4) การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เสนอให้มีการจัดประชุมระดมสมองระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ และมีหน่วยงานเจ้าภาพรับผิดชอบชัดเจน เพื่อออกนโยบายและมาตรการส่งเสริม
ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการจัดตั้งสถาบันและ/หรือกองทุน ในการผลักดันการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ต้องเร่งพัฒนาส่วนต้นน้ำให้อยู่ในไทย โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับ IoT ส่งเสริมการผลิตให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน เตรียมความพร้อมทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ อาทิ AI , Robotic , Automation System และโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ เช่น ที่ดิน ไฟฟ้า ถนน ห้องปฏิบัติการทดสอบ/ทดลอง การเชื่อมโยงการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เนื่องจากไทยยังนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เพื่อเข้ามาประกอบหรือใช้ในการผลิตเป็นส่วนใหญ่ และภาครัฐควรอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคให้กับภาคเอกชน
นอกจากนี้ ในประเด็นที่ (5) การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีข้อเสนอให้ภาคเอกชนเพิ่มการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ FTA กับคู่ค้า เพื่อเพิ่มแต้มต่อทางความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไปพัฒนาระบบขยายตลาดและบริการหลังการขายแบบครบวงจรในต่างประเทศ
นายพูนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันโครงการศึกษาฯ นี้ อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษาฯ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หลังจากนั้นจะนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อคิดเห็น
ทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ นักวิชาการ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาฯ ให้ภาคเอกชนและผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ภาครัฐขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วอลเลย์สาวกลับถึงไทย เตรียมบินลุยอชก.28ก.ย.นี้ 'รองฯชุม'สั่งดูแลอย่างดี
ความเคลื่อนไหวของทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ชุดเข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 “หางโจวเกมส์” ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในรายการวอลเลย์บอลหญิง โอลิมปิกเกมส์ 2024 รอบคัดเลือก ที่เมืองลอดซ์ ประเทศโปแลนด์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สนค.แนะเอกชนไทยคว้าโอกาสตลาดส่งออกใหม่สู่กลุ่มประเทศนอร์ดิก
สนค. วิเคราะห์สินค้าไทยที่มีโอกาสในการเจาะตลาดนอร์ดิกด้วย Data Analytics Dashboard บนเว็บไซต์ คิดค้า.com พบว่า “ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า” และ “กลุ่มเครื่องปรับอากาศ” เป็นสินค้าดาวเด่นในตลาดนอร์ดิก “ยางยานพาหนะ” และ “อาหารสุนัขและแมว” เป็นสินค้าศักยภาพ พร้อมแนะให้เปิดตลาด “ไก่” และ “อาหารทะเลกระป๋อง” ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง แต่ไทยเข้าถึงตลาดได้น้อย
‘ธนกร’ หนุนวีซ่าฟรี ‘จีน-คาซัคสถาน’ ช่วยท่องเที่ยวไทยบูมยาวถึงปีหน้า
‘ธนกร’ ชี้วีซ่าฟรี ‘จีน-คาซัคสถาน’บูมท่องเที่ยวไทยไฮซีซั่นยาวถึงปีหน้า ชูท่องเที่ยว เน้นซอฟท์พาวเวอร์อัตลักษณ์ท้องถิ่นไทย แนะ คนไทยเป็นเจ้าบ้านที่ดี สร้างความเชื่อมั่น-ปลอดภัย พร้อมเข้มรีเช็คแบล็คลิสต์นทท.ก่อนเข้าประเทศ เชื่อ แคมเปญนี้ ช่วยกระชากเม็ดเงินไหลเข้าประเทศโตต่อเนื่อง
'กษิดิศ'ชนะหนุ่มคูเวต ประเดิมคว้าชัย เทนนิสเอเชี่ยนเกมส์
การแข่งขันเทนนิส กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ เมืองหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดฉากวันแรก เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สนามโอลิมปิกเทนนิส เซ็นเตอร์ โดย "บูม" กษิดิศ สำเร็จ นักหวดวัย 22 ปี มือ 636 ของโลก ลงสนามแข่งขันเป็นคนแรกของทีมเทนนิสไทย
'บิ๊กต้อม' เผย 'จีน' เข้มระบบรักษาความปลอดภัย ยืนยันทัพไทยไร้ปัญหาที่พัก
“บิ๊กต้อม” นายธนา ไชยประสิทธิ์ หัวหน้าคณะนักกีฬาไทย เปิดเผยว่า ระบบรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้านนักกีฬาของเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน ค่อนข้างเข้มงวดพอสมควร และมีการตรวจไอดีการ์ดอย่างละเอียด และห้ามนำสิ่งของต้องห้ามของมา คิดว่าทางจีนมีระบบรักษาความปลอดภัยสูงมาก ใครไม่มีไอดีการ์ดห้ามเข้าเด็ดขาด และจะต้องเข้าในประตูที่ถูกต้อง ในช่วงแรกก็ยังสับสนอยู่ แต่ช่วงหลังก็จะชินกับระบบ
เยี่ยมจริงๆ 'ทูตสหรัฐ' ปลื้มได้พบหารือ 'พิธา-ก้าวไกล'
นายโรเบิร์ต โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้โพสต์รูปภาพลงทวิตเตอร์ ในโอกาสพบหารือกับนายพิธา ลิ้มเจริญ