ปลื้ม! ธนาคารโลก ประเมินไทยออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ได้เหมาะสม

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีรายงานจากธนาคารโลก ประเมินไทยออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 ได้เหมาะสม พร้อมติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์

9 มิ.ย.2566- นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบรายงานและข้อเสนอจากธนาคารโลก (World Bank) พร้อมยินดีที่ธนาคารโลกมองว่า นโยบายการคลังในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของไทย มีความสมเหตุสมผล และดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมให้เศรษฐกิจขยายตัว

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า กระทรวงการคลังได้เปิดเผยรายงาน “การประเมินรายได้และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย : การส่งเสริมอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน” (Thailand Public Revenue and Spending Assessment Promoting an Inclusive and Sustainable Future) จัดทำโดยธนาคารโลก ระบุว่า ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีการใช้มาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้ส่งผลต่อภาคการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเกิดการหดตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ประเทศไทยสามารถกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เทียบเท่ากับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดฯ

นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังระบุว่า มาตรการทางการเงินและการคลังของไทย มีส่วนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยไทยดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 1.56 ล้านล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในส่วนที่สำคัญหลัก ๆ 3 เรื่อง ได้แก่ การใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การบรรเทาภาระทางการเงินให้แก่ประชาชน และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธนาคารโลกมองว่า การดำเนินนโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการช่วยเหลือภาคเอกชน กลุ่มธุรกิจ SME กลุ่มเปราะบาง แรงงานนอกระบบ และเกษตรกร รวมถึงการนำงบประมาณมาใช้จ่ายในมาตรการทางด้านสาธารณสุข เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว

อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกเสนอว่า รัฐบาลควรเตรียมรับมือภาระทางการคลังที่เกิดจากการใช้จ่ายที่จำเป็น และในระยะยาว ควรนำงบประมาณไปใช้จ่ายในการช่วยเหลือทางสังคมแก่กลุ่มเปราะบางมากขึ้น พัฒนาคุณภาพการศึกษา เตรียมการรับมือกับการเพิ่มสูงขึ้นของผู้สูงวัย และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งการลงทุนในด้านเหล่านี้ จะที่ทำให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดความเหลื่อมล้ำ และเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายบริหารหนี้สาธารณะอย่างยั่งยืน รวมถึงการปรับปรุงการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ ผ่านการปฏิรูประบบภาษี ปรับปรุงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน

“นายกรัฐมนตรียินดีที่ธนาคารโลกประเมินการดำเนินนโยบายของไทยในการกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความเหมาะสม ซึ่งการดำเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ มุ่งนำไปใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ บรรเทาภาระของประชาชน และเตรียมการรับมือกับภัยทางด้านสาธารณสุข ทั้งนี้ รัฐบาลรับฟังข้อเสนอของธนาคารโลก และติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประเมินและพร้อมปรับปรุงนโยบายและมาตรการเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป” นายอนุชา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปชป. ซัดรัฐบาล 'เศรษฐา' หมดสภาพ ขาดความเชื่อมั่น

“ชนินทร์” ปชป. ซัดรัฐบาล “เศรษฐา” หมดสภาพ ขาดความเชื่อมั่น ประจานไร้น้ำยา และจริยธรรม เหตุประมาณการ GDP ถูกปรับลด เตือนรากหญ้าตาย รายใหญ่ไปไม่รอด ประเทศหายนะ

'พีระพันธุ์' สุดดีใจ 'พล.อ.ประยุทธ์' ได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี

'พีระพันธุ์' เผยดีใจมากเมื่อทราบข่าว 'พล.อ.ประยุทธ์' ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี เผยเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ยิ่งชีวิต

'เวิลด์แบงก์' หั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 3.4%

“เวิลด์แบงก์” หั่นจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 3.4% ชี้การฟื้นตัวยังตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน ส่งออกชะลอ ลุ้นท่องเที่ยว-บริโภคเอกชนช่วยประคอง ห่วงหนี้สาธารณะพุ่งกดดันการลงทุนภาคสาธารณะและเอกชน