ผู้ผลิตกะทิแนะรัฐบาลไทยจ้างล็อบบี้ยิสต์ ชี้แจงทำความเข้าใจ PETA หลังยังไม่หยุดเผยแพร่ข้อมูลไทยใช้ลิงเก็บมะพร้าว หวั่นเสียตลาดกะทิให้คู่แข่ง เหตุจนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ อังกฤษ ยังแบนกะทิไทย ส่วนหลายประเทศในอียูลดการนำเข้า
14 มิ.ย. 2566 – ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์กะทิจากมะพร้าวของไทย ยังไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ และอังกฤษได้ หลังจากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา องค์กรพิทักษ์สัตว์ (PETA) ยังคงเผยแพร่ข้อมูลอุตสาหกรรมมะพร้าวและกะทิของไทย ยังบังคับใช้ลิงเก็บมะพร้าว ถือเป็นการทารุณกรรมสัตว์ และหนทางเดียวที่จะหยุดการบังคับใช้แรงงานลิงได้ คือ การหยุดซื้อกะทิจากไทย จนส่งผลให้ทั้งห้างสรรพสินค้า ห้างซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐ และอังกฤษ นำผลิตภัณฑ์กะทิของไทยออกจากชั้นวาง พร้อมกับขึ้นข้อความเตือนผู้บริโภคว่า “อย่าซื้อกะทิจากไทย” และบางห้างถึงกับระบุแบรนด์สินค้ากะทิของไทยด้วยซ้ำ ส่งผลต่อเนื่องให้ห้างซูเปอร์มาร์เก็ต และเครือข่ายหลายแห่งในอังกฤษ และหลายประเทศในยุโรป ยกเลิกนำเข้ากะทิไทยด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ล่าสุดยังพบว่าเว็บไซต์ peta.org.uk เผยแพร่ข่าวเมื่อเดือนมี.ค.2566 ระบุ HelloFresh บริษัทจัดจำหน่ายอาหารนานาชาติในอังกฤษ ยกเลิกขายกะทิจากไทย เช่นเดียวกับผู้จัดจำหน่ายอาหารรายใหญ่อื่น ๆ ของอังกฤษ และหลายประเทศในยุโรป
สำหรับการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลไทย ทูตพาณิชย์ของไทยในประเทศต่าง ๆ รวมถึงผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กะทิของไทย ได้ร่วมมือกันชี้แจงทำความเข้าใจกับคู่ค้า ผู้นำเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ว่า ไทยไม่ได้ใช้ลิงเก็บมะพร้าวแล้ว เพราะปัจจุบัน ต้นมะพร้าวของไทยเป็นพันธุ์เตี้ย สามารถใช้เครื่องจักรเก็บได้ ที่สำคัญ การผลิตกะทิจำนวนมากในเชิงอุตสาหกรรม การใช้ลิงเก็บเป็นไปไม่ได้แน่นอน และยังทำคลิปเผยแพร่ขั้นตอนการผลิตกะทิของไทย และรัฐบาลได้ออกหนังสือรับรอง “Monkey Free Plus” ให้เอกชนแต่ละรายว่าไม่มีการทารุณกรรมสัตว์ในกระบวนการผลิต แต่ก็ยังไม่เป็นผลสำเร็จ โดยยังคงมีการเผยแพร่ข้อมูลไทยยังใช้ลิงเก็บมะพร้าวอยู่
ทั้งนี้ หากยังปล่อยให้สถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป ผู้ผลิตเกรงว่า ไทยอาจเสียตลาดกะทิให้กับคู่แข่งอย่างฟิลิปปินส์ และศรีลังกา จากปัจจุบันที่กะทิของไทยมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 80% ในตลาดโลก ดังนั้น ภาคเอกชนจึงต้องการให้ภาครัฐเร่งหารือกับ PETA หรือจ้างล็อบบี้ยิสต์ทำความเข้าใจ เพื่อให้เปิดรับข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลตามที่ไทยชี้แจง เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจและหันกลับมาซื้อกะทิจากไทยเช่นเดิม
สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุว่า ปี 2560-64 ไทยส่งออกสินค้ากะทิ เฉลี่ยปีละ 13,000 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2562 มูลค่า 12,764 ล้านบาท , ปี 2563 มูลค่า 13,286 ล้านบาท และปี 2564 มูลค่า 13,328 ล้านบาท ขณะที่ไทยสามารถผลิตผลิตภัณฑ์มะพร้าวได้ปีละประมาณ 788,000 ตัน จากโรงงานแปรรูป 15 โรง โดยจำนวนนี้ เป็นกะทิ 113,000 ตัน ซึ่งสัดส่วน 70% บริโภคภายในประเทศ และที่เหลือเป็นการส่งออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พิชัย' ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกันลงทุนไทยเพิ่ม
“พิชัย” ชวนสมาชิกหอการค้าอเมริกัน AMCHAM ลงทุนไทยเพิ่ม เร่งใช้แต้มต่อ FTA ไทย ผลักดัน ศก. ไทยเติบโตรวดเร็ว หลังเตรียมเยือนดาวอส ประกาศความสำเร็จ FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกกับยุโรป
พาณิชย์ หารือ สตช. ร่วมมือเร่งปราบปรามนอมินี และบัญชีม้านิติบุคคล
“พาณิชย์” เข้าพบ “บิ๊กต่าย” หารือแนวทาง มาตรการ ข้อกฎหมาย และความร่วมมือ 2 หน่วยงาน เร่งปราบปรามนอมินี และบัญชีม้านิติบุคคล เตรียมร่วมมือทุกรูปแบบ ทั้งประสานข้อมูล ตรวจค้น บังคับใช้กฎหมาย นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เพื่อกำจัดอาชญากรทางเศรษฐกิจ ลดความสูญเสียทรัพย์สินของประชาชน และสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการไทย
รัฐบาลตีปี๊บเยียวยาเอกชนใน 8 จังหวัดน้ำท่วมภาคใต้
รัฐบาลเดินหน้าเยียวยานิติบุคคลใน 8 จังหวัดอุทกภัยภาคใต้ สั่งออกมาตรการขยายระยะเวลาจดทะเบียนนิติบุคคล แจ้งบัญชีและเอกสารสูญหาย การนำส่งงบการเงินได้ หลังสถานการณ์สิ้นสุดลง
พาณิชย์บุกเชียงใหม่จัดธงฟ้า
"พาณิชย์" จัดธงฟ้าฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อเนื่อง ยกทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ เพื่อลดภาระค่าครองชีพพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ 28 พ.ย.-1 ธ.ค.นี้
“นภินทร” ยกทัพ พาณิชย์-สสว.ททท. ขึ้นดอยช้าง ช่วย MSME เร่งสร้างแบรนด์สินค้าชุมชน ดึงจุดขายจดสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มมูลค่า ผลักดันส่งออก
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ณ หมู่บ้านดอยช้าง ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมภาครัฐพบกับผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงราย
“นภินทร” ดึงจุดเด่น “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” เนื้อแน่นนุ่ม ไม่คาว วัตถุดิบชั้นดี GI รังสรรค์ใน ”Thai Select“ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมชมถิ่นกำเนิดของสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ได้แก่ “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าของปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา