
การบินไทย ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/66 โชว์กำไรพุ่ง 2.2 พันล้านบาท ดันภาพรวม 6 เดือนแรกของปีมีรายได้ 7.8 หมื่นล้านบาท เงินสดกว่า 5.1 หมื่นล้าน เตรียมชำระหนี้ปีหน้า 1 หมื่นล้าน
11 ส.ค. 2566 – นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) 78,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 141% มีค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) 57,280 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวม 37,175 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 14,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 329% ขณะที่ปีก่อนขาดทุน 6,457 ล้านบาท เป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 14,776 ล้านบาท มี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบินรวมค่าเช่าเครื่องบินจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง 23,361 ล้านบาท
นายชาย กล่าวต่อว่า ขณะที่ไตรมาส 2 ปี 2566 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) 37,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีรายได้รวม 21,526 ล้านบาท หรือ 73.7% มีกำไรจากการดำเนินงาน 8,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 760% หากพิจารณาในส่วนของผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัท การบินไทยฯมีรายได้รวม 34,954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77%
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2565 มีกำไรจากการดำเนินงาน 8,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30,097% มีผู้โดยสารรวม 3.35 ล้านคน และมีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 79.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเฉลี่ย 60.3% อย่างไรก็ตามบริษัทฯ จึงมีเงินสดคงเหลือจำนวน 51,153 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2566 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่ดำเนินงานมา โดยที่ผ่านมาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท โดยการบินไทยมีแผนจะชำระหนี้ในกลางปีหน้า วงเงินอยู่ที่ราว 1 หมื่นล้านบาท
ส่วนแผนการขยายธุรกิจของการบินไทย การบินไทยได้จัดหาเครื่องบินใหม่เข้ามาอีก 24 ลำโดยวิธีการเช่าดำเนินการ แบ่งเป็น 1.เครื่องบินแอร์บัส A 350 จำนวน 11 ลำ ขณะนี้รับมอบมาแล้ว 2 ลำ เหลือ 9 ลำรับมอบไตรมาส1 ปีหน้า 2. เครื่องบินแอร์บัส A 321 นีโอ จำนวน 12 ลำ จะเข้ามาใน ปี2026 ซึ่งเป็นเครื่องบินลำตัวแคบ ที่จะนำมาเพิ่มใหม่ 10 ลำ และนำมาทดแทนเครื่องบิน A 320 ของไทยสมายล์ที่จะหมดสัญญาเช่า 2 ลำ และ 3. โบอิ้ง 787-900 จำนวน 1 ลำ เพื่อนำมาใช้ในการขยายจุดบินใหม่และเพิ่มเที่ยวบินในเส้นทางบินที่มีศักยภาพ
นายชาย กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงการคลัง ไม่ขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ในประเทศออกไปอีกหลังสิ้นสุดเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า ในภาพรวมยังไม่ได้กระทบต่อธุรกิจการบินไทยมากนัก ยังสามารถควบคุมต้นทุนได้ โดยมีผลต่อค่าบัตรโดยสารที่จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หลักสิบถึงหลักร้อยบาทต่อเที่ยว แต่ปัจจุบันยอดจองเส้นทางในประเทศยังคงได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้โดยสาร เช่นเดียวกับปัจจัยทางการเมืองที่อยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ ซึ่งยังมียอดจองตั๋วเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทอท. พลิกทำกำไร 8.7 พันล้านเร่งเครื่องพัฒนา 6 สนามบินรับผู้โดยสารทั่วโลก
ทอท. โชว์กำไร 8,790 ล้านบาท โกยรายได้พุ่ง 48,140 ล้านบาท เร่งเครื่องพัฒนาสนามบิน 6 แห่งทั่วประเทศ เดินหน้ายกระดับการบริการสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
'บางกอกแอร์เวย์ส' เผยไตรมาส 3 ทำกำไร 1.9 พันล้านบาท
“บางกอกแอร์เวย์ส” เผยไตรมาส 3 ปี66 ทำกำไร 1.9 พันล้านบาท ส่วน 9 เดือนแรกให้บริการผู้โดยสารไปแล้วกว่า 3 ล้านคน หลังอุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยต่อเนื่อง
นายกฯ อึดอัดปัญหาบินไทย มอบ 'สุริยะ' รับเรื่องชุมชนไทยในสหรัฐฯ ร้องขอเที่ยวบินตรง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง พบชุมชนชาวไทยในสหรัฐฯ 180 คน โดยช่วงหนี่งคนไทยได้สอบถามถึงปัญหาวิกฤตสายการบินไทย ที่ขาดทุนมาตลอด
อินโดรามา เวนเจอร์ส รายงานผลประกอบการรายไตรมาสมีเสถียรภาพ ทีมผู้บริหารมุ่งกระตุ้นผลการดำเนินงานท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย
บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ ไอวีแอล ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ที่มีเสถียรภาพจากการที่ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการรักษากระแสเงินสด
BEM โตต่อเนื่อง Q3 รายได้แตะ 4,448 ลบ. กำไรสุทธิ 970 ลบ. ผลจากศก.และการท่องเที่ยวฟื้นตัว
ภาพรวมของเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ส่งผลให้การดำเนินงานของ BEM โตต่อเนื่อง ไตรมาส 3/2566 ทำรายได้ทะยาน 4,448 ลบ. (รวมเงินปันผลและรายได้อื่น)
AWC โชว์ กำไร 9 เดือน 3,746 ล้านบาท โต 40%
AWC ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/2566 กำไรสุทธิ 1,136 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องแม้จะเป็นช่วงโลว์ซีซั่นรวม 9 เดือนแรกกำไรสุทธิ 3,746 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่าช่วงเดียวกันก่อนสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2562