
3 ต.ค.2566 – นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงว่าตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าว และภาพข่าวกรณีการลักลอบตัดไม้พะยูงในสถานีเพาะชำกล้าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ และมีการขนย้ายไม้พะยูงในส่วนที่เหลือจากการลักลอบตัดมาเก็บไว้ที่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลอิตื้อ ต่อมาไม้ดังกล่าวได้ สูญหายไป และกรณีการตัดไม้พะยูงในเขตโรงเรียนคำไฮวิทยา รวมถึงภาพข่าวหลักฐานการเจาะต้นไม้พะยูนในโรงเรียนโคกกลางเหนือ กระทรวงการคลังได้สั่งการและเร่งรัดให้กรมธนารักษ์ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยให้ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบข้อมูลไม้พะยูงที่อยู่ในที่ราชพัสดุทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ข้อเท็จจริงที่ผ่านมากรมธนารักษ์ได้มีหนังสือเวียนที่ กค 0305/ว20 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 เรื่องการตัดไม้ในที่ราชพัสดุ โดยให้ผู้ใช้ที่ราชพัสดุสามารถดำเนินการได้เท่าที่จำเป็น เช่น (1) กีดขวางการใช้พื้นที่เพื่อปลูกสร้างอาคาร (2) กีดขวางสายไฟฟ้า (3) ต้นไม้อาจโค่นล้มเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน และ (4) เป็นการตัดแต่งกิ่งไม้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสวยงาม ซึ่งกรมธนารักษ์ยังได้มีหนังสือซักซ้อมความเข้าใจ กรณีการตัดต้นไม้ในที่ราชพัสดุให้สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการ ที่ให้ทุกหน่วยงานมีการอนุรักษ์ต้นไม้และป่าไม้ในเขตพื้นที่ราชพัสดุ โดยให้หลีกเลี่ยงการตัดต้นไม้ใหญ่ ยกเว้นการณีที่มีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่มิอาจหลักเลี่ยงได้ โดยให้ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดอีกด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการให้กรมธนารักษ์แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน และเร่งรัดให้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวนกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงแรกที่ปรากฏเป็นข่าว โดยให้สืบในทางลับ และลงพื้นที่เพื่อจัดการแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนางวิไลรัตน์ อักษรพันธ์ ผู้ตรวจราชการกรมธนารักษ์ เป็นประธาน เพื่อเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้ประชุมทางไกลออนไลน์กับสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ทั่วประเทศ สั่งกำชับแนวทางสำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อสร้างความเข้าใจ เรื่องการห้ามตัดไม้มีค่าในที่ราชพัสดุ รวมถึงห้ามเข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมินราคาด้วย โดยจะต้องอยู่ในฐานะเป็นผู้ตรวจสอบดูแลเท่านั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องตามนโยบายของกรมธนารักษ์ เรื่อง การตัดไม้ในที่ราชพัสดุ อย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและป้องกันปัญหาการตัดไม้มีค่าในที่ราชพัสดุ จึงได้มอบนโยบายและสั่งการให้กรมธนารักษ์ ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลไม้มีค่าในที่ราชพัสดุทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยให้กรมธนารักษ์ และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่มีข้อมูล ข้อเท็จจริง สำหรับเป็นแนวทางตรวจสอบให้ส่วนราชการในพื้นที่ สอดส่องดูแลไม้มีค่าในที่ราชพัสดุอย่างยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'เศรษฐา' รับกดดันลงพื้นที่เจอทวงเงินดิจิทัล พยายามทำเต็มที่ แต่ถ้าแจกไม่ได้ก็ต้องมีคำตอบให้ประชาชน
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่ในหลายจังหวัดพบว่าประชาชนทวงถามเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ส่งผลเกิดแรงกดดันหรือไม่ ว่า ทุกวันทุกเรื่องเป็นเรื่องที่กดดัน และเป็นเรื่องที่อยากให้พี่น้องประชาชนได้จริงก็มารับฟัง
'เศรษฐา' นำทีมแถลงใหญ่ สางหนี้นอกระบบ ยกวาระแห่งชาติ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เตรียมเป็นประธานการแถลงข่าวเรื่องแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ เวลา 11.45 น.
'จุลพันธ์' ได้ฤกษ์! ส่งกฤษฎีกาตีความ 'พ.ร.บ.เงินกู้' สัปดาห์หน้า
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาท
'จุลพันธ์' ปักหมุดสางหนี้ทั้งระบบเร่งพิจารณารายละเอียดอุ้มสหกรณ์เกษตร
“จุลพันธ์” การันตีรัฐบาลปักหมุกสางหนี้ทั้งระบบ งัดทุกกลไกช่วยเหลือเต็มพิกัด รับห่วงเกิด Moral Hazard แจงเร่ง พิจารณารายละเอียดพักหนี้สหกรณ์เกษตร เดินหน้าช่วยเหลือกลุ่มเอสเอ็มอี พร้อมคาด 2 สัปดาห์ลุยจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
'ช่วยคลัง' มั่นใจ 'ดิจิทัลวอลเล็ต' ผ่าน! 'อับดุลพันธ์' ฟุ้งถามมาก็ตอบได้
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงินดิจิทัล
'คลัง' จ่อปรับเพดานโชว์ของเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หวังช่วยนักท่องเที่ยว
“คลัง” จ่อปรับเพดานโชว์ของเพื่อขอ VAT Refund หวังอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว ลดความแออัดสนามบิน คาดไม่เกิน 2 สัปดาห์ชง ครม.