
‘เศรษฐา’ย้ำต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน พร้อมตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก ด้าน ส.อ.ท. เปิด 8 ข้อเสนอนายก เร่งสรุปแอคชั่นแพลนใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนพัฒนาแผนทำงานร่วมกัน
8 ต.ค. 2566 – นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อหารือและนำเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ส.อ.ท.ได้นำเสนอข้อเสนอแนะแก่นายกรัฐมนตรี ที่ประกอบด้วยข้อเสนอแนะ 8 ข้อหลัก จาก 70 ข้อ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน คือ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน การขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ(จีดีพี) ให้เติบโตมากขึ้น และความยั่งยืน ทั้งเรื่องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG
“นายเศรษฐายังเน้นย้ำถึงปัญหาภัยแล้งที่จะหนักหน่วง โดยเฉพาะช่วง เม.ย. 2567 ต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน การเพิ่มเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ ให้ดูแลค่ายรถญี่ปุ่นที่ยังผลิตรถยนต์สันดาปภายใน หรือ ไอซีอี ในฐานะผู้มีพระคุณของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อเป็นฐานผลิตสุดท้ายของโลก หรือ ลาสต์แมนสแตนดิ้ง อีก 15 ปีข้างหน้า เพราะไทยเป็นซัพพลายหลักของโลก จ้างงานถึง 6 แสนคน”นายเกรียงไกร กล่าว
โดย 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริม อีสออฟดูอิ้งบิสซิเนสและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ 3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน 4.การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม และดิจิทัล 6.การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า และการมุ่งสู่เป้าหมายเน็ตซีโร่ 7.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 8.การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม
โดย 8 แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ได้แก่ 1. การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้การปฏิรูปกฎหมายเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับบูรณาการในการออกกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวทางปฏิบัติระหว่างหน่วยงานภาครัฐให้เกิดความชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมศูนย์บริการและขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ 2. การพัฒนาบุคลากร เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งระบบ โดยการปรับอัตราค่าจ้างขั้นตํ่าควรเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ค่าจ้างไตรภาคี พิจารณาสอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
3.การบริหารจัดการด้านพลังงานทั้งระบบรองรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อเร่งพิจารณาทบทวนแผนพลังงานชาติ (NEP) ฉบับใหม่ และลดภาระต้นทุนพลังงาน และค่าไฟฟ้า รวมถึงเร่งจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาพลังงาน (กรอ. พลังงาน 4. การส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเร่งสร้างกลไกและแผนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่มีศักยภาพ รวมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้มีความต่อเนื่องและครอบคลุม Ecosystem ของอุตสาหกรรม พร้อมกับเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA)
5.การยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล โดยสนับสนุนการลงทุนพัฒนาไปสู่ Digital Transformation 4.0 เพื่อยกระดับขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมการผลิต และขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม โดยออกมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนให้เกิดการซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรม เพื่อขยายตลาดเข้าสู่ตลาดภาคเอกชน 6. การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า โดยบูรณาการการบริหารจัดการนํ้าอย่างยั่งยืน เตรียมความพร้อมในการรับมือมาตรการ Climate Change
7.การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และออกมาตรการการเงิน เสริมสภาพคล่อง เช่น มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่า , มาตรการค้าประกันสินเชื่อ , มาตรการพักดอกลดต้น เป็นต้น พร้อมปรับอัตราภาษีสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี เพื่อช่วยลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ และในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ลด 5% จากอัตราเดิม และ 8. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม แก้ไขปัญหาความแออัด ณ บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง และเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า พร้อมยกระดับด่านชายแดนเป็นจุดผ่านแดนถาวร นายเกรียงไกร
“จากการทำหนังสือยื่นเสนอนายเศรษฐา และประชุมร่วมกันนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ได้ขอให้ ส.อ.ท. ทำแอคชั่นแพลนเพื่อย่อยข้อเสนอทั้ง 8 ข้อ จากนั้นจะให้ทีมงานร่วมหารือกับ ส.อ.ท. ในแต่ละข้อเสนอเพื่อแก้ไขและผลักดันร่วมกันต่อไป โดยเราจะเร่งทำแผนให้เร็วที่สุดโดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ และต้องมีควาทกระชับ รอบคอบ โดยจะแบ่งเป็นแผนที่จะต้องทำในระยะ 3-6 เดือน แผนระยะกลางช่วง 1 ปี และแผนระยะยาวเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ยังโอเคกับการขอฟื้นคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. “นายเกรียงไกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชื่อมั่นอุตฯลดลง สอท.ชงตั้งวอร์รูม รับมือปธน.ทรัมป์
ส.อ.ท.ชี้ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ งวด ธ.ค.ลดลงจากการเร่งผลิตก่อนช่วงวันหยุด
ข้องใจ! 'นายกฯอิ๊งค์-บิ๊กเพื่อไทย' ทำไมขยันลงพื้นที่ภูเก็ต
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "อุ๊งอิ๊ง หนีกระทู้สภา ไปกระทู้ภูเก็ต" โดยระบุว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
นับถอยหลัง 2567 5 ฉากร้อนการเมืองไทย
นับถอยหลังต่อจากนี้ ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 สัปดาห์ ก็เข้าสู่ช่วง “นับถอยหลังอำลา 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568” กันแล้ว
3 นายกฯ 'อิ๊งค์-ทักษิณ-เศรษฐา' ร่วมเปิดงานสัมมนาพรรคเพื่อไทย
พรรคเพื่อไทยจัดสัมนาภายใต้โครงการ เสริมศักยภาพ สส. และบุคลากรทางการเมือง มีน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯในฐานะหัวหน้าพรรค นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกฯ รวมถึงแกนนำ
หัวลำโพงคึกคัก! 'อิ๊งค์' นำทีม พท. สัมมนาหัวหิน ตื่นเต้นขึ้นรถไฟรอบ 20 ปี
’แพทองธาร‘ นำทีม ’เพื่อไทย’ ขึ้นรถไฟขบวนพิเศษ มุ่งหน้าสัมมนาหัวหิน ‘เศรษฐา-โอ๊ค-เอม’ ร่วมด้วย ตื่นเต้นนั่งรถไฟรอบ 20 ปี