“เชฟรอน” ชู 3 ยุทธศาสตร์มุ่งสู่ Net Zero ประกาศพันธกิจการจัดหาพลังงานสะอาดเพื่อความมั่นคง

วิกฤติภูมิอากาศ หรือ Climate Crisis เป็นปัญหาระดับโลกที่นานาประเทศต่างให้ความสำคัญ โดยรวมทั้งประเทศไทย ก็ได้ยอมรับความสำคัญกับเรื่องนี้เช่นกัน พร้อมตั้งเป้าจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 แต่วิกฤติระดับโลกนี้จะสามารถแก้ไขได้ก็ด้วยความร่วมมือจากทุกคนและทุกภาคส่วน บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด หนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาและจัดหาพลังงานให้กับประเทศไทยมายาวนานกว่า 6 ทศวรรษ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของไทยไปสู่ยุคพลังงานสะอาดอย่างมั่นคง

นายชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เปิดเผยว่า ทิศทางของโลกต่อจากนี้ จะมุ่งหน้าสู่การมองหาพลังงานที่สะอาดขึ้น และเรามีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานคาร์บอนต่ำทั้งในวันนี้และในอนาคต โดยเชฟรอนทั่วโลกและในประเทศไทยตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050  แม้จะเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่มั่นใจด้วยการลงมือทำในวันนี้ จะสามารถประสบความสำเร็จ และเป็นฟันเฟืองสำคัญชิ้นหนึ่งในการช่วยสนับสนุนให้ไทยก้าวเข้าสู่ สังคมคาร์บอนต่ำ ได้อย่างเข้มแข็ง

"การดำเนินธุรกิจเพื่อเข้าไปหาสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นเรื่องที่เข้ามามีความสำคัญบริษัทเชฟรอนได้ ตั้งเป้าหมาย ในการลดเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ การวางกลยุทธ์ให้สามารถลดพวก Greenhouse Gas  Emissions Intensity จากโอเปอเรชั่นของเรา แล้วในที่สุดเข้าไปหา Net Zero  ซึ่งเรื่องที่เชฟรอนให้ความสำคัญและต้องทำควบคู่กับการดำเนินธุรกิจทั่วๆ ไป"

สำหรับกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมาย มีการสร้างโรดแมปที่ชัดเจนใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ Clean Operations Strategy ซึ่งจะมุ่งลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงในขั้นการผลิตปิโตรเลียมและการดำเนินงานต่างๆ ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เครื่องจักร พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานและความปลอดภัย อาทิ การตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติงานของแท่นผลิตที่กรุงเทพฯ ที่เรียกว่า Integrated Operations Center หรือ IOC ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการแบบรีโมทแห่งแรกในประเทศไทย

" IOC เป็นเทคโนโลยีที่ประเทศไทยนำเข้ามาใช้ เพื่อควบคุมและบัญชาการโอเปอเรชั่น ที่อยู่ในแหล่งผลิตในออฟชอร์ทั้ง หมด 3 แหล่งผลิต คือแหล่งเบญมาศ แหล่งไพลินเหนือและแหล่งไพลินใต้ ซึ่งอยู่ห่างจากโอเปอเรชั่น 300 กิโลเมตร  ผมคิดว่าน่าจะเป็นเจ้าเดียวที่เรามีเทคโนโลยีตรงนี้ มันช่วยลดเรื่องของการผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ลด Greenhouse Gas Emissions Intensity อย่างเช่นลดเรื่องของการเดินทาง ลดการขนส่ง การทำงานร่วมมือกันระหว่างแผนกต่างๆไม่ว่าจะเป็น แผนกที่เป็นโอเปอเรชั่น การบำรุงรักษา การขนส่ง หรือวิศวกรรมต่างๆ จะทำให้มองหาโอกาส ในการลด Greenhouse Gas Emissions Intensity  ในโอเปอเรชั่นได้ดีขึ้น และมีไอเดียต่างๆเข้ามาจะช่วยให้เราเข้าไปหา Net Zero ได้ ทุกอย่างมาจาก IOC" นายชาทิตย์ กล่าว

นอกจากนั้นจะเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากกระบวนการผลิตด้วยกระบวนการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดหาพลังงานที่สะอาดขึ้น โดยมีการวางแผนใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานลมสลับกันในระหว่างวันสำหรับผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในการดำเนินงานที่แท่นหลุมผลิต

สำหรับกลยุทธ์ที่ 2 คือ Grow Sustainable Long-term Opportunities การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการผลักดันด้านนโยบายสนับสนุนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ช่วยเร่งกระบวนการต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายได้ พร้อมร่วมมือกับบริษัทผู้ร่วมทุนในการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี CCUS (Carbon Capture, Utilization and Storage) มาใช้ในอ่าวไทย

อย่างไรก็ตาม  ทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกัน ในการที่จะลดผลกระทบกับชั้นบรรยากาศ ไม่เพียงในระดับองค์กร แต่ในระดับบุคคลด้วย ดังนั้น กลยุทธ์ด้านสุดท้าย ที่เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงาน คือการสร้าง ‘พลังคน’ หรือ Organization Capability  โดยเน้นการสร้างความเข้าใจด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและสร้างการตระหนักรู้ถึงกลยุทธ์ขององค์การที่มุ่งสู่พลังงานคาร์บอนต่ำให้กับพนักงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขโจทย์ความท้าทายนี้  ที่ผ่านมาเชฟรอนได้มีการจัดกิจกรรมหลากหลาย ทั้งการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ การจัดการประกวดไอเดียการลดการปล่อยคาร์บอน และการสื่อสารภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

"เรามีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่จะทำให้พนักงานเราเข้าใจว่า แต่ละวันเรามีผลกระทบ หรือมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมาน้อยเพียงไหน ถ้าสามารถพัฒนาความรู้สามารถเทคแอคชั่นได้เพราะฉะนั้นจึงมีโครงการ  ในปีนี้ ที่เรียกว่า Know Your Emissions คือ การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ให้พนักงานของเชฟรอน ในเรื่องบทบาทหน้าที่ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากน้อยขนาดไหน  ซึ่งเชฟรอนในประเทศไทย  ทำงานด้วยคนไทยตอนนี้ 99%  พนักงานจะมีศักยภาพ รวมถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ  ทำให้บริษัทเชฟรอนมีความแข็งแกร่งขึ้นในอนาคต " นายชาทิตย์ กล่าว

นายชาทิตย์ กล่าวนอกจากการลดการปล่อยคาร์บอนภายในองค์กรเพื่อเป้าหมาย Net Zero แล้ว เชฟรอนเองยังมีโครงการเพื่อสังคมอีกหลากหลายด้านที่ดำเนินควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  เป็นหนึ่งในแนวทางของโครงการเพื่อสังคมที่บริษัทฯ ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ‘โครงการก๊าซชีวภาพสหกรณ์ยางพาราสู่สังคมคาร์บอนต่ำ’ ที่ดำเนินงานร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบพลังงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นระยะเวลาถึง 8 ปี เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการปลูกและการผลิตยางพาราของชุมชนในจังหวัดสงขลา และยังมีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตามในฐานะบริษัทพลังงานที่อยู่คู่สังคมไทยมากว่า 60 ปี และมีบทบาทในการสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนทางพลังงานให้กับประเทศ หรือการสร้าง Energy Security, Affordability และ Sustainability เชฟรอนมองว่าความต้องการพลังงานฟอสซิลจะยังมีอยู่ต่อไปในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า ในระหว่างที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และการจัดหาพลังงานในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เชฟรอนเองก็ไม่หยุดยั้งในการพัฒนาการผลิตพลังงานฟอสซิล อย่างก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานฟอสซิลที่สะอาดกว่า ด้วยกรรมวิธีที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

นอกจากนั้น การผลิตพลังงานเองในประเทศ ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ นอกจากนั้น ดังนั้นเชฟยังไม่หยุดยั้งในการมองหาโอกาสที่จะศึกษาและพัฒนาพลังงานทางเลือกที่น่าสนใจ อย่างไฮโดรเจน เพื่อความยั่งยืนของการจัดหาพลังงานให้กับประเทศต่อไป

สำหรับแผนธุรกิจระยะยาวของเชฟรอนในประเทศไทย นายชาทิตย์ กล่าวว่า ยังลงทุนอย่างต่อเนื่องในด้านการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมภายในประเทศ ทั้งการพัฒนาแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่มีอยู่  ทั้งแหล่งไพลินและแหล่งเบญจมาศ  รวมถึงแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G2/65 ที่เชฟรอนได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในการประมูลสิทธิปิโตรเลียมครั้งที่ 24 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในการสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ อาทิ การต่อระยะเวลาการผลิตก๊าซธรรมชาติของแหล่งไพลิน การพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา และเดินหน้าพัฒนาโครงการผลิตปิโตรเลียมแหล่งอุบล รวมถึงการนำเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการผลิตปิโตรเลียม เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวในการจัดหาพลังงานที่สะอาดขึ้น อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ให้กับประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของประเทศต่อไปในอนาคต

นายชาทิตย์ กล่าวถึง ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา (Thailand-Cambodia Overlapping Claims Area) ว่า  ภายใต้การนำรัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน และกระทรวงพลังงาน  มีความคืบหน้าในหลายด้าน และได้บรรจุการเจรจาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ร่วมไว้เป็นหนึ่งในนโยบายระยะยาวเพื่อการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน  หากมีการตกลงกันได้ระหว่างทั้งสองประเทศ จะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงทางพลังงานของทั้งไทยและกัมพูชา   เนื่องจากที่ผ่านมาทั้งสองประเทศต่างได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาพลังงานในระดับสูง  การสามารถผลิตปิโตรเลียมจากพื้นที่พัฒนาร่วมนี้ได้จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับไทย ทั้งการลดการนำเข้าพลังงาน ด้านการลงทุน การจ้างงาน รายได้ของภาครัฐ และอีกมากมาย

ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงมิติเรื่องของกรอบเวลา เพราะกระบวนการและระยะเวลาในการเข้าไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียมหลังจากการเจรจาเสร็จสิ้น จะใช้เวลาอย่างน้อยเป็น 10 ปี จึงจะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ดังกล่าวขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เชฟรอนเองในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลก และมีความเชี่ยวชาญในการบุกเบิกการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย จึงมีความพร้อมและความมั่นใจในการดำเนินงานว่าจะมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว เชื่อถือได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

"ในโลกทุกวันนี้ที่กิจกรรมทุกอย่างตั้งแต่เราลืมตาตื่นล้วนพึ่งพาพลังงาน การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยทำให้ราคาพลังงานมีความเหมาะสม ด้วยการมีแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนรองรับนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป " นายชาทิตย์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

DAD ศึกษาปั้น “พลังงานสะอาด” เพิ่มทางเลือกป้อนศูนย์ราชการฯ

DAD เตรียมศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ “ก๊าซไฮโดรเจน” ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ ขยายผลจากพลังงานแสงอาทิตย์ หวังความคุ้มค่าในระยะยาว

ตีปี๊บแต่ไก่โห่! เศรษฐาชูผลงานประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย

นายกฯ สรุปผลสำเร็จการเดินทางร่วมประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย ไทยผลักดันความเชื่อมโยง และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และสัญญาจะร่วมมือกับภูมิภาค

มช. เปลี่ยนการเผาเป็นพลังงานสะอาด พัฒนาชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทดแทนการใช้ถ่านหิน ลดมลพิษ เพิ่มโอกาสแก่ชุมชน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปยังอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อสาธิตวิธีการใช้เครื่องต้นแบบ Torrefactor และ Pyrolyzer นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.นคร ทิพยาวงศ์

รัฐผนึกเอกชน จัดมหกรรมด้านพลังงานสุดยิ่งใหญ่! SustainAsia Week 2024

ภาครัฐจับมือภาคเอกชนจัดงานยิ่งใหญ่ SustainAsia Week 2024 มหกรรมพลังงานที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิด “Low Carbon & Sustainable ASEAN Economy” ผนึกกำลังจัด 5 งานควบคู่กัน ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567